ห้องเรียนกลับทาง กับ LO&KM


   จากการที่ได้อ่านบทความ เรื่องห้องเรียนกลับบทาง ของ ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช นับว่าเป็นประโยชน์มาก และขอขอบคุณในความรู้ใหม่ๆมา ณ.ที่นี้ครับ  หลังจากที่ได้อ่านบทความดังกล่าว ทำให้ผมนึกถึง Learning Organization and Knowledge management ( LO & KM ) ในองค์กรต่างๆ ผมว่าห้องเรียนกลับทาง มีความคล้ายคลึงกับ LO&KM หลายอย่าง โดยจุดมุ่งหมายหลักๆน่าจะค่อนข้างตรงกัน คือการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ไม่มีเวลาในช่วงเวลาเรียนหรือช่วงเวลาทำงาน มีโอกาสได้เรียนรู้ ในสิ่งต่างๆที่ตนควรรู้ และนำความรู้ดังกล่าวไปต่อยอดในช่วงเวลาเรียนหรือช่วงเวลาทำงาน  ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์ และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยอาจเกิดจากการซักถามเพิ่มเติมในช่วงเวลาเรียนหรือทำงาน และนำไปใช้งานได้จริงจากกิจกรรมจริงๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนหรือในที่ทำงานอีกครั้ง

   อีกประเด็นที่น่าจะคล้ายกันของ  ห้องเรียนกลับทาง และ LO & KM ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่ผมกังวล ค่อนข้างมาก คือ หลายองค์กร มีประเด็นปัญหาเรื่องการเข้าถึงสื่อการสอน เนื่องจากพนักงานบางคนไม่มีคอมพิเตอร์ส่วนตัว และไม่สามารถศึกษาข้อมูลสื่อการสอนได้ในช่วงเวลาทำงาน ดังนั้น ผมมั่นใจว่า ณ.ปัจจุบัน ในส่วนของนักเรียนหลายๆคนเอง ก็อาจจะไม่มีคอมพิวเตอร์ เป็นของตัวเอง จึงอาจทำให้ห้องเรียนกลับทาง โดยอาศัยรูปแบบข้อมูลทางอิเล็คนิกส์ น่าจะติดปัญหาดังกล่าว จึงอาจต้องมีแผนสำรองสำหรับ เรื่องสื่อการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

     ประเด็นสุดท้าย จะขอกล่าวถึงความแตกต่าง ของ LO & KM และห้องเรียนกลับทาง คือ ในส่วนขององค์กร การทำ LO & KM จะได้รับการสนับสนุนอย่างดี จากทางองค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดความสำเร็จสูงสุด รวมถึงมีการให้รางวัลกับคณะทำงานต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้เองที่ผม อยากให้ ห้องเรียนกลับทาง มีเรื่องการสนับสนุนเรื่องเงินทุนในการจัดทำ , การให้ความรู้ในการจัดทำและอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดทำสื่อการสอน , คอมพิเตอร์ส่วนกลางที่สามารถให้เด็กเปิดดูได้ในช่วงเวลาพักเที่ยงหรือตอนเย็นหลังเลิกเรียน ทำให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลอย่างจริงจัง  รวมถึงการให้รางวัลแก่คณะผู้จัดทำ โดยอาจวัดผลกันแบบเป็นกลุ่ม และให้รางวัลตามผลงานการสอน เช่น ถ้านักเรียนส่วนใหญ่สามารถสอบคะแนนภาษาอังกฤษตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ดี ครูตั้งแต่ ม.4-ม.6 ก็จะได้โบนัสประจำปีนั้นๆสูงขึ้น แต่ถ้าปีไหนนักเรียนสอบได้คะแนนน้อย ครูก็จะได้โบนัสดังกล่าวน้อยลงตามลำดับ  ซึ่งวิธีการนี้จะมีส่วนช่วยให้เกิดการปรับปรุงการเรียนการสอน รวมถึงสื่อการสอนให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญควรให้ความสำคัญกับแม่พิมพ์ของชาติด้วยครับ นี่เป็นแนวคิดส่วนตัวของผมเพียงคนเดียว ถ้าผิดพลาดประการต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 507839เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2012 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท