คัมภีร์ลลิตวิสฺตร อัธยายะที่ ๒๐ โพธิมัณฑวยูหะปริวรรต


คัมภีร์มหายาน

 

ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสรุปสารัตถะ

ในคัมภีร์ลลิตวิสฺตร

อัธยายที่  ๒๐  โพธิมัณฑวยูหะปริวรรต

 

     “ คัมภีร์ลลิตวิสตระ ”    เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เล่มหนึ่งของฝ่ายมหายาน    ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเพชรทั้ง   ๙    ของมหายาน    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า   ไวปุลยสูตร ,    มหานิทาน  หรือ  มหาวยูหะ,           ปุราณ     ถือเป็นพุทธประวัติสำนวนหนึ่งที่สาวกในนิกายต่าง ๆ

 

       ประพันธ์ขึ้นด้วยสำนวนของตน  ทำให้เกิดพุทธประวัติหลากหลายสำนวน เช่น  สำนวนของนิกายเถรวาท  สำนวนนิกายโลกุตตรวาทิน  และ  สายมหาสังฆิกะ   มี  ๒๗  บท  สั้นบ้าง    ยาวบ้างมีหลายตอนที่เป็นบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับ    พระอานนท์    ซึ่งอาจเป็นพราะผู้ประพันธ์ต้องการทำให้หนังสือมีลักษณะเฉพาะที่เป็นมหายาน

 

     “ลลิตวิสตระ”    เป็นคำสมาสกันของศัพท์   ๒    ศัพท์   คือ   

        ลลิต    แปลว่า   การเล่นสนุกสำราญ   หรือ    การกรีฑา     กับ          

         วิสตระ    แปลว่า     กว้างขวาง    พิสดาร    

        รวมความแล้วหมายถึง      ชีวประวัติและงานของพระพุทธเจ้าอย่างกว้างขวางพิสดาร   หรือ    เป็นการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่เหนือธรรมชาติ        

        มุ่งเน้นบรรยายถึงการแสดงอิทธิปาฎิหาริย์    ทำให้เราเห็นภาพของพระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์ยิ่งกว่ามนุษย์      และเป็นเทพที่ยิ่งกว่าเทพ     อุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์      เพื่อความสุขแก่ชนเป็นจำนวนมาก  และยังได้อนุเคราะห์ช่วยเหลือสัตว์โลก        อำนวยสุขให้แก่เทวดาและมนุษยื  คัมภีร์นี้ทำให้ผู้อ่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา  แล้วสามารถนำเอาหลักธรรมที่ได้รับรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันดิอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม    กาล    บุคคล     และสถานที่ 

 

ลักษณะการประพันธ์

         “ลลิตวิสฺตร”    เป็นคัมภีร์ที่ใช้ภาษาสันสกฤตผสมหรือสันสกฤตพันทาง    ที่นิยมใช้เขียนหลักธรรม และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา    โดยได้มีการเกิดขึ้นประพุทธศตวรรตที่   ๓ - ๔   หรือราว   ๒๐๐  ปี   ก่อนคริสต์ศักราช

         ภาษาสันสกฤตชนิดผสมนี้  ได้มีอยู่  ๒ นิกายใหญ่ ๆ ที่ใช้ คือ

๑)  นิกายสรวาสติวาท หรือ นิกายเถรวาท  หรือ หีนยาน

๒)  นิกายมหาสังฆิก

         “ลลิตวิสฺตร”   คืองานนิพนธ์สันสกฤตชนิดอวทานที่บรรยายถึงประวัติของพระพุทธเจ้าอย่างละเอียด    รจนาเป็นบทร้อยแก้ว      ใช้ภาษาสันสกฤตผสมในรูปแบบปุราณะ  (ไม่ได้มีการสรุปเรื่องด้วยบทร้อยกรองเหมือนคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร  แต่เป็นการดำเนินโดยธรรมดา - ผู้จัดทำ)ไม่มีผู้ใดทราบว่างานนิพนธ์นี้ใครเป็นผู้รจนา  และกาลเวลาแห่งการรจนาก็ไม่แน่นอน

เนื้อหาโดยย่อ

         ในอัธยายที่    ๒๐    นี้    ชื่อ  “โพธิมัณฑวยูหะปริวรรต”    ว่าด้วย วิมานที่ควงต้นโพธิ   ในอัธยายนี้     ได้กล่าวถึงการแสดงความพร้อมเพรียงของเหล่าพระโพธิสัตว์      และเทวดาทั้งหลายที่ได้มาร่วมกันแสดงความยินดี       โดยการมาอนุโมทนาในการตรัสรู้ของพระโพธิสัตว์     จากพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ทั้ง   ๑๐  ทิศ    พร้อมทั้งพระโพธิสัตว์อื่น  ๆ   ที่เป็นบริวารแวดล้อม      ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์ผู้จะตรัสรู้    ที่ควงต้นโพธิและที่ประทับ   เพื่อเป็นการบูชาพระโพธิสัตว์   โดยได้พากันนำดอกไม้   ธูป    ของหอม   พวงมาลัย    ธงต่าง ๆ   รัตนะ  แก้วมณี    เงิน   ทอง   พลทั้ง  4   และสิ่งต่าง  ๆ  ที่ไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยินที่ไหนมา    ก็ได้ถูกนำมาที่พุทธเกษตรนี้     และพระโพธิสัตว์ทั้งปวงก็ต่าง  ๆ   ได้พากันยังฝนดอกไม้ให้ให้ตกจากพื้นอากาศห่าใหญ่   แก่   เทวดา   นาค    ยักษ์    คนธรรพ์    อสูร   ครุฑ   กินนร   งูใหญ่   องค์ศักรพรหมเทพโลกบาล    มนุษย์    อมนุษย์    และทำให้เกิดความปีติและความสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย

 

สาระธรรมและแนวคิด

         ในเรื่องปริวรรตนี้     ถือได้ว่ามีความแตกต่างกันมาก   ระหว่างมหายาน  และหีนยาน  ทั้งทางด้านคติแนวความคิด  และลักษณะในการอธิบาย หรือการนำเสนอ  (ลักษณะการประพันธ์)

         ทางด้านธรรมะ  เมื่อพิจารณาแล้วจะยิ่งเห็นได้ชัดว่า ไม่มีความแตกต่างกันเลย  เพราะธรรมะที่ใช้ในมหายาน (คัมภีร์ลลิตวิสฺตร) นี้  ก็เหมือนกันกับหีนยาน   จะมีความต่างกันก็ด้านชื่อที่ใช้เรียกหัวข้อและธรรมะเพียงเท่านั้น

 

         เนื้อหาสาระธรรมที่น่าสนใจในคัมภีร์ลลิตวิสฺตร  อัธยายที่  ๒๐  นี้ แต่ในที่นี้จะยกมาแสดงเพียงหัวข้อเดียว  ที่เป็นการเปล่งพระดำรัสของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย   ที่เกิดขึ้นจากพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ ทิศ  หลังจากที่ได้พากันมา  ณ  บริเวณที่ควงต้นโพธิและที่พระโพธิสัตว์ได้ประทับ    โดยกล่าวว่า

 

                ใครชำระกายให้สะอาดด้วยบุณยและชญานจำนวนมาก   ใครชำระวาจาให้สะอาด  ด้วยพรตและตบะ  ด้วยสัตยธรรม  ใครชำระจิตให้สะอาด  ด้วยหิริ  (ความละอายบาป)   และ  ธฤติ  (ความมั่นคง)  ด้วยกรุณาและไมตรี  ท่านผู้นี้นั้น  เข้าไปสู่โคนต้นโพธิบูชาพระศากยผู้เลิศ.

 

         ด้านแนวคิด   คงจะไม่ไกลไปจากหลักเดิม ๆ ของมหายาน  ยังเป็นการกล่าวถึงพระโพธิสัตตว์ที่มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจริง   แต่ไม่ได้หมายความว่าพระโพธิสัตตว์นั้นจะนิรวาณ  และดับไป หรือสูญไปตลอดจนสถานที่ตรัสรู้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  ( หีนยานน่าจะได้ความคิดส่วนนี้มาจากมหายาน - ผู้จัดทำ)  ยังคงอยู่ที่เดิม  โดยมีข้อความท่อนหนึ่งที่กล่าวในคัมภีร์ลลิตวิสฺตรว่า

     “พระผู้มีภคะ  ตรัสรู้แล้วในที่นั้น   เทวบุตรที่เคยเห็นพระพุทธมาแล้ว   มาร่วมประชุมในที่นั้น  แม้พระสัมยักสัมพุทธองค์ก่อน ๆ  ก็ได้ทรงกระทำเครื่องหมายแล้วในที่นั้น”

 

เปรียบเทียบลลิตวิสตระกับวรรณกรรมอื่น ๆ

                ในอัธยายที่  ๒๐  นี้   ชื่อ  “โพธิมัณฑวยูหะปริวรรต”    ว่าด้วย วิมานที่ควงต้นโพธิ    เมื่อจะเปรียบเทียบกับวรรณกรรมอื่น ๆ แล้ว    ปรากฏว่าไม่มีวรรณกรรมใดเลยที่สามารถจะเปรียบเทียบได้    เพราะสิ่งที่มีในอัธยายที่   ๒๐  นี้นั้น       ย่อมไม่พบหรือปรากฏในวรรณกรรมใด ๆ เลย   ทั้งมหากาพย์พุทธิจริต    สัทธรรมปุณฑรีกสูตร  อันเป็นฝ่ายมหายานเองก็ไม่พบข้อความหรือเรื่องราวในตอนนี้    ส่วนของฝ่ายเถรวาทนั้น   ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงก็ไม่พบเรื่องราวในตอนนี้เช่นเดียวกัน

                ฉะนั้นจึงกล่าวสรุปได้ว่า  ในอัธยายที่  ๒๐  นี้   ชื่อ  “โพธิมัณฑวยูหะปริวรรต”    ว่าด้วย วิมานที่ควงต้นโพธิ นั้น   มีอยู่แต่เพียงเฉพาะในลลิตวิตระเท่านั้น   ในคัมภีร์อื่น ๆ นั้น ยังไม่พบเท่าที่หาได้   แต่อย่างไรก็ดีในอนาคตอาจจะมีในคัมภีร์อื่นก็ได้  

 

 

หมายเลขบันทึก: 506875เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2012 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เปรียบเทียบ....ลลิตวิสตระ....กับวรรณกรรม...ดีจังเลย นะคะ ลูกสายลม เก่งมาก ....เยียมจริงจริงๆๆ ค่ะ  หมอเปิ้ล ... อ่าน 2 รอบ นะคะ  (อ่าน ของน้องสายลม หน้านี้ นะคะ  จึงจะเข้าใจนะคะ)

ขอบคุณมาก กับความรู้ดีดีนี้นะคะ

ขอบคุณพี่เปิ้ลสำหรับกำลังใน และ Comment นะครับ

เปลี่ยนเรื่องบ้างนะครับ จะได้ไม่เบื่อคนเขียนนะครับ

ขอขอบคุณ สำหรับกำลังใจนะครับ

คุณ Bright Lily

คุณวิชญธรรม

คุณโสภณ เปียสนิท

ขอบคุณ คุณ ราเชนทร์ จำนงการ สำหรับกำลังใจนะครับ

พี่มีชุดนี้ค่ะ แต่ไม่เคยอ่าน รู้สึกหนักเกินไปสำหรับเรา แหะ แหะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท