ผลของซิลิคอนต่อการเจริญเติบของพืช


ซิลิคอนมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช 3 ด้าน คือ การพัฒนาราก การเจริญของผลและผลผลิตพืช (Synder et al., 2007)
ผลต่อการพัฒนาของราก
ซิลิคอนช่วยในการพัฒนาของราก โดยเพิ่มมวลและปริมาตร จึงเพิ่มพื้นที่ผิวรากทั้งหมด ปุ๋ยซิลิคอนมีผลให้น้ำหนักแห้งของข้าวบาร์เลย์อายุ 20 และ 30 วัน สูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยนี้ 21 และ 54% ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบการเติบโตของกล้าที่งอกจากเมล็ดส้ม แสดงว่าการเพิ่มความเข้มข้นของกรดโมโนซิลิซิกในน้ำที่ใช้รด ช่วยให้น้ำหนักแห้งของรากเพิ่มขึ้น และสูงกว่าการรดด้วยน้ำที่ไม่เติมกรดโมโนซิลิซิก

การเจริญของผลและเมล็ด
ซิลิคอนช่วยในการเจริญของเปลือกหุ้มเมล็ดข้าว ซึ่งมีผลสืบเนื่องถึงคุณภาพของเมล็ดข้าว กล่าวคือต้นข้าวที่มีซิลิคอนน้อย เปลือกเมล็ดก็มีธาตุนี้น้อยด้วย และข้าวสารภายในเมล็ดจะมีคุณภาพต่ำสำหรับเมล็ดข้าวบาร์เลย์ที่เก็บเกี่ยวจากแปลงที่ให้ปุ๋ยซิลิคอน มีความงอกดีกว่าเมล็ดจากแปลงที่มีธาตุนี้ต่ำสำหรับการให้ปุ๋ยซิลิคอนแก่ต้นส้ม ช่วยให้ต้นส้มโตเร็วขึ้น 30-80 % ผลสุกแก่เร็วขึ้น 2-4 สัปดาห์ และคุณภาพของผลผลิตดีกว่าต้นที่ไม่ใส่ปุ๋ยนี้

ผลผลิตพืช
ผลการทดลองใช้ปุ๋ยซืลิคอนร่วมกับปุ๋ยธาตุหลัก เช่น 1) โซเดียมซิลิเกตอัตรา 7 กก./ไร่ กับข้าวบาร์เลย์ ) กากถลุง ซึ่งมีซิลิคอนและแมงกานีส (Si-Mn-slag) อัตรา กก./ไร่ กับข้าวโอ๊ด ) ซิลิกาอสัณฐาน (Amorphous silica) อัตรา 80 กก./ไร่ กับข้าวโพด 4) เถ้าจากฟางข้าวอัตรา 160 กก./ไร่ กับข้าว และ 5) แคลเซียมซิลิเกตอัตรา 132 กก./ไร่ กับอ้อย อันเป็นงานวิจัยในดินชนิดต่างๆ รวม 30 การทดลองแสดงว่าพืชตอบสนองเชิงบวกต่อการใช้ปุ๋ยซิลิคอน ในแง่น้ำหนักผลผลิตและน้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดิน สรุปได้ว่าพืชตอบสนองต่อปุ๋ยซิลิคอน ในแง่น้ำหนักผลผลิตและน้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดิน สรุปได้ว่าพืชตอบสนองต่อปุ๋ยซิลิคอนเชิงบวก หากได้รับธาตุนี้จากดินไม่เพียงพอ
ซิลิคอนมีผลด้านเสริมประโยชน์ต่อพืชหลายประการ ซึ่งช่วยให้การเจริญเติบโตและผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น เช่น ช่วยให้ใบตั้งชัน (erectness) ลำตั้นแข็งไม่ล้มง่าย ป้องกันการล่วงล้ำของเชื้อโรคเข้าไปในรากและใบ และป้องกันความเป็นพิษจากอะลูมิเนียม แมงกานีส เหล็กและแคดเมียม ดังที่ได้กล่าวแล้วแต่จะยกตัวอย่างผลของซิลิคอนเพิ่มเติม 2 กรณี
1) ช่วยให้ใบตั้งชัน แปลงปลูกที่มีพืชค่อนข้างหนาแน่น หรือใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูงใบพืชส่วนปลายมีแนวโน้มที่จะโค้งลงจึงบังแสงกันเอง เมื่อพืชได้รับซิลิคอนเพียงพอก็เคลื่อนย้ายมาสะสมที่ผนังเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวของใบ แผ่นใบก็แข็งและตั้งชันจึงรับแสงได้ดีขึ้น นอกจากนั้นบางพืช เช่น แตงกวายังมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงขึ้น และยืดอายุใบทำให้ใบวาย (senescence) ช้าลง (Adatia and Besford, 1986)
2) ผลในด้านอื่นๆ ซิลิคอนช่วยปลดปล่อยฟอสเฟตที่ถูกตรึงในดินไร่ ลดการคายน้ำของใบข้าวและช่วยให้เมล็ดข้าวสาลีงอกดีขึ้นเมื่อสารละลายที่ใช้เพาะเมล็มีโซเดียมคลอไรด์มากว่าปกติ (Marschner, 1995)

เกณฑ์การประเมินระดับซิลิคอนในข้าว
การใช้ปริมาณ crude silica (%SiO2) ในฟางข้าวระยะเก็บเกี่ยว เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเพียงพอของซิลิคอนที่ข้าวได้รับ แสดงไว้ในตารางที่ 1
เมื่อใช้เกณฑ์นี้ประเมินระดับความเพียงพอของซิลิคอนในดนิสำหรับข้าว ในพื้นที่ปลูกข้าวของภาคเหนือตอนล่าง 5 จังหวัด พบว่า 70-80% ของจำนวนตัวอย่างข้าวที่เก็บมาวิเคราะห์ มีปริมาณซิลิกาต่ำถึงต่ำมาก แสดงว่าดินในพื้นที่ปลูกข้าวเหล่านี้ มีซิลิคอนรูปที่เป็นประโยชน์ต่อข้าวต่ำถึงต่ำมาก (อนนท์, 2551)

ตารางที่ 1 ความเข้มข้นของ crude silica (%SiO2) ในฟางข้าวที่แสดงว่า ข้าวขาดหรือมีซิลิคอนเพียงพอ

ที่มา : Tanaka and Yoshida (1975)
(แหล่งที่มา ยงยุทธ โอสถสภา. ธาตุอาหารพืช /ยงยุทธ โสถสภา. –พิมพ์ครั้งที่ 3. – กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552)

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 509868เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2012 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท