482. จุดไม้ขีดไฟ ให้องค์กร "เรียนรู้" (The Tipping-Point SOAR ตอนที่ 1)


the Tipping-Point SOAR

เมื่อวานทำ AI workshop เรื่อง "The Tipping Point SOAR © " ครับ โดยได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ Knoweldge Management: Classics and Contemporary Works 


เทอมนี้สอนวิชา Business Creativity ที่ MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมเลือกเล่มนี้มาประกอบการสอนครับ..เป็นหนังสือรวบรวมงานวิจัยด้าน KM เป็นต้นฉบับดั้งเดิมเลย ตั้งแต่ของ Peter Senge และ Takeuchi กับ Nonaka 

เป็นหลักสูตรป.โท ที่จงใจวางพื้นสำหรับผู้ต้องการต่อยอดไปทำปริญญาเอกด้าน OD หรือด้านการจัดการเลย ครับ

...

บทแรก พูดถึงงานของ Peter Senge..ผมชอบเรื่อง แนวคิด Creative Tension (ครีเอทิฟ เทนชั่น) ครับ..พูดง่ายๆ ผู้เขียนบอกว่า

ทุกวันนี้บริษัทชั้นนำต่างพยายามค้นพา "ความต้องการที่ซ่อนเร้น (Latent Demand ลาเท้น ดีมานด์)" ซึ่งท่านบอกว่าเป็นอะไรที่ยาก..เพราะผู้บริโภค มักไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร..." เพราะถ้าหาเจอก็ประสบความสำเร็จ (ผมยกตัวอย่างเสริม เช่นกรณี Apple ค้นพบความต้องการที่ซ่อนเร้น เรื่อง IPAD)

การที่จะค้นหา Latent Demand ได้ ต้องมีการก้าวออกจากจุดเดิม..การอยู่กับปัจจุบัน ไม่ทำให้คนเราคิดค้นอะไรได้มากนัก..ต้องสร้างแรงเค้นที่สร้างสร้างสรรค์ (Creative Tension) ผ่านการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ครับ..


(Credit: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/509482)


ผมเลยนั่งคิดว่า..มันจะเชื่อมโยงไปสู่ Appreciative Inquiry (AI) ที่เราทำได้อย่างไร...


ผมนึกถึง SOAR ครับ น่าจะไกล้เคียง..



ใช่เลย SOAR เป็นอะไรที่ชาว AI เอามาแทน SWOT ครับ..มันคือ การค้นหาจุดแข็ง (Strength) และโอกาส (Opportunity) จากนั้นแทนที่จะหาจุดอ่อน จุดแข็ง..เราไม่เอาครับ..เรายกระดับ Creative Tension..มาที่การมาตกลงร่วมกันเลย คือการค้นหาแรงบันดาลใจ (Aspiration แอสไปเรชั่น) หรือ ซึ่งตรงกับ Shared Vision (แชร์ วิชั่น ใน องค์กรแห่งการเรียนรู้นั่นเอง)  และมุ่งถามหาว่า..อะไรดีๆ น่าจะเกิดขึ้นบ้าง (Result รีซัลท์)

ได้แล้ว SOAR วิธีการสร้าง Creative Tension...

แล้วผมก็นึกถึงหนังสืออีกสองเล่มคือ The Tipping Point ครับ โดยเฉพาะทฤษฎีสามคนไม่ธรรมดา ที่เป็นสาเหตุของการสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด นั่นคือ The Connector (ผู้เชื่อมต่อ) นักขาย (Salesman) และ Maven (ผู้สั่งสมความรู้)


เช่นอะไรครับ เช่นผมรู้จักกับ Connector ท่านหนึ่งเป็นเพื่อนกัน...เพื่อท่านนี้เชื่อมต่อผม ให้ผมได้มีโอกาสได้ใช้ AI ไปทำโครงการที่ปรึกษา (OD Consulting Project) กับองค์กรขนาดใหญ่เช่น IBM Thailand ทำให้ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์การทำ OD กับองค์กรที่มีขีดความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นระบบหรือคนครับ


อีกท่านหนึ่งทำให้ผมได้มีโอกาสได้ไปนั่งทานข้าวกับ David Cooperrider ผู้คิดทฤษฎี AI (ท่านเป็น Maven) ได้รู้จัก ได้เอาเรื่องราวดๆ เกี่ยวกับ AI ในประเทศไทยไปเล่าให้ท่านฟัง..ผมถือว่าท่านเป็นอาจารย์ และเป็นต้นแบบของผมเลยครับ..


ผมมีโอกาสทำงานร่วมกับ Salesman นักสื่อสาร นักโน้มน้าวครับ..ผมได้เรียนรู้เทคนิคการสื่อสาร เวลาทำ OD Consult ครับ..ที่ถึงจะเน้นนอกกรอบสุดๆ แต่ก็มีกรอบที่กลมกล้่อมให้ลูกค้าได้นอกกรอบออกไปอีก..


ชัดๆครับ..ว่าหากเอา SOAR มาผสมผสานกับแนวคิด The Tipping Point นี่ดีมากๆ...ผมมีโอกาสเจออะไรดีๆ..เกิดความคิด แรงบันดาลใจ ได้งานดีๆ โอกาสดีๆ จากการคบหารู้จักคนดีๆ ครับ..

ผมลองเอาไปใช้มาพักหนึ่งครับ ...มองเห็นความเชื่อมโยงเลยครับ..

ดังนั้นในการสร้าง Creative Tension ผมมองว่าวิธีหนึ่งที่ทำได้คือการค้นหาคนด้วยแนวคิด The Tipping Point ครับ..ถ้าเราเจอ ผู้เชื่อมต่อ นักขาย หรือผู้สั่งสมความรู้ ที่อยู่ไกล้ตัว...นั่นคือจุดแข็ง (Strength) ครับ ถ้าอยู่นอกองค์กร..เช่นเป็นลูกค้า นั่นคือโอกาส (Opportunity) ครับ

เมื่อเจอเรามาตั้งคำถามกันว่าจะทำอะไรดี กับสิ่งดีๆที่มีอยู่ ไม่ใช่กับคนนะครับ..ไม่ได้หมายถึงการใช้ประโยชน์ กับคนหมายถึงว่า..เราจะสร้างสรรค์อะไรดีๆร่วมกัน (Aspiration)...เมื่อคิดได้ คุณคิดว่า จะมีสิ่งดีๆ อะไรเกิดขึ้นบ้าง (Result)


เวลาเริ่ม WORKSHOP ก็ใช้ Slide นี้ครับ...ผมทำเป็น PDF เพราะตอนแรกใส่เป็น Powerpoint แต่ upload ยังไงก็ไม่ขึ้น วันหลังจะมาแก้ครับ 

theTippingPointSOAR.pdf

ก็พูดเสร็จก็ให้ผู้เข้าร่วมประชุม จับกลุ่มกันสักสามคน 

แล้วให้ทุกคนเล่า ว่าเขารู้จักใคร ได้รับประสบการณ์ดีๆ อะไรจากคนสามคนนี้บ้าง..เช่น ผมยกตัวอย่าง..มีพนักงานคนหนึ่งล่าให้ฟังว่ารู้จัก "นักขาย" คนหนึ่งในโรงงาน...ที่นี่มีปัญหาว่า..มีอัตราการขาดงานสูง เอาไม่ค่อยอยู่..แต่มีสายการผลิตหนึ่ง ไม่เจอปัญหานี้..ถามไปถามมาเจอ "นักขาย" ครับ..เธอโน้มน้าวเก่ง..เช่น ทุกเช้าจะบอกพนักงานเลย ว่าขาดได้..แต่ให้บอก..ถ้าจะลาอีก ก็จะบอกว่างานของเขา ถ้าขาดไปจะไปกระทบใครบ้าง...ถ้าจะไปอีกก็ถามว่าจะขาดไปทำอะไร..ลูกน้องบอกว่า จะไปโอนที่...เอาเลยไปได้..แต่พรุ่งนี้งานจะยุ่งมาก..มาดูกัน..สัปดาห์หน้า วันอังคาร งานจะสบายๆ..ไม่เร่งมาก...ไปวันนั้นดีกว่าไหม..


นี่ไง...เราเจอ จุดแข็ง (Strength) ขององค์กรแล้ว...


เรามาสร้างสรรค์ร่วมกันครับ...วันนั้น เลยมีการตั้งเป้า (Aspiration) ร่วมกันในหลายๆสายการผลิต..ว่าจะลดการลางาน..ของคนงานโรงงาน..


ยังไม่พอบางคนวางเป้าว่าเรื่องนี้ ถ้าสำเร็จน่าจะกลายเป็นต้นแบบของโรงงานในเครือทั่วโลก...


Result คือ..ถ้าทำได้ อัตรการขาดงานจะลดครับ..ผลผลิตจะมากขึ้น


นี่ไงแค่ตัวอย่างเดียว...ครับ...


จะเห็นว่าเป็นการสร้าง Creative Tension จุดประกายเกิดการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาทันทีครับ...


ผมตั้งชื่อว่า The Tipping-point SOAR© ครับ 


ชาว AI ที่ต้องการสร้าง Creative Tension ก็ใช้หลักคิดนี้ได้ครับ..


คุณล่ะคิดอย่างไร






หมายเลขบันทึก: 509482เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2012 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมพยายามศึกษาและบันทึกประสบการณ์การทำงานเรื่อยๆครับ. หากสมบูรณ์ผมจะส่งให้อาจารย์พิจารณาครับ

สวัสดีครับอาจารย์จตุพร นับถือในสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่เลยครับ เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะจริงๆ..มีอะไรให้ช่วยบอกนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ตามมาอ่านเพิ่มเติมความรู้ค่ะ อยากกลับไปเรียนอีกจังค่ะ

                                                                         รัตนาวลี

ดิฉันเคยมีปัญหา upload ไฟล์ .ppt แก้ไขโดย save เป็น .jpg เลือก save ทีละภาพ จะ upload ได้ค่ะ 

อีกอย่างหนึ่ง นานๆ จะได้เห็นการเขียนที่แสดงการวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นต่างๆ เข้าด้วยกันแบบนี้ ประเทองปัญญามากค่ะ 

ขอบคุณนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท