"conversation map :self help group in diabetes"


การให้ความรู้โรคเบาหวานเพื่อการดูแลตนเอง

เนื้อหาความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

   เนื้อหาความรู้เรื่องโรคเบาหวานที่จำเป็นในการให้ความรู้โรคเบาหวานประกอบด้วย

1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

2.โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

3.โภชนบำบัด

4.การออกกำลังกาย

5.ยารักษาเบาหวาน

6.การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะและการแปลผลด้วยตนเอง

7.ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดและวิธีป้องกันแก้ไข

8.การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป

9.การดูแลในภาวะพิเศษเช่น ขณะตั้งครรภ์ ขึ้นเครื่องบิน เดินทางไกล ไปงานเลี้ยง เล่นกีฬา

10.การดูแลรักษาเท้า

วิธีการให้ความรู้

1.การให้ความรู้แบบบรรยาย  เป็นวิธีการให้ความรู้ที่ไช้สำหรับการนำเสนอข้อเท็จจริง เชิงเนื้อหา ทฤษฏี หลักการ เพื่อให้ผู้เข้ารับฟังเข้าใจเนื้อหา  วิธีการนำเสนอโดยการอธิบาย บอก พูด  สื่อประกอบ เช่น เอกสาร แผ่นพับ คู่มือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์  ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลจะฟังร่วมกับการจดบันทึก เปิดโอกาสให้มีการซักถามและอภิปรายร่วมกัน

2.การสาธิต  เป็นวิธีการให้ความรู้สำหรับเรื่องที่ต้องการให้เกิดทักษะและจำเป็นต้องนำไปปฏิบัติ       มีลักษณะสำคัญคือ

- แสดงวิธีการ/วิธีปฏิบัติที่มีลำดับขั้นตอน

- แสดงอุปกรณ์/ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นและให้มีโอกาสได้สัมผัสจับต้องได้

- มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการปฏิบัติ

- มีคำอธิบายประกอบการแสดงวิธีการ

- วิธีการนำเสนอโดยการปฏิบัติจริงให้ดู อาจใช้สื่อที่แสดงภาพเคลื่อนไหวได้แสดงให้ดู

- ให้ผู้เรียนมีโอกาสทดลองปฏิบัติ

3.การให้ความรู้โดยการใช้ Group support

                Group support คือ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันรวมตัวกันด้วยควมสมัครใจเพื่อช่วยเหลือ                    ซึ่งกันและกัน ด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็น               กิจกรรมรูปแบบหนึ่งที่นำมาใช้ช่วยเหลือและส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานมีกำลังใจสามารถปรับตัว         และมีศักยภาพในการดูแลและจัดการสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น

                เป้าหมายหลักของ Group support  คือ การช่วยเหลือประคับประคอง สนับสนุน และส่งเสริมให้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถเผชิญกับความความวิตกกังวล ลดความรู้สึกที่ต้องแยกตัวออกจากสังคม เพิ่ม  ความสามารถในการเผชิญความเจ็บป่วย มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ รู้จักแหล่งให้ความ       ช่วยเหลือด้านสุขภาพ และพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเอง

              ลักษณะของ Group support ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 6-10 คนที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน เข้าร่วม            กลุ่มด้วยความสมัครใจ ระยะเวลาในการเข้ากลุ่มทำกิจกรรมประมาณ 1-1½ ชั่วโมงต่อครั้ง จำนวน        8-10 ครั้ง ถ้าเป็นกลุ่มปิด (สมาชิกภายในกลุ่ม เป็นกลุ่มเดียวกันตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดการทำกิจกรรม) ดำเนินกิจกรรมหรือสาระที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามโปรแกรมที่กำหนดไว้  ถ้าเป็นกลุ่ม                เปิด (สมาชิกภายในกลุ่มไม่ใช่กลุ่มเดิม อาจมีสมาชิกใหม่และเก่าปะปนกันไป การเข้าร่วมกิจกรรม              ของสมาชิกไม่ต่อเนื่อง) กำหนด เวลาเข้ากลุ่มอาจเป็นเดือนละ 1 ครั้งหรือกำหนดเวลาตามความ        เหมาะสม สถานที่จัด Group support จะต้องเป็นสัดส่วนเฉพาะ สงบ ไม่มีสิ่งรบกวน สมาชิกนั่งเป็น   รูปวงกลม บทบาทของสมาชิกในกลุ่ม คือ ตั้งประเด็นสอบถามปํญหาในการดูแลสุขภาพ สนับสนุน              และส่งเสริมข้อมูลโดยการให้ข้อเสนอแนะ แนวทาง แหล่งทรัพยากรที่ให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยน             ประสบการณ์ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ  บทบาทของพยาบาลในกลุ่ม คือ ดูแล จัดการ               อำนวยความสะดวกให้กลุ่มสามารถดำเนินต่อไปได้ จะต้องตระหนักและรับรู้อยู่เสมอว่าข้อมูล            คำบอกกล่าวของสมาชิกเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการดูแลสุขภาพ ต้องมีทักษะในการเผชิญอารมณ์ ที่  หลากหลายของสมาชิก

หมายเลขบันทึก: 507120เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2012 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณนะคะคุณชลันธรที่มาให้ดอกไม้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท