เปิดดอกมะนาวแบบไม่ต้องใช้สารแพคโคบิวทราโซล


การใช้สารเคมีที่ชื่อแพคโคลบิวทราโซลในอดีตได้รับความนิยมอยู่ค่อนข้างมาก เพราะในห้วงช่วง 30 กว่าปีมานี้ยังไม่มีเทคโนโลยีและข้อมูลวิชาการใหม่ๆออกมาให้ชาวไร่ชาวนาและชาวสวนได้ใช้เป็นทางเลือกได้มากนัก แม้แต่ตัวผู้เขียนเองในอดีตก็เคยใช้สารตัวนี้ในการทำมะม่วงนอกฤดู ปรากฎว่ายิ่งใช้ใบอ่อนรุ่นถัดมายิ่งหงิกงอบิดเบี้ยวเสียรูปทรงและอายุต้นโดยรวมทรุดโทรมสั้นลงเร็วกว่าปรกติ ทำให้ในระยะยาวเป็นการบั่นทอนทำลายต้นพันธุ์ให้อยู่กับเราได้สั้นลงจึงพยายามหลีกเลี่ยงสารที่ใช้ในการบังคับให้มะนาวออกดอกแบบทรมานเหล่านี้ด้วยการใช้เทคนิคการเปิดตาดอกแบบธรรมดาเป็นธรรมชาติด้วยการจัดสรรปริมาณคาร์บอนและไนโตรเจนให้เหมาะสม (C : N Ratio) เพื่อให้มะนาวพัฒนาตาดอกออกมาแทนใบอ่อนได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการ

การใช้สารแพคโคบิวทราโซล หน้าที่หลักคือจะใช้ในการควบคุมการทำงานของจิ๊บเบอเรลลิกแอซิดเพื่อควบคุมบังคับมิให้ใบอ่อนเกิดขึ้นในช่วงที่มะนาวกำลังสะสมอาหารและใกล้จะเปิดตาดอก จึงต้องป้องกันมิให้สูญเสียอาหารในช่วงนี้ไปกับใบอ่อน มิฉะนั้นอาหารก็จะไม่เพียงพอสำเลี้ยงดอกผล อีกทั้งถ้าปล่อยให้เกิดใบอ่อนในปริมาณมากก็สูญเสียโอกาสในการเปิดดอกตามมา ผู้ปลูกมะนาวทั้งหลายจึงต้องให้ความสนใจในความพยายามควบคุมใบอ่อนกันค่อนข้างมาก ในรูปแบบต่างๆ ทั้งรัด ควั่นกิ่ง รมควัน อั้นน้ำ ตามแนวทางความชำนาญของแต่ละคนซึ่งก็ถือว่ายังเป็นแนวทางที่ดีกว่าการใช้สารแพคโคบิวทราโซลที่ยิ่งมีการสะสมมากยิ่งเป็นการทำลายต้นพันธุ์มะนาวให้ใบอ่อนแคบลง ช่อสั้นลง การเจริญเติบโตของทรงพุ่มโดยรวมแคบลง (การควบคุมทรงพุ่มลำไยที่ปลูกระยะชิดโดยการตัดแต่งกิ่งและการใช้สารพาโคลบิวทราโซล : นายเฉลิมชัย แสงอรุณ1 ผศ.พาวิน มะโนชัย1 ดร.เสกสันต์ อุสสหตานนท์1 รศ.มนัส กัมพุกุล1 และจิรนันท์ เสนานาญ2 /1ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ,2สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

การบริหารจัดการเปิดตาดอกมะนาวในปัจจุบันสามารถจัดสรรอาหาร ทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมและเสริมประโยชน์ (ซิลิก้า) ให้สอดคล้องสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตตามช่วงอายุและการเกิดดอกของมะนาวแบบไม่ต้องทรมานให้ต้นทรุดโทรมรวดเร็วมากเกิน โดยเฉพาะการใช้ฮอร์โมนไข่ (ไข่ไก่ 5. ก.ก. กากน้ำตาล 5 ก.ก. ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูกและยาคูลท์หรือบีทาเก้น 1 ขวด รายละเอียดดูเพิ่มเติมใน http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=1308 ) ในการเพิ่มปริมาณคาร์บอนให้สูงกว่าไนโตรเจนในช่วงที่เปิดตาดอก ในอัตรา 5-10 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร หลังจากที่ได้มีการตัดแต่งกิ่งปรับปรุงบำรุงต้นมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ถ้ายังมีเศษไม้ใบหญ้าปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหลงเหลือตกค้างอยู่ที่โคนต้นในช่วงเปิดตาดอกจะต้องเก็บกวาดให้เรียบร้อยและใช้หินแร่ภูเขาไฟ พูมิช (Pumish) ซึ่งมีค่า ซี.อี.ซี. (CatIon Exchange Capacity) ช่วยในการจับตรึงไนโตรเจนมิให้มะนาวดูดกินอย่างมูมมามมากเกินไปจะค่อยปลดปล่อยออกมาให้มะนาวได้รับทีละน้อยๆ (Slow Release Fertilizer) จึงช่วยให้มะนาวไม่แตกใบอ่อนและเกิดดอกได้ง่ายและมากขึ้นโดยไม่ทรมาน รายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดตาดอกมะนาวนั้นยังมีอีกมากใช่ทำได้ในขั้นตอนขั้นตอนหนึ่งเป็นการเฉพาะ ท่านผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้ามาพูดคุยสอบถามได้ที่  081-3137559)

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaIgreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 509872เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2012 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท