ห้องเรียนในฝัน..ที่เป็นฝันเฟื่อง


มี 2 เวอร์ชั่นค่ะ กับห้องเรียนในฝันของครูอ้อย  เมื่อเช้าที่เขียนไปแล้วเป็นเรื่องที่เป็นไปได้  ส่วนบันทึกนี้เป็นเรื่องที่เรียกว่า ฝันจริงๆๆ ที่ไม่เป็นจริง....แย่ละสิ  งงงงกับชื่อเรื่องเสียแล้ว...สรุปง่ายๆ.....ห้องเรียนในฝัน...ที่เป็นฝันเฟื่อง

*****

ลักษณะกายภาพของห้องเรียนนั้น  จะต้องมีนักเรียนเพียงห้องละ 22 คน  มีครูประจำห้องเรียน ห้องละ 3 คน  ครูคนแรกเป็นผู้จัดการ  ครูคนที่ 2 เป็นผู้เตรียมเอกสาร อุปกรณ์  ครูคนที่ 3 เป็นฝ่ายจัดการทั่วไป

*****

ห้องเรียนนั้นมีอุปกรณ์ครบครัน   ทุกมุมตั้งแต่การเรียนรู้  ต้องมีกระดานทัชสกรีนที่เชื่อมโยงอินเทอร์เนตความเร็วสูง  สะดวกในการใช้ตลอดเวลา  ห้องเรียนมีความเย็นสบายกับนักเรียนที่ไม่รู้สึกอึดอัด  มีโต๊ะเก้าอี้ที่สามารถจัดแยก หรือต่อเติมตามประสบการณ์ที่เข้าเรียน   มีอุปกรณ์ที่เสริมการเรียนของนักเรียนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน   รองรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน

*****

คุณครูทั้ง 3 คนอยู่ในห้องเรียนกับนักเรียนตลอดเวลา  โดยไม่ต้องหยิบงานอื่นขึ้นมาทำ  ให้มีหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน และทำงานในหน้าที่ของตนอย่างเห็นผลสัมฤทธิ์  ไม่ต้องไปจัดการเตรียมงานให้คนอื่น ที่ไม่ใช่นักเรียน  ไม่ต้องไปรับแขก ทำกับข้าว หรือออกไปข้างนอกเพื่อซื้อของมาจัดการงานโรงเรียน

*****

อาหาร  เครื่องดื่ม  ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวก  มีเจ้าหน้าที่จัดสรรมาให้อย่างครบครัน โดยที่ครูทั้ง 3 ท่านไม่ต้องเดินออกจากห้องทิ้งให้นักเรียนดูแลกันเอง   มีตู้เย็นที่เก็บอาหาร  นม  น้ำดื่ม  เพียงพอสำหรับนักเรียนและครู  มีตู้ยาสามัญที่จะบริการให้นักเรียนที่มีอาการป่วยเล็กน้อย    จัดตั้งระบบดูแลนักเรียนอย่างปลอดภัย  ไม่ปล่อยให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามามีบทบาทในห้องเรียนนี้ได้  มีเนื้อที่ให้นักเรียนได้ล้างมือ  ล้างจาน  ล้างช้อนส้อมของตนเอง  รวมทั้งแปรงฟังล้างหน้าด้วย

*****

นักเรียนได้มีโอกาสออกไปเรียนนอกสถานที่บ่อยๆตามเนื้อหา โครงงานที่นักเรียนได้จัดทำ   ชุมชน หรือสังคมรอบโรงเรียนมีหน้าที่ ช่วยเหลือ จัดการศึกษาโดยตรง  จนทำให้พวกเขารู้สึกว่า...โรงเรียนเป็นของพวกเขาโดยแท้จริง

*****

การมาเยี่ยมของผู้เยี่ยมชม  ก็ต้องมีเป็นเวลากำหนดให้ชัดเจน  เช่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  อย่าปล่อยให้มาเยี่ยมกันทุกวัน  จนนักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน  ครูไม่มีความสุขในการสอน

*****

คุณครูมีโอกาส สวมใส่เสื้อผ้าที่สะดวกสบายในการจัดการเรียนรู้  นักเรียนก็เช่นเดียวกัน  มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า เป็นหน่วยเดียวกัน  เช่นหมวก และกระเป๋า  การเรียนที่นักเรียนได้เรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เท่าเทียมกันในทุกโรงเรียน ทุกระดับชั้น  ครูก็มีสวัสดิการที่ช่วยเหลือ  ทั้งนี้ครูจะได้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานได้เต็มที่  ไม่มีการโยกย้ายทิ้งนักเรียนไปกลางคัน

*****

ท่านผู้อำนวยการ  ท่านรองผู้อำนวยการ ทุกฝ่าย  ทำงานกันอย่างจริงจัง  โดยไม่ใช่เพียงอ่านงาน และแจกงานให้ครูทำเท่านั้น  พึงสำเหนียกอยู่เสมอว่า ครูทุกท่านมีหน้าที่จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเท่านั้น  ส่วนงานอื่นๆที่เป็นการเสริม  ควรจะเป็นงานฝ่ายบริหารที่ต้องทำด้วยตนเองให้มาก  ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับครูผู้สอนทุกขั้นตอน  ไม่มาสายและกลับบ้านเร็ว  จัดการให้ทันสมัย  รู้จักใช้ไอซีที ในการจัดการ เช่นซื้อของ  ไม่ต้องออกจากโรงเรียนใช้เวลาเป็นวัน  เพียงแต่หาในอินเทอร์เน็ต และสั่งซื้อทางโทรศัพท์ก็ได้

*****

กระทรวงศึกษาธิการ  ที่มีหน้าที่ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริม  ที่จะต้องทดลอง ปฏิบัติการก็ให้ดำเนินการในโรงเรียนสาธิต  ที่มีรูปแบบเท่าเทียมกันทางการศึกษา   โดยไม่ยึดติด.....วัฒนธรรมเดิมๆๆที่ขายของเก่ากิน   โดยไม่จัดการเรื่องใหม่ๆกันเลย  ลักษณะของโรงเรียนต้องเท่าเทียมกันในทุกเรื่อง   และมีการสอดส่องดูแล  อย่าได้แต่คิด  เขียนโครงการ  กระจายอำนาจ  และไม่มีการติดตามผลกันอย่างจริงจัง.....เอ  จัดหนักไปหรือเปล่านี่

หมายเลขบันทึก: 507019เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2012 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ฝันทั้งทีเอาให้หนักๆไปเลยเนาะครูอ้อย

ไม่ใครก็ใครต้องร้อนๆหนาวๆกันมั่งล่ะ

อย่างนี้ทั้งจัดหนักและจัดเต็มเลยครับ

ขอบคุณทุกท่านค่ะ Blank ...Dr. Ple , และ 3 คนอื่น.

ขอบคุณ ครูกีร์ เพื่อนรัก  ขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ ดร.ดิศกุล ที่เคารพมากๆๆค่ะ

อยากให้สิ่งนี้เป็นจริงสำหรับอนาคตการศึกษาของไทย

ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกำลังใจให้ ครูอ้อย ค่ะ Blank ครูอ้อย แซ่เฮBlank ...Dr. Ple , และ 6 คนอื่น.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท