ระดับความก้าวหน้า และความหวังของงานพัฒนา “บัณฑิตคืนถิ่น”


ในระยะหลายเดือนที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสมานั่งทบทวนงานบัณฑิตคืนถิ่นที่ทำกันมาหลายปี
มีรูปแบบหลากหลาย มีความสำเร็จในหลายรูปแบบ

จึงเริ่มมองเห็นพลังและทิศทางการพัฒนาของกลุ่มองค์กรต่างๆชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ผมลองค้นย้อนเวลาการพัฒนาแนวคิดเรื่องนี้
จากการค้นหาคำว่า “บัณฑิตคืนถิ่น” พบว่าสามารถสืบได้ไปถึงสมัยแรกเริ่มที่เป็นพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ
ตั้งแต่ประมาณ ปี 2530-2531

อย่างเรา ๆ นั้นมีโอกาสที่ดีมาก มีอาหารการกินที่ดีทุกอย่าง
อยากได้อะไรก็ได้ และยังมีโอกาสได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างเต็มที่ ซึ่งนักเรียนเหล่านั้นจะได้รับการศึกษาคงจะไปไม่ถึงระดับที่เราได้
ส่วนที่เราได้รับก็เป็นการพิเศษแล้ว เพราะฉะนั้นในเมื่อเราเป็นบุคคลพิเศษได้โอกาสดีกว่าคนอื่น
ก็เท่ากับประชาชนทั้งชาติสนับสนุนมาให้ทุนมา ให้ศึกษาได้ถึงระดับอุดมศึกษาก็จะต้องมีหน้าที่ที่จะต้องทำอะไรตอบแทนเพื่อให้ผู้ร่วมชาติที่สนับสนุนเราได้มีโอกาสที่ดีขึ้นกว่านี้”

“. . . จึงอยากจะตั้งกองทุนแล้วก็สนับสนุนให้นักเรียนเหล่านั้น เลือกเอาจากโรงเรียน
ในเขตที่จะหาโอกาสในการศึกษาต่อได้ยาก ให้ได้รับการศึกษาต่อพอเป็นตัวอย่าง อาจจะมีกฎข้อบังคับ
บางประการให้ต้องกลับมาเป็นผู้ช่วยทำความเจริญให้หมู่บ้าน หรือ อะไร.... การที่นักเรียนได้เรียนต่อนั้น
ก็จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนเอง คือ เมื่อมีความรู้มากขึ้น ควรจะมีโอกาสที่จะได้เลือกงานมีอาชีพเลี้ยงตัวที่จะทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง
และทำประโยชน์ให้กับคนอื่นได้มากขึ้น”

(พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๐ และเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑)

ที่ท่านทรงมีพระราชประสงค์ให้ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษามีโอกาสในการศึกษา
แต่มิใช่เพื่อทิ้งถิ่นเข้าเมือง แต่เพื่อเป็นบัณฑิตที่มีความรู้
พร้อมที่จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรือง
เป็นพลังสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และทรัพยากรของประเทศ
แทนการศึกษาทิ้งถิ่นที่เป็นอยู่ในกระแสหลัก

จนกระทั่งสิบกว่าปีต่อมา ประมาณ ปี 2547
เป็นต้นมา ก็มีการปลุกกระแสนี้อย่างเป็นจริงมากขึ้น
ทั้งทางฝ่ายปราชญ์ชาวบ้านที่มีพ่อคำเดื่อง ภาษีเป็นแกนนำในท้องถิ่น
มีครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ เป็นผู้ประสานงานระดับสูงในฐานะ
กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ ที่ขยายแนวคิดไปที่องค์กรพัฒนาเอกชน พอช. สสส.
และสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่มีบุคลากรให้ความสนใจเรื่องนี้
จึงทำให้มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมมากกว่าแค่ระดับความฝัน

ในขณะเดียวกันทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้มีแผนงานหลักสูตร
4 ปีที่จะสร้างบัณฑิตคืนถิ่น มีวิทยาเขตหลักอยู่ที่จังหวัดน่าน
ที่เป็นเมืองที่มีความพร้อมด้านนี้ค่อนข้างสูง
มีกลุ่มฮักเมืองน่านเป็นฐานปฏิบัติงานอย่างพร้อมเพรียง และมี “คนเมืองน่าน”
ท่านหนึ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญ ก็คือ ท่านสมเด็จพระเทพฯ ที่มี “ทะเบียนบ้าน” อยู่ในจังหวัดน่าน
ที่มีทีมงานของท่านอาจารย์อรรรณพ คุณาวงษ์กฤต แบบครบทีม มีอาคารสถานที่
มีนิสิตมาสามรุ่นแล้ว รุ่นละ 45 คน รับมาจากจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
ปีหน้าก็จะมีนิสิตปีที่สี่แล้ว และ อีกสองปีก็จะมีบัณฑิตคืนถิ่นของจุฬาฯ
ตามปณิธานของสถาบันในวาระครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งมหาวิทยาลัย ที่เป็นความหวังและความฝันของคนทั้งประเทศ

ทาง มศว. ประสานมิตร ก็มีหลักสูตรเปิดรับนักศึกษามาหลายปี
จากจังหวัดต่างๆ เพื่อให้มีบัณฑิตคืนถิ่นทั่วถึงทั้งประเทศมาหลายรุ่นแล้ว

สำหรับสถาบันอื่นๆที่ยังไม่มีหลักสูตรโดยตรงก็มีการเรียนการสอนที่เน้นในการให้ความรู้ความเข้าใจว่าบัณฑิตคืนถิ่นดีอย่างไร
และควรสอนแบบใดจึงจะช่วยให้มี “บัณฑิตคืนถิ่น” ได้มากขึ้น

สำหรับกลุ่มเครือข่ายปราชญ์ที่เป็นแกนประสานมาตั้งแต่แรก
ก้ทำงานอย่างรีบเร่งและเอาจริงเอาจัง ประสานงานกับ พอช. สร้างบัณฑิตคืนถิ่นมา 4
รุ่นแล้ว รุ่นละ 50 คน ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2554 จำนวนรวมประมาณ 200 คน แต่ปี
2555 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารของ พอช. ก็เลยเว้นไปก่อน

จากจำนวน 4
รุ่นของเครือข่ายปราชญ์นั้นก็มีการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติไปเรื่อยๆ

รุ่น 1 และ 2 เริ่มทั้งจากผู้จบ ม. 6
และคนที่เรียนจบแล้วมาทำร่วมกัน ระหว่างหลักสูตรการศึกษาและการปฏิบัติ
โดยรุ่นหนึ่งทำกิจกรรมร่วมกัน แต่รุ่นสองมีการกระจายไปตามภาคและตามจังหวัดต่างๆ โดยให้สภาองค์กรชุมชนคัดมา
ทั้งบัณฑิตและนักศึกษาที่กำลังเรียน ที่ทำให้มีปัญหาเชิงคุณภาพความพร้อมของนักศึกษา
ทำให้การจัดการค่อนข้างยาก

พอรุ่น 3 และ 4 ได้ปรับมาให้กลุ่มปราชญ์และ
พอช. คัดกรองอย่างชัดเจนมากขึ้น

ทั้งสี่รุ่นที่ผ่านมาก็ได้นักศึกษาที่มีความหลากหลายพอสมควร
และบทเรียนมากมาย ทั้งด้านการคัดกรองคน การจัดการศึกษา และการสร้างพลังกลุ่มของ
“บัณฑิตคืนถิ่น”

ในกลุ่มที่ใกล้ชิดกับพ่อคำเดื่อง ภาษี
ก็มีโอกาสได้พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องและชัดเจน ทำให้มีแกนนำชัดๆหลายท่าน
เป็นตัวอย่าง และเป็นครูได้ แปลงที่ทำก็เป็นห้องปฏิบัติการภาคสนามได้สมบูรณ์

จึงทำให้องคาพยพของโครงการ “บัณฑิตคืนถิ่น”
มีความชัดเจน และทำงานได้อย่างมีความหมาย และมีพลัง
สมกับที่ท่านสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ
ท่านได้ทรงตั้งความหวังและทุ่มเทให้กับงานนี้อย่างจริงจัง

ที่ผมเชื่อว่างานนี้น่าจะบรรลุผลในเร็ววันครับ

หมายเลขบันทึก: 509341เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2012 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ อาจารย์ ดร.แสวง / ที่กรุณา มาให้ความรู้ ทบทวน ที่มา ที่ไป ที่สำคัญ เกี่ยวกับ "บัณฑิตคืนถิ่น" ให้กระจ่างชัดขึ้น ... ขอเป็นกำลังใจ ให้ ทุกท่าน ที่ได้ร่วมสานต่อ พระราชปณิธาน และ พระราชดำริ ของพระองค์ท่าน ให้สำเร็จลุล่วง อย่างงดงาม นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท