แท็บเล็ต : สอนน้อย เรียนมาก จากการเรียนรู้ สู่คุณธรรม


            มีหลายความคิด   ที่ไม่เห็นด้วยกับการให้เด็ก ป. ๑  ใช้ แท็บเล็ต  แต่เมื่อเปิดใจให้กว้าง ก็จะพบข้อดีของแท็บเล็ตกับการเรียนของเด็ก ป.๑  ครับ 

 

            

 หลักการของแท็บเล็ต  จะเป็นสื่อสำหรับผู้เรียนรายบุคคล  ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นรายบุคคล  โดยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้  ฝึกปฏิบัติ  ฝึกทำกิจกรรม เสร็จแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ และ  สามารถทราบผลการเรียนด้วยตัวเองในทันทีว่าตัวเองเรียนรู้เข้าใจหรือไม่  ถ้าไม่เข้าใจ  ก็เข้าไปศึกษาใหม่เป็นการซ่อมเสริมด้วยตัวเอง   จนกว่าจะเข้าใจและผ่านการทดสอบ

 

 

            ข้อดีที่เป็นจุดเด่น ก็คือ  “สอนน้อย   เรียนมาก”  นั่นคือคุณครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก   ส่วนนักเรียน เป็นผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง  ตรวจสอบผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง  นักเรียนจะรู้คะแนนที่ทำ  สามารถประเมินผลตัวเองได้ในทันที  และ สามารถเข้าไปเรียนซ้ำ หรือ  ฝึกทำซ้ำได้ตามความพร้อม    ต่างคนต่างเรียน  ไม่ต้องไปพร้อมๆ  กัน

 

                    

 

 

          การเรียนรู้จากสื่อแท็บเล็ตเป็นการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยามนุษย์นิยมของ  คาร์ล  โรเจอร์ ที่ว่า

 

๑. การเรียนรู้ที่สำคัญมักจะเกิดจากการลงมือกระทำของผู้เรียนเอง

 

๒. ถ้านักเรียนมีส่วนร่วม และ มีความรับผิดชอบในกระบวนการเรียนรู้จะช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น

 

๓. ถ้านักเรียนเป็นผู้ริเริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยทุ่มเททั้งความรู้สึกและสติปัญญา  จะเป็นผลให้นักเรียนอยากเรียนรู้มากขึ้นตลอดเวลา

 

๔. การส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินผลสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิด มีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์

 

                                                         

 

      แท็บเล็ต  จึงเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของตนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาผู้เรียนให้ได้เรียนรู้ด้วยความเป็นตัวของตัวเอง  ส่งผลให้เป็นผู้ที่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง

 

      ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจากการเห็นคุณค่าของตัวเอง และ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง   จากการเป็นผู้เรียนรู้   มาเป็นผู้มีความรู้ คุ๋คุณธรรม




 

คำสำคัญ (Tags): #tablet
หมายเลขบันทึก: 509621เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2012 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

IT....ใน....Tablet และเด็กๆๆ ......ดีจริง......ค่ะ   (ในมิติการมองสมัยนี้ 2555...หรือ....2012) .....

และ 555 ค่ะ

แท็บเล็ตช่วยเปิดโลกกว้างให้เด็กน้อยค่ะ แต่ผู้ปกครองและคุณครูต้องช่วยกันสั่งสอนบ่มเพาะจิตสำนึกในการใช้ค่ะ

ดีครับ ถ้าใช้ให้เป็น(คำนี้ถูกเสมอ..อิอิ) ในมุมมองผม คิดว่า สิ่งที่สำคัญอีกประการนึง คือการปลูกฝังให้ นร.ในวัยประถม มีความใฝ่รู้ คู่กับ มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่ควรเรียนหนักมากเกินไป เช่น พวกเรียนพิเศษจนเย็นค่ำ มีอาจารย์ท่านหนึ่งแกสอนผมในทำนองว่า ถ้าปลูกฝังให้ นร. มีความใฝ่รู้ได้แล้ว คุณครูจะไม่เหนื่อยแบบยั่งยืนกว่า เพราะเด็กมันอยากรู้ แม้ในบางเรื่อง ครูไม่ได้สอน เด็กเขาจะไปหาความรู้เอาเอง ด้วยความกระหายที่จะรู้ของเขา

Ico48อ.ดร.Ple ครับ

  Tablet   มีประโยชน์กับเด็กมากครับ  ในการศึกษาทศวรรษที่ ๒๑  นีี้

                       ขอบคุณครับ

Ico48อ.ดร.จันทวรรณ ครับ

     tablet  เป็นดาบสองคมครับ   ถ้่าไม่มีการปลูกฝังและดูแลอย่างใกล้ชิด  ก็อาจเป็นเครื่องมือที่ทำอันตรายเด็กได้ครับ

                                        ขอบคุณครับ

 

Ico48คุณทัดระวี ครับ

     ครับ Tablet จะมีประโยชน์มากครับ ถ้าใช้ให้เป็น   ตรงการ "ใช้ให้เป็น" ตรงนี้   ผู้ปกครองและคุณครูคงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดครับ

      ทีนี้ประเด็นการสร้างการ "ใฝ่รู้" ให้ผู้เรียน  ก็เป็นประเด็นที่สำคัญมากครับ  เพราะถ้าผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ใฝ่รู้แล้ว  จะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาที่ดีมากๆ

                                 ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท