วัฒนธรรม กับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต


มนุษย์ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตจากความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมทั้งสาม คิด สร้าง ผลิตซ้ำ มีทั้งดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แตกต่างและซับซ้อน

 

วัฒนธรรม กับ  การศึกษาตามอัธยาศัย  การเรียนรู้ตลอดชีวิต

เนื่องจากมิติการศึกษาตามอัธยาศัย หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต
เชื่อมโยงเป็นสหวิทยาการ ได้ทุกมิติ  ไม่ว่าจะเป็นมิติเชิงประวัติศาสตร์
สังคมวัฒนธรรม หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  วันนี้จะมาเชื่อมโยง
กับวัฒนธรรม


วัฒนธรรมคืออะไร???  ที่ผ่านมาได้มีการนิยาม การสร้างความหมายให้กับ
วัฒนธรรม กลุ่มที่หนึ่ง มองในแง่ดี โรแมนติค  ว่าความหมายของวัฒนธรรม
คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม  มีความสงบสุข ความมั่นคง เจริญก้าวหน้า
เมื่อใดก็ตามที่เกิดการหลงลืมวัฒนธรรมอันดีงามก็จะประสบปัญหาต่าง ๆ

อีกกลุ่มหนึ่งนิยามวัฒนธรรมไปในทางตรงกันข้ามก็คือ ในโครงสร้างของวัฒนธรรม
มีความไม่ยุติธรรม ไม่เสมอภาค  ถูกกดขี่ ไม่เป็นประชาธิปไตย  ทางออก
ของกลุ่มนี้ก็คือ ทุบทำลายวัฒนธรรมและสถาปนาวัฒนธรรมใหม่

วัฒนธรรมที่เป็นความหมายกลาง ๆ  ตามที่ได้รับการยอมรับกันก็คือ
วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิต (Way of  Life)  ความหมายนี้ มีความหมายแบบมีชีวิต
ที่มีทั้งสองด้านของมนุษย์  มีพลวัตร เคลื่อนไหว เชื่อมโยงกันทุกด้าน
เป็นชีวิตวัฒนธรรม

 

ชีวิตวัฒนธรรม เกี่ยวกับการเรียนรู้ในวัฒนธรรมของเรา เป็นอย่างไร???
ในชีวิตวัฒนธรรมของมนุษย์มีความสัมพันธ์ที่จะต้องเกี่ยวข้องอยู่สามประการ
คือ ความสัมพันธ์ระดับที่หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ


มนุษย์ตั้งแต่บุพกาล มาจนถึงปัจจุบัน มีความกลัว ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ ปรากฎการณ์
ต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติ ไม่ว่า ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว  หิมะตก ไฟไหม้  เปลี่ยนแปลงไปนั้น
มีสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่เบื้องหลัง  เป็นอำนาจที่อยู่เบื้องหลังปราฏการณ์  ท่าทีต่ออำนาจ
เหนือธรรมชาติ นั้นก็คือ ท่าทียอมจำนน ด้วยการเซ่นสรวงบูชา 

 

วิธีการเซ่นสรวงบูชา  มีนัยความหมายสองประการคือ  ประการหนึ่งคือท่าทียอมจำนน
ว่าเราพึ่งพาธรรมชาติไม่ทำลายธรรมชาติ  ประการที่สอง คือ
การรวมพลังทางสังคมชุมชนในพิธีกรรมเหล่านั้น เป็นพลังอำนาจที่รวมคนในสังคม
ไว้ด้วยหลักการที่ว่าด้วยคนอยุ่ร่วมกับธรรมชาติ


วิธีชีวิตที่เป็นประวัติศาสตร์ร่วมของมนุษยชาติเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเกิดการปฏิวัติ
อุตสาหกรรม ภายหลังยุคสว่าง (Enlightenment)  หรือความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์

ความเชื่อดั้งเดิมที่เชื่อว่าธรรมชาติมีเบื้องหลัง เช่นความเชื่อของอินเดียแดงในอเมริกา
ก็มีความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่กับทรัพยากร ในขณะที่ผู้บุกเบิกและรุกราน
ในนามของวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม  ไมได้มีความเชื่อในธรรมชาติแบบดั้งเดิม
ได้มีความเชื่อใหม่คือ ความร่ำรวย จับต้องได้  จากสภาพความเชื่อที่เปลี่ยนไปทำให้
มีการขุดเอาทรัพยากรไปขายเป็นสินค้า และไล่ล่าชนเผ่าผู้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นที่น่าเวทนา จนถึงปัจจุบันวัฒนธรรมใหม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง และแปรปรวน
ของธรรมชาติ จนนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหาทางออกโดยการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยัง
ดาวดวงอื่น

 

การเรียนรู้ที่เป็นระบบความคิดสมัยเดิม ก็คือ การอยู่กับธรรมชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติ
ประทะกับระบบความคิดสมัยใหม่ ก็คือ ความมั่งคั่ง และจัดการทรัพยากรเป็นสินค้า
ความคิดหลังเกิดขึ้นไม่ถึงสองร้อยปี  แต่ก็มีผลให้โลกมีอายุสั้นขึ้น

 

ส่วนความสัมพันธ์ในระบบที่สอง คือ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ชนิดนี้  เกิดจากการสังเกต ความเคลื่อนไหวของธรรมชาติ ฤดูกาล และ
ธรรมชาติของสรรพสิ่ง  ความคิดต่อธรรมชาติก่อให้เกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมา มนุษย์

สมัยหินอาศัยถ้ำอยู่ เกิดการประดิษฐ์เครื่องมือในการจัดการอาหาร  และการล่าสัตว์
เครื่องมือสมัยหินเช่นขวานหิน  เครื่องบดเมล็ดข้าว จากหิน การแกะสลักรูปเคารพบูชา
ต่อมาสมัยยุคเหล็ก เกิดการประดิษฐ์เครื่องมือจากการเรียนรู้เรื่องธาตุตามธรรมชาติ
ก่อให้เกิดเครื่องมือเหล็ก ข้าวของเครื่องใช้อาวุธที่เป็นเหล็ก  พอพัฒนาไปหน่อยก็รู้จัก
การทำโลหะผสม  ตลอดจนมีการตกผลึกความคิดเรื่องจากธรรมชาติ โดยเฉพาะชนชาติจีน
รู้จัก เฟิง สุ่ย  (Geomancy) เพื่อจัดการกับธรรมชาติในการสร้างบ้านเรือน  และมีตำรา
ที่เรียกว่า อี้ จิง  คือ ตำราว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ  ทุกอย่างได้สร้างและเปลี่ยน
แปลง  สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ เป็นภูมิปัญญา หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ของมนุษย์ยุคต่าง ๆ
ต้องการอะไรก็ประดิษฐ์ คิดค้น ทำเอาเอง เลียนแบบบ้าง

ระบบความสัมพันธ์ชนิดนี้ ก่อให้เกิดการผลิตจากการเลียนแบบธรรมชาติ เช่นการผลิตข้าว
การเลี้ยงสัตว์  การผลิตข้าวของเครื่องใช้กัน การแลกเปลี่ยนสินค้า 

 

เมื่อมีเทคโนโลยีมนุษย์ก็จะหันไปควบคุมทรัพยากรและสังคมอื่น ๆ รุกรานกัน
เพื่อจะควบคุมพื้นที่และทรัพยากร  ไม่ว่าจะเป็นขบวนการล่าอาณานิคมของยุโรป
การขยายอาณาเขตของเจงกิสข่าน  มีความสัมพันธ์กับการจัดการทรัพยากร  พวกยุโรป
ได้แสวงหาอาณานิคม โดยการทำสงคราม และคิดค้นเทคโนโลยี  ผู้ที่มีเทคโนโลยีที่
เหนือกว่าก็จะควบคุมทรัพยากร  เมี่อควบคุมทรัพยากรของประเทศอาณานิคมได้แล้ว
ก็เข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม นำทรัพยากรที่ได้นำมาถลุง สร้างความเจริญมั่นคง
ให้กับประเทศเจ้าอาณานิคม  พวกนี้นำเอาทรัพยากรไปบำรุงบำเรอประเทศ สร้าง
สาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นอย่างดี  เนื่องจากทรัพยากรนั้นมีจำกัด  หลังจากประเทศ
เจ้าอาณานิคมได้ออกไปจากประเทศเหล่านั้น ก็เพราะว่าเขาได้ทรัพยากรที่สำคัญไป
หมดแล้ว   

จากการได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงความเชื่อ  ทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรอย่าง
กว้างขวาง  และนำมาสู่ภาวะวิกฤติของทรัพยากร จนมาถึงปัจจุบัน การจัดการทรัพยากร
นั้นมีคนจำนวนน้อยได้ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพยากร  เช่น น้ำมัน  ซึ่งเป็นปัจจัย
การผลิตที่สำคัญของระบบอุตสาหกรรม และนวัตกรรมและการจัดการทรัพยากรยุคปัจจุบัน
คือการบริโภค สัญญะ บริโภคตราสัญลักษณ์  และเครื่องอำนวยความสะดวก

มาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  หรือระบบสังคม  ความสัมพันธ์ของมนุษย์
ตั้งแต่บรรพกาล ก็คือการอยู่กันเป็นชุมชน เป็นกลุ่มชน เนื่องมาจากการกลัวภัย ต่อมาได้
เกิดรัฐ และโครงสร้างสังคมแบบเป็นทางการ  ได้ก่อเกิดรัฐแบบศักดินา  รัฐแบบเผด็จการ
รัฐแบบเสรีประชาธิปไตย  รัฐแบบคอมมิวนิสต์  ประดิษฐกรรมการสร้างรัฐเป็นนัยว่า
มาจากมันสมองของมนุษย์เอง  ความสัมพันธ์ของมนุษย์ก็เปลี่ยนไป  จากความสัมพันธ์

ระหว่างหญิงชายไม่เทียมกัน  เปลี่ยนแปลงเป็นเท่าเทียมกัน    จากความสัมพันธ์ทางการ
ผลิตแบบนายทาส และ ทาส  มากลายเป็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน  แต่สิ่งหนึ่งที่เคย
เปลี่ยนแปลงไปเลย ก็คือ โครงสร้างและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่มีผู้ผูกขาดทรัพยากร
ในสังคมเท่าไร ก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าเดิม   แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงในทางให้เกียรติ
กับเพศที่สาม เรื่องสิทธิมนุษยชน ไปแล้วก็ตาม


สรุปแล้ว วัฒนธรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่เขียนอย่างละเอียดจะได้ตำราใหญ่ ๆ หลาย ๆ เล่ม
มนุษย์ได้เรียนรู้ตลอดชีวิตจากความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมทั้งสาม  คิด สร้าง ผลิตซ้ำ
มีทั้งดีบ้าง ไม่ดีบ้าง  แตกต่างและซับซ้อน  ซึ่งมนุษย์ได้เรียนรู้  สร้างความรู้  ผลิตซ้ำความรู้
ผลิตซ้ำระบบความคิด  ซึ่งการเรียนรู้ชนิดนี้คือ การศึกษาตามอัธยาศัยหรือ การเรียนรู้
ตลอดชีวิต นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 506275เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

วัฒนธรรม กับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต .... ดีมากๆๆ เลยนะคะ ...

- การอ่านมากๆๆ ทุกๆด้าน ...

-การฟังสิ่งดีดี...

- การคิดสิ่งใหม่ๆๆ ดีดี ...และ

- การเขียนที่ดีดี ...ให้มี Impactสูงๆ และกว้างๆ .... นั้นสำคัญมากนะคะ ...

หมอเปิ้ล...ต้องพัฒนาตนเอง...อีกมากเลยค่ะ

 

ขอบคุณท่านมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท