รายการสายใย กศน. 15, 22, 29 ต.ค., 5 พ.ย.55


15 ต.ค.55 เรื่อง “โรงเรียนเกษตรกร กศน.อำเภอสันทราย”, 22 ต.ค.55 เรื่อง “มิติใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือของ กศน.”, 29 ต.ค.55 เรื่อง “ชีวิตครูดอย ของ กศน.อำเภอแม่ฟ้าหลวง”, 5 พ.ย.55 เรื่อง “ปฐมนิเทศนนักศึกษาสถาบันการศึกษาทางไกล ภาคเรียนที่ 2/55”


รายการสายใย กศน.  วันที่ 5  พฤศจิกายน  2555

         เรื่อง “ปฐมนิเทศนนักศึกษาสถาบันการศึกษาทางไกล ภาคเรียนที่ 2/55”

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน

         วิทยากร คือ
         - นายสุรศักดิ์  เพิ่มผล  ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล
         - วิไล  แย้มสาขา  หัวหน้าส่วนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สทก.
         - วาสนา  โกสีย์วัฒนา  หัวหน้าส่วนพัฒนานวัตกรรมการศึกษาทางไกล สทก.

         รายการวันนี้เป็นการปฐมนิเทศนักศึกษา กศ.ขั้นพื้นฐาน ทั้งนักศึกษาเก่าและนักศึกษาใหม่ ที่เรียนแบบทางไกล ของสถาบันการศึกษาทางไกล ประจำภาคเรียนที่ 2/2555  ( จะมีการปฐมนิเทศแบบชั้นเรียนอีกครั้ง รวมทั้งจัดทำ VCD การปฐมนิเทศ ส่งให้นักศึกษาที่ไม่สามารถเข้ารับการปฐมนิเทศได้ )
         การเรียนแบบทางไกล เป็นการเติมเต็มให้กับผู้เรียนที่มีข้อจำกัดในเรื่องไม่มีเวลามาเรียน-มาพบกลุ่ม  โดยสามารถศึกษาจากชุดการเรียนด้วยตนเองอยู่ที่บ้าน ตามเวลาว่างของแต่ละคน  มีสื่อต่าง ๆ ที่สมบูรณ์  ถ้าผู้เรียนมีความสนใจตั้งใจเรียน ก็จะบรรลุหลักสูตรอย่างสมบูรณ์
         สถาบันการศึกษาทางไกลจัดการศึกษาใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีผู้เรียน 3 พันคนเศษ กับหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง มีผู้เรียนเกือบ 2 พันคน
         หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเรียนที่ 2/2555 นี้ รับสมัครระหว่าง 1-31 ต.ค.55 เปิดเทอม 1 พ.ย.55 ( สมัครด้วยตนเอง หรือสมัครทางเว็บไซต์ หรือสมัครทางไปรษณีย์ )
         ใน 2 สัปาห์แรก นักศึกษาจะได้รับสื่อเอกสารต่าง ๆ เช่น
         - คู่มือนักศึกษา ( ฉบับเต็ม และเพิ่มเติม ) ใช้เป็นคู่มือจนจบหลักสูตร
         - รายการวีดิทัศน์ปฐมนิเทศ 1 แผ่น
         - รายการวีดิทัศน์แนะแนวการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช. ) 100 ชม.
         - ปฏิทินการศึกษา ภาคเรียนที่ 2/55
         - รายชื่อและวิธีการติดต่อครูที่ปรึกษาประจำรายวิชา ( โทรศัพท์,
e-Mail, จดหมาย )
         - บัตรประจำตัวนักศึกษา
         - หนังสือเรียน ( ฟรี )  ใน กทม.และปริมณฑล ให้ไปรับภายในกลางเดือน ธ.ค.55  ส่วนต่างจังหวัดจะส่งให้ภายในเดือน พ.ย.55

         ดูข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์  www.dei.ac.th

         วิธีการเรียน
         1. เรียนด้วยตนเอง ( 5 สาระ  ม.ต้น 56 หน่วยกิต  ม.ปลาย 76 หน่วยกิต )
            - จากชุดการเรียนทางไกล
            - จากสื่ออื่น ๆ ที่มีอยู่ทั่วไป
         2. เข้าร่วมกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ ในรายวิชาที่สถาบันการศึกษาทางไกลกำหนด
            - การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ( LAB )
            - การอบรม ประชุม สัมมนา
            - การฝึกปฏิบัติ
            - ฯลฯ
         3. เข้าร่วมกิจกรรมสนับสนุนการเรียน ในรายวิชาที่สถาบันการศึกษาทางไกลกำหนด
            - การปฐมนิเทศ  ( ครึ่งวัน  ได้ กพช. 4 ชม. )
            - การสอนเสริม
            - การจัดกิจกรรมของชมรมวิชาการ
            - ฯลฯ
         4. ทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ( กพช. ) ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
            - ทำด้วยตนเองในระหว่างเรียน ไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง 
            - เข้าร่วมสัมมนาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตก่อนจบหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ( ระหว่างการสัมมนา มีการประเมินคุณธรรมเพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน และพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม )
 

         เงื่อนไขในการจบหลักสูตร
         1. มีผลการเรียนผ่านครบรายวิชาตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด  ( มีการสอบเทียบโอนความรู้ในรายวิชาบังคับ เพื่อให้สามารถจบหลักสูตรได้เร็ว )
         2. ได้รับอนุมัติ กพช. ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
         3. ผ่านการประเมินคุณธรรม
         4. ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
 

         สื่อการเรียนการสอน
       
  1. สื่อเอกสาร
            - ชุดการเรียนทางไกล  ( หนังสือเรียนรายวิชาบังคับพัฒนาโดยสำนักงาน กศน.ส่วนกลาง  รายวิชาเลือกพัฒนาโดยสถาบันการศึกษาทางไกล )  รายวิชาเลือก ม.ต้น บังคับเลือกทั้ง 10 รายวิชา  ม.ปลาย บังคับเลือก 10 รายวิชา  เลือกเสรี 6-8 รายวิชา ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์สถาบันการศึกษาทางไกล
            - สมุดบันทึกกิจกรรมประกอบชุดการเรียนทางไกล
        2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
            - สื่อประกอบชุดการเรียนทางไกล ( CD/VCD )
            - สื่อเสริมการเรียนรู้ ( VCD )
            - สื่อออนไลน์
         3. สื่อบุคคล
            - ครูที่ปรึกษาประจำวิชา
            - ครูสอนเสริม
            - ครูแนะแนว
         4. ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ

         การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
         1. คะแนนระหว่างภาค 60 คะแนน  ใช้ข้อสอบอัตนัย ทำที่บ้าน เขียนด้วยลายมือตนเอง  ถ้าพบว่าเขียนให้กันหรือลอกเหมือนกันให้ตกทั้งสองคน  ให้เวลาทำ 1 เดือน ( ภาคเรียนที่ 2/55 ส่งข้อสอบให้นักศึกษา 1 ม.ค.55 และให้นักศึกษาส่งคืนถึงสถาบันฯภายใน 1 ก.พ.55 ) 
         2. สอบปลายภาค 40 คะแนน สอบปลาย ก.พ.- ต้น มี.ค.56  ต้องได้อย่างน้อย 12 คะแนน  และคะแนนระหว่างภาครวมกับคะแนนปลายภาคต้องได้ไม่น้อยกว่า 50 คะแนน

         สิ่งสำคัญที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ  เช่น
         - แจ้งชื่อที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่ติดต่อได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง
         - มีปัญหา ติดต่อส่วนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โทร. 02-3816650
         - วางแผนการเรียนด้วยตนเอง
         - ส่งข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างภาคให้ทันกำหนด

         ข้อคิดในการทำข้อสอบให้ได้คะแนนดี ( ข้อสอบระหว่างภาค )  เช่น
         - อ่านโจทย์ให้เข้าใจ
         - ศึกษาค้นคว้า-สอบถามผู้รู้-ปรึกษาเพื่อน ได้

         จะเรียนให้สำเร็จต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีสติ ตระหนัก มีความพยายาม ตั้งใจเรียน  ( ในการเรียนแต่ละวิชาไม่ใช่ง่าย แต่ไม่เกินความสามารถ )

         นักศึกษาเรียนจบ 2 พันกว่าคนแล้ว  และไปเรียนต่อมากกว่า 90 %  โดยผู้ที่จะเรียนจบจะเป็นคนที่มีวินัย ความรับผิดชอบ จึงมักจะไปเรียนต่อได้ทุน สามารถเรียนจบปริญญาโท

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  29  ตุลาคม  2555

         เรื่อง “ชีวิตครูดอย ของ กศน.อำเภอแม่ฟ้าหลวง”

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน

         วิทยากร คือ
         - อรุณประเสริฐ  ศรีวิชัยมูล  ผอ.กศน.อำเภอแม่ฟ้าหลวง
         - นายฤทธิไกร  เบิกบาน  ครูอาสาสมัครฯบนพื้นที่สูง ศศช.บ้านเฮกะ
         - ศรีสังวาล  แคใจปา  ครูอาสาสมัครฯบนพื้นที่สูง ศศช.บ้านจะดำน้อย
         - ศิลา  ศรีวรรักษ์  ครูอาสาสมัครฯบนพื้นที่สูง ศศช.บ้านธาตุ
         - นายวิษณุ  ใจอ้าย  ครูอาสาสมัครฯบนพื้นที่สูง ครูนิเทศ ต.แม่ฟ้าหลวง
         - กานิษา  เชื้อเมืองพาน  ครูอาสาสมัครฯบนพื้นที่สูง ศศช.บ้านเลาสิบ
         - นายกฤษนัย  ชาติชนะกุล  ครูอาสาสมัครฯบนพื้นที่สูง ศศช.บ้านสามแยกอีก้อ

 

         กศน.อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นหน่วยงานเดียวที่เข้าถึงโรงเรียน ( อาศรม ) บนดอย   มีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนบนพื้นที่สูง หรือครูดอย ( เดิมเรียกว่า ครู ศศช. คือครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง )  กลางวันสอนเด็ก กลางคืนสอนผู้ใหญ่ ทำหน้าที่หลายอย่าง เป็นทั้งครู หมอ ที่ปรึกษา ฯลฯ  แต่ละเดือนอยู่บนดอย 22 วัน ลงพื้นราบ 8 วัน ( เหมือนตำรวจตระเวนชายแดน )

         บนดอยอากาศดี คนบนดอยมีความจริงใจมาก เป็นที่ประทับใจของครูดอย  สอนตั้งแต่ผู้ไม่รู้หนังสือ ให้รู้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารกับคนพื้นราบได้และมีความรักชาติ   ครูต้องเข้าใจวัฒนธรรมวิถีชีวิตเขา  มีความยากลำบากมาก ต้องมีใจรักจึงจะอยู่ได้  สอน กศ.ขั้นพื้นฐานทุกวิชา ทำงาน 24 ชั่วโมงก็ว่าได้   ดูแลเด็กปฐมวัย ( จัดอาหารกลางวัน จัดการเรียนการสอน )  ทักษะชีวิต
         ทักษะอาชีพ  ผลิตภัณฑ์แฮนด์เมคจากผ้าปัก เช่น หมวก กระเป๋า, เลี้ยงหนอนเยื่อไผ่ ( รถด่วน ) ทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น, ชา, กาแฟ ( สอนทั้งแพ็คกิ้ง ทั้งการตลาด ด้วย )   ครูต้องเรียนรู้ร่วมกับชุมชนและเรียนรู้จากชุมชนด้วย
         หลายคนยังเข้าใจการทำงานที่ยากลำบาก ปิดทองหลังพระ ของครูดอย ไม่ดีพอ
         ( ตอนท้ายรายการ ผมประทับใจจนน้ำตาซึม )

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  22  ตุลาคม  2555

         เรื่อง “มิติใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือของ กศน.”

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน

         วิทยากร คือ
         - นายประยุทธ  หลักคำ  ผอ.ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
         - สุพรพรรณ  นาตปานเอี่ยม  รอง ผอ. สำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร
         - Kyoko  Yonlzu  Senior Programme officer. UN. Bangkok.
         - บารนี  ทองบุญรอด  จนท.ฝ่ายโครงการ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ

 

         วันที่ 9 ก.ย.55  รมว.ศธ.และ Ms.Irina Bokova ผู้อำนวยการใหญ่องค์กรยูเนสโก  ได้ร่วมมอบโล่รางวัลแก่ผู้ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล Thailand Literacy Awards ประจำปี 2555   ( ให้ กศน.จังหวัด กศน.ภาค คัดเลือกจากทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ดำเนินการมานานพอสมควร โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรองคัดสรร )   จำนวน 7 ราย  ซึ่งในรายการสายใย กศน.เมื่อ 8 ต.ค.55 ได้นำเสนอผู้ได้รับรางวัลไปแล้ว 2 ราย  รายการวันนี้ได้นำเสนอเพิ่มอีก 2 ราย  ดังนี้

         1. United Nation High Commissioner for Refugees (UNHCR : สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ )  กรุงเทพมหานคร  กลุ่มเป้าหมายคนไร้รัฐ  โครงการสอนภาษาในค่ายผู้ลี้ภัย  โดยได้สนับสนุน กศน. ( ปีที่ผ่านมา สนับสนุน กศน. ประมาณ 6 ล้านบาท )  และสภาความมั่นคงแห่งชาติ  ในการจัดทำโครงการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยให้ผู้ลี้ภัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวพม่า 8 แห่ง ใน จ. กาญจนบุรี ตาก และแม่ฮ่องสอน  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลี้ภัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาไทยพื้นฐาน ได้เรียนรู้วัฒนธรรมไทย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมบทบาทหน้าที่สตรี รวมถึงให้ผู้ลี้ภัยสามารถสื่อสารกับคนไทยได้ และมีความรู้ที่สูงขึ้น   โดยมีผู้เรียนจบหลักสูตรแล้วกว่า 13,436 คน  ซึ่งเป็นผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไปและไม่ต้องการไปประเทศที่สาม   ( แม่ฮ่องสอนมี 4 ศูนย์ ครู กศน. 14 คน,  ตาก 3 ศูนย์ ครู 13 คน,  กาญจนบุรี 1 ศูนย์ ครู 4 คน  และมีผู้ประสานงานระดับจังหวัด ๆ ละ 1 คน  ส่วนที่ราชบุรีมีศูนย์พักพิงแต่ยังไม่มีโครงการนี้   กว่าครู กศน.จะเข้าไปสอนถึงค่ายผู้ลี้ภัย ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เพราะค่ายอยู่ชายแดน เส้นทางธุรกันดาร )

         2. สำนักงาน กศน.จ.สมุทรสาคร  กลุ่มเป้าหมายแรงงานต่างด้าว   จ.สมุทรสาครมีแรงงานต่างด้าวประมาณ 520,000 คน โดยเฉพาะชาวพม่า   สอนให้อ่านเขียนภาษาไทยได้  นอกจากนี้มีหลักสูตรภาษาพม่า-ไทย ด้วย สำหรับให้ผู้ที่รับชาวพม่าเข้าทำงานได้เรียนรู้ด้วย

         การส่งเสริมการรู้หนังสือของ กศน. มิติใหม่ ต่างจากโครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห่งชาติ  โดยไม่ใช่ส่งเสริมให้รู้หนังสือไทยอย่างเดียว แต่สอดแทรกวัฒนธรรมประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกัน  รวมทั้งเรื่องการประกอบอาชีพ  ไม่ใช่แค่อ่านออกเขียนได้ แต่รวมทั้ง กศ.ขั้นพื้นฐาน และ กศ.ต่อเนื่อง ( กศ.เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เช่น กีฬา การดูแลรักษาสุขภาพ ระเบียบกฎหมาย  ทักษะอาชีพ  พัฒนาสังคมและชุมชน )


         การจัดการศึกษาให้แก่คนต่างด้าวที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทยนี้ ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ก.ค.2548  ที่ให้หน่วยงานกระทรวงต่าง ๆ ร่วมกันดำเนินการ  เป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา ที่จัดสรรเงินงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนรายหัวได้

 

 

รายการสายใย กศน.  วันที่  15  ตุลาคม  2555

         เรื่อง “โรงเรียนเกษตรกร กศน.อำเภอสันทราย”

         ดำเนินรายการโดย นายวสันต์  บุญหนุน

         วิทยากร คือ
         - อุบล  ทัศนโกวิท  ผอ.กศน.อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่
         - สุวิชา  อินหนองฉาง  ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่
         - นายวิลาศ  จุลกัลป์  เกษตรกร

 

         โรงเรียนเกษตรกร ( IPM ) คือ สถานที่ที่เกษตรกรมาเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการบริหารศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน แปลงนาเป็นโรงเรียน เป้าหมายคืออนุรักษ์ความสมดุลทางธรรมชาติ  โดยครู กศน.จัดเวทีชาวบ้าน ทำหลักสูตรร่วมกับเกษตรกรที่เป็นผู้เรียนตามปัญหาของเกษตรกร

         กศน.อ.สันทรายเริ่มเปิดโรงเรียนเกษตรกรตั้งแต่ปี 2551  ปัจจุบันมีเกษตรกรผ่านหลักสูตรรวม 200 กว่าคนแล้ว
         พื้นที่ อ.สันทรายส่วนใหญ่ทำนา แต่ต้นทุนการผลิตสูงเพราะใช้สารเคมีมาก สุขภาพไม่ดี (ตรวจเลือดพบสารเคมีตกค้าง ทำให้เป็นโรค ) เกษตรกรยากจนยิ่งทำยิ่งจน  โรงเรียนเกษตรกรเน้นทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อให้แก้ปัญหาได้โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เช่น ลงแปลงนาสำรวจระบบนิเวศสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ถ้าพบปัญหาก็ร่วมกันวิเคราะห์และแก้ปัญหา

         ครูต้องเข้าใจ เข้าถึง ลงพื้นที่พูดคุยซักถามตลอดเวลา พาให้เขาทำนำให้เขาคิด สาธิตให้ดู  ครูกศน.ที่ทำเรื่องนี้จะงานหนัก  กศน.อำเภอต้องเสริมแรง  กศน.อำเภอสันทรายร่วมกับมูลนิธิการศึกษาไทยอบรมการเป็นครูโรงเรียนเกษตรกร หลักสูตร 4 เดือน  จนกศน.อ.สันทรายเป็นต้นแบบแก่หน่วยงานอื่นในเรื่องโรงเรียนเกษตรกร
  กำลังจะจัดทำหลักสูตรอบรมผู้ที่จะเป็นครูโรงเรียนเกษตรกรเรื่องเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้โรงเรียนเกษตรกร ( IPM )  หลักสูตรเพียง 10 วัน ( ทั้งกลางวันกลางคืน )

         หลักสูตรการบริหารศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน มี 12 เรื่อง เช่น เรื่องดินโรคและแมลง วัชพืช ฯลฯ  มีการวิเคราะห์ดินต่อยอดเป็นการทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์  มีการปรับปรุงพันธุ์และการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำเกลือตามกระบวนการ IPM  การทดลองปุ๋ย บันทึกต้นทุนไว้เปรียบเทียบ  เกษตรกรที่ผ่านโรงเรียนจะไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ( ต่อยอดไปเรื่องต่าง ๆ ทักษะชีวิต อาชีพ การทำข้าวแต๋นน้ำข้าวกล้องงอก ฯลฯ  เป็นการศึกษาตลอดชีวิต เหมาะกับ กศน. )  แม้ กศน.ออกมาแล้ว ชาวบ้านก็ทำต่อได้พึ่งตนเองได้

คำสำคัญ (Tags): #สายใย กศน.
หมายเลขบันทึก: 505790เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  •  สวัสดี ค่ะ อ.Blank ออกหลักฐาน (บัตร นศ.)ค่ะ
  • รับคำร้องขอจบ(นศ.ที่จบภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๕) ค่ะ
     -ใบรับรองผลการเรียน
     -ใบแสดงผลการเรียน

กศน. มีเครือข่ายกันมาก หลายๆๆ พื้นที่ ก็ดีนะคะ มีเพื่อนมากๆๆ ดีกว่า .... ช่วยกันค้นหาวิธีเรียนรู้นะคะ เพื่อ นักศึกษา ทีมงาน คณาจารย์ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท