องค์กรสมัยใหม่กับการเสริมสร้างความสุขให้พนักงาน


Happy Workplace จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากมีเพียงทฤษฎี แต่จะสำเร็จได้ด้วยการร่วมกันสร้างให้เกิดขึ้นจริง

"คุณภาพชีวิตและจิตใจที่ดีของพนักงาน นำมาซึ่งความสำเร็จที่ยั่งยืนขององค์กร" 

คุณค่าที่องค์กรสมัยใหม่จะต้องร่วมสร้าง

             การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบเก่า การขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กรนั้น เน้นรูปแบบการใช้แรงงาน(อันประกอบไปด้วย หยาดเหงื่อ แรงงาน และน้ำตา) ในแบบที่มุ่งแต่ผลกำไรขององค์กร โดยขาดการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพจิตใจของแรงงาน และมีลักษณะที่เรียกว่าบังคับบัญชา โดยมองแรงงานเป็นเหมือนทรัพยากรแรงงานในแบบที่ไม่มีชีวิตชีวา และพนักงานทำงานแบบที่ไม่รู้ชะตากรรมว่าวันไหนอาจถูกเลิกจ้างก็เป็นได้ (ทำงานด้วยความกลัวและหวาดระแวง) ทำให้สภาพการทำงานเป็นไปอย่างเหน็ดเหนื่อย(ใจ) และขาดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งาน ซึ่งสภาพดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานและประสิทธิผลของงานให้ลดลงไปด้วย เพราะเมื่อพนักงานมีจังหวะชีวิตที่ขาดสมดุลของความสุข ก็ส่งผลต่อสภาพจิตใจให้เศร้าหมองลงไปด้วย เมื่อจิตใจเศร้าหมอง ก็ขาดสมาธิ ไม่มีแรงบันดาลใจในอันที่จะสร้างสรรค์งานคุณภาพได้ดีเท่าที่ควร ลักษณะดังกล่าวบ่งบอกสิ่งที่ยังขาดอยู่ สิ่งที่ขาดนั้นคือ "ความสุขในที่ทำงาน" (Happy Workplace)ความสุขที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงแค่เพียงความสุขจากค่าตอบแทนหรือค่าแรง แต่รวมถึงความสุขจากสัมพันธภาพที่ดีในที่ทำงาน อันได้แก่ ความเป็นเพื่อน ความเป็นพี่น้อง ให้เกิดขึ้นในที่ทำงาน รวมถึงความรู้สึกมั่นคงในระยะยาว ว่าจะได้ก้าวไปด้วยกัน ก้าวไปได้ไกลกับองค์กรอย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องหวาดระแวงว่าวันหนึ่งอาจจะต้องไปจากองค์กร 
              การบริหารบุคคลรูปแบบใหม่ (เน้นการบริหารภาพลักษณ์) ตรงกันข้ามกับรูปแบบเดิม ซึ่งแบบใหม่ องค์กรจะมองแรงงานเป็นทุน (Human Capital และ Intellitual Capital) การดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานคือการพัฒนาองค์กร ซึ่งแรงงานที่มีอยู่ในองค์กรนั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่า ที่ต้องดูแลให้ความมั่นคงที่ยั่งยืน คำนึงว่าทุนมนุษย์ที่มีอยู่นั้น หายาก รักษายาก และพัฒนาได้ พัฒนาในลักษณะของการเรียนรู้ (ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดความอยากที่จะเรียนรู้) พัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พัฒนาองค์กรให้มีลักษณะ Knowledge Management และ Learning Organization ใช้ Doing & Dialogue (90:10) เป็นเครื่องมือในการพัฒนา การบังคับบัญชาเปลี่ยนเป็นกำกับดูแล องค์กรให้การช่วยเหลือ และเป็นผู้อำนวยความสะดวกในสิ่งที่ขาดให้พนักงานทำงานได้อย่างเก่ง ดี มีความสุข มีจิตวิญญาณในการทำงาน และมีการให้รางวัลสำหรับผู้ที่ทำงานดี ถือเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรอย่างยิ่ง ซึ่งส่งผลให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดีมาก และเป็นแรงดึงดูดสำหรับองค์กรให้ดึงดูดคนที่คิดดี ทำดี เข้ามาในระบบมากขึ้นด้วย เพราะเป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Organization) การสรรหาและการพัฒนาบุคลากรในองค์กรลักษณะนี้จะง่าย เพราะคนอยากเข้ามาทำงานและเมื่อเข้ามาแล้วจังหวะชีวิตก็มีสมดุลแห่งความสุข มีพลังพร้อมที่จะทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญา เพื่อพันธกิจขององค์กรได้เต็มที่ เพราะสิ่งที่ประทับอยู่ในจิตใจคนทำงานคือ เขาคือส่วนหนึ่งขององค์กร เขาคือส่วนสำคัญขององค์กร และจะก้าวไปด้วยกัน เติบโตไปด้วยกันกับองค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์กรที่จะอยู่นานต้องเป็นองค์กรที่เป็นองค์กรเพื่อสังคม/ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business Interprise)
          องค์กรแห่งความสุข คือองค์กรที่สามารถจัดการกับความไม่สมดุลของชีวิตคนในองค์กรให้มีความลงตัวให้ได้มากที่สุด ปัญหาความไม่สมดุลที่ว่า นั่นคือ
          วัยเด็ก มีเวลา มีกำลัง แต่ไม่มีเงิน
          วัยทำงาน มีกำลัง มีเงิน แต่ไม่มีเวลา
          วัยชรา มีเวลา มีเงิน แต่ไม่มีกำลัง
          ทางออกของความไม่สมดุลดังกล่าว ก็ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน อันประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ดี+สวัสดิการที่ดี+ความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้เกิด สมรรถนะ และ ผลงานที่ดี เป็นประโยชน์กับองค์กรได้มากยิ่งขึ้น
เมื่อคุณภาพชีวิตการทำงาน คือทางออก ดังนั้น สิ่งที่จะต้องร่วมสร้างคือ ความสุขในที่ทำงาน หรือ สำนักงานสร้างสุข (Happy Workplace) Happy Workplace หรือ องค์กรสุขภาวะ ประกอบไปด้วย กล่องแห่งความสุข 8 ประการ (Happy 8 Menu) ได้แก่ Happy Body สุขภาพดี, Happy Heart น้ำใจงาม, Happy Society สังคมดี, Happy Relax ผ่อนคลาย, Happy Brain ใฝ่รู้, Happy Soul ทางสงบ, Happy Money ปลอดหนี้ และ Happy Family ครอบครัวดี

หมายเลขบันทึก: 509644เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2012 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท