ชีวิตเหมือนล่องเรืออยู่กลางทะเล


คิดดูแล้วชีวิตมนุษย์นี้เหมือนการล่องเรืออยู่กลางทะเลครับ เราไม่รู้ว่าวันนี้ทะเลจะสงบหรือมีคลื่นลมรุนแรงแค่ไหน สิ่งที่ทำได้ก็คือปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของทะเลให้ดีที่สุด

ทะเลอยู่เหนือการควบคุมของชาวเรือ สิ่งต่างๆ ในชีวิตก็เช่นกัน อยู่เหนือการควบคุมของเรา มีเพียงสิ่งเดียวที่เราจะควบคุมได้คือจิตใจของเองเท่านั้น เปรียบเหมือนชาวเรือที่ไม่สามารถควบคุมทะเลได้ แต่สามารถดูแลความสงบภายในเรือได้

ยิ่งคลื่นลมพัดหนัก ชาวเรือก็ยิ่งต้องดูแลให้เหตุการณ์ภายในเรือสงบเรียบร้อยเพื่อสามารถต่อสู้กับสถานการณ์ภายนอกให้ได้ดีที่สุด ยิ่งมีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นในชีวิต จิตใจของเราก็ต้องยิ่งสงบเย็นเพื่อให้สามารถรับมือกับสิ่งที่เข้ามาให้ได้

นี่คงเป็นสาเหตุที่ศาสนาต่างๆ สอนให้เราฝึกจิตใจให้สงบ เพราะจิตใจเราโดยธรรมชาตินั้น แม้ในสถานการณ์ปกติจิตใจเราก็ไม่ได้สงบอย่างที่ควรเป็น ส่วนในสถานการณ์ที่รุนแรงวุ่นวายจิตใจเรายิ่งสับสนยิ่งกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอีก

การฝึกจิตใจก็คงเหมือนกับการฝึกของชาวเรืออีกเช่นกัน นั่นคือการฝึกฝนกระทำในช่วงคลื่นลมสงบ เพื่อให้ได้ใช้ทักษะที่ฝึกนั้นในเวลาเกิดพายุ เป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ร้ายที่จะเกิดขึ้น

ความสำเร็จในการฝึกจิตใจขั้นแรกก็คือเราสามารถให้จิตใจสงบในเวลาเหตุการณ์สงบได้ ที่จริงแล้วการฝึกขั้นแรกก็ยากเพียงพอแล้ว เพราะคนเราทั่วไปใจไม่สงบแม้เหตุการณ์รอบตัวจะสงบก็ตาม

ความสำเร็จขั้นที่สองคือการที่มีจิตใจสงบในเวลามีเหตุการณ์ไม่สงบ สิ่งนี้ทำได้ไม่ง่าย แต่ผลลัพธ์ก็คือจะทำให้เราสามารถรับมือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

และความสำเร็จขั้นที่สองนี้คือหนึ่งในความหมายที่พระเยซูสอนให้รักศัตรูและอธิษฐานให้แก่ผู้ที่ข่มเหง ใจที่สงบเย็นเท่านั้นถึงจะทำเช่นนี้ได้

แต่ "ความสงบ" นี่ไม่ใช่ตรรกะที่มีสองค่าคือ "เป็น" และ "ไม่เป็น" เหมือนเปิดปิดสวิทช์ (discrete value) แต่เป็นสภาวะที่มีความมากน้อย (continuous value) ขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรามีสติรับรู้สภาวะความเป็นไปของจิตใจเราตลอดเวลา สติที่ดีเท่านั้นถึงจะรู้ความเป็นไปในใจเราได้อย่างแท้จริง

เราทุกคนในฐานะชาวเรือในทะเลชีวิตก็คงต้องเรียนรู้ฝึกฝนเพื่ออยู่กับทะเลนี้กันต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 506471เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2012 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับอาจารย์..ถือท้ายให้ดีดีก็แล้วกัน..เรื่องคลื่นลมนั้นจะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น..ขาดน้ำจืดต่างหากที่ทำให้เราตายได้..ตอนเป็นนักเรียนจ่าปี ๑ ครูฝึกเคยสอนเสมอว่าแม้เราอยู่บนฝั่งจะไม่ค่อยถูกกัน แต่ถ้าในทะเลอีกฝ่ายน้ำจืดหมด..เราควรจะให้เขา..ให้ลืมเรื่องอื่นๆก่อน..ที่สำคัญความสามัคคีจะกลับคืนมาเอง..เออ..ไม่เหมือนสมัยนี้แฮะ ! ..มีกันไม่รู้กี่สี ?

* ภาพในทะเลเมื่อหลายปีที่ผ่านมา.

 

 

"แม้เราอยู่บนฝั่งจะไม่ค่อยถูกกัน แต่ถ้าในทะเลอีกฝ่ายน้ำจืดหมด..เราควรจะให้เขา"

เป็นแง่คิดที่ดีมากเลยครับ

"ความสงบ"..น่าจะเป็น ตรรกะ..ที่มีสองคำ..1 และ.. 0 (ได้) ในความหมายของ.."เกิด" และ "ตาย".."หลุดพ้น"(ว่าง)จากการล่องอยู่ในวังวน..ในใจที่กว้างใหญ่ยิ่งกว่าห้วงมหรรณพ..ด้วยการ.ปิด..เปิด..สวิทซ์ที่กายและใจ..ด้วย..ศีล..สมาธิ..ปัญญา....(เป็นสิ่งที่.."ยายธี"พยายามเข้าใจ.แบบชาวบ้านๆ..เจ้าค่ะ..)..

-สวัสดีครับอาจารย์..

-ตามมาเยี่ยมครับ...

-อยู่อย่างมีสติ..ครับ..

-ธรรมออกแบบชีวิตได้...

-ขอบคุณครับ

 

จำคำของอาที่อ้างถึงคำของก๋งได้ ก๋งสอนว่าให้ทำงานสุจริตอะไรก็ได้ แต่อย่าออกเรือหากินทางทะเล เหตุผลของก๋งก็คือ "โลกมันแคบ"

ชีวิต ก็อาจคับแคบ ขณะที่ทะเลคือโลกกลับกว้างใหญ่

แวะมาเยี่ยมอาจารย์...

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท