รามเกียรติ์ ตอนที่ ๑๒ นางเบ็ญกาย


ฉบับ ดร.สัตยพรต ศาสตรี เป็นต้นเค้าในการเรียบเรียง และฉบับนี้ก็นำมาจากของรัชกาลที่ี ๑ มาเป็นต้นเค้าอีกทีนะครับ

 

รามเกียรติ์

ตอนที่ ๑๒ นางเบ็ญกาย

สรคะที่ ๑๐

              ทศกัณฐ์ได้รับสั่งให้นางยักษ์ ผู้มีรูปร่างน่ากลัวตัวหนึ่ง  ชื่อว่า เบ็ญกาย แปลงร่างเป็นนางสีดา  ผู้เป็นธิดาแห่งท้าวชนก 

 

             ท้าวทศกัณฐ์  ผู้ชั่วช้า  ผู้ฉลาดในกลหลอกลวง  ได้ทรงดำริแล้วว่า  จะให้นางเบ็ญกายได้แสดงตนเหมือนคนตายลอยมาตามกระแสน้ำในแม่น้ำ  อันไปสู่สถานที่พระรามเสด็จมาทรงสนาน  เพื่อหวังให้พระรามนั้น หลงเข้าใจผิดคิดว่าภรรยายอันเป็นที่รักแห่งตนถึงแล้วซึ่งมรณา เรา  (พระราม) จะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร  ก็จะได้เลิกการต่อสู้  (กับเรา) หรือไม่ก็คงออกจากป่าไป แล้วสั่งให้นางดำเนินงานตามแผนอันน่ากลัวนั้น

 

           เป็นไปตามที่ท้าวทศกัณฐ์คาดการณ์ไว้ทุกประการ  พระรามได้เสด็จมายังแม่น้ำ  เพื่อประกอบพิธีประจำวัน  เมื่อพระรามทรงเห็นร่างที่ไร้วิญญาณของนางสีดา  อันถูกกระแสน้ำพัดพามา  พระองค์ทรงหลั่งพระอัสสุชล  (น้ำตา) ออกมา  แล้วหมดสติทันที

 

             ครานั้น เมื่อพระลักษมณ์ทรงเห็นว่าพระรามทรงชักช้าอยู่  จึงได้เสด็จออกมาค้นหาและเห็นพระรามทรงสิ้นหวัง  ราวกะว่าบุคคลผู้จมลงไปในทะเล  พระลักษมณ์เองก็รู้สึกเศร้าโศกพระทัย

 

                 ครั้นราชาสุครีพและหนุมาน  ทั้งสองวานรคิดว่าพระรามเสด็จไปสรงสนาน  แต่ยังมิได้เสด็จกลับมา จึงได้รีบออกไปค้นหา

 

                    ทั้งสองวานรเกิดความทุกข์ใจอย่างยิ่ง  เมื่อเห็นพี่น้องสองพระองค์เศร้าโศก  และหนุมานก็ไม่เชื่อว่านางสีดาตายแล้วจริง ๆ หนุมานจึงได้ก่อไฟขึ้นทันที  เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นร่างอันไร้วิญญาณของนางสีดาหรือของหญิงอื่นที่เป็นยักษ์กันแน่

 

                        หนุมานได้เหวี่ยงร่างอันไร้วิญญาณนั้น  ลงในกองไฟทันที  จากนั้นนางยักษ์ ผู้อัปลักษณ์  ได้ร้องโหยหวน เหาะขึ้นไปในท้องฟ้า  โดยไม่รีรอ

 

                          หนุมาน  ผู้มีพลังอำนาจ  ได้ใช้มือจับที่ผมของนาง  ขณะที่นางนั้นกำลังเหาะปลิวขึ้นไปในอากาศ  แล้วดึงนางลงมาที่พื้นดิน  และพานางไปถวายแด่พระรามผู้ประเสริฐ

 

                         ครั้นพิเภก ผู้เป็นยอดแห่งนักพูดได้มาถึง ณ ที่นั้น  ได้พบนางยักษ์นั้นแล้ว  ได้กราบทูลพระรามว่า หญิงผู้มีรูปร่างอัปลักษณ์นางนี้  มีชื่อว่า  เบ็ญกาย นางผู้นี้เป็นลูกของข้าพระองค์เอง

 

                      ครั้นพิเภกได้ไตร่ตรองถึงการกระทำของนาง  พิเภกจึงทูลกะพระรามให้พระองค์ฆ่านางเบ็ญกายเสีย  แต่พระรามไม่ประสงค์ที่จะฆ่าลูกสาวของเพื่อน  จึงรับสั่งให้หนุมานนำนางไปส่งที่เมืองลงกา

 

                     ขณะที่กำลังเดินทางไป  พญาวานรนั้นได้ถูกศรแห่งกามเทพปักลงที่อกอย่างรุนแรง ไม่อาจต้านทานความยั่วยวนของหญิงสาวได้  พลังอำนาจของกามเทพนั้น  ชั่งไม่มีขอบเขต

 

                    หนุมานได้อ้อนวอนขอความรักจากนางยักษ์  นางยักษิณีเห็นหนุมานผู้กล้าหาญและสง่างามถูกศรรักปัก  นางเองก็ไม่สามารถที่จะอดใจได้เช่นกัน  ดังนั้นนางจึงยินดีและเริงรักกับด้วยวานร

 

ในกาลต่อมา  นางยักษิณีเบ็ญกาย  ก็ได้ให้กำเนิดลูกชายผู้กล้าหาญ  นามว่า อสุรผัด  ผู้เป็นลูกของหนุมาน

 

 

หมายเลขบันทึก: 505814เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2014 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ท้าวทศกัณฐ์ ผู้ชั่วช้า ผู้ฉลาดในกลหลอกลวง   .... เป็น ... นางเบ็ญกาย ... แบบนี้ไม่ดีเลยนะคะ .... แต่เอาความฉลาดไป .... ทำร้าย & ทำลาย คนอื่น นี้อันตรายมากๆๆ อันตรายจริงๆๆ นะคะ  

 

ขอบคุณน้องสายลมมากค่ะ ... อ่านวรรณกรรม  แล้วย้อนมาทบทวนตนเองนะคะ (หมายถึงตัวP'Pleนะคะ)

ครับพี่เปิ้น

ทศกัณฐ์ ตัวละครตัวนี้

ที่เขาสร้างขึ้นมานั้น หวังจะแทนตัวคน/มนุษย์นะครับ

กล่าวคือ มีนิสัย หรือมีจิตใจที่เป็นสามัญสำนึก โดยทั่วไปของคนเรานะครับ

มีคามอยาก  กิเลส  ตัณหา ต่าง ๆ มากมายนะครับ

แต่เรื่องนี้  ถ้าอ่านดี ๆ เราจะรักทศกัณฐ์  ...... ไว้เขียนบทความต่อนะครับ

 

ขอบคุณพี่เปิ้นนะครับ 

 

 

 

 

ขอบคุณอาจารย์ ชยพร นะครับสำหรับกำลังใจครับ

กาพย์นางลอย คือตอนเดียวกันกับตอนนี้มั้ยคะ

ขอบคุณพี่สุภา

ใช่ครับเป็นตอนเดียวกันนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท