พ่อตีลูก แม่ดุลูก ลูกคิดลบจนก้าวร้าว


ขอบคุณ G2K ที่แนะนำให้คุณ ภ. และครอบครัวนำลูก พ. มาปรึกษา กลัวว่าจะเป็น Asperger's syndrome ลูกไม่มีเพื่อนในโรงเรียนคบ ชอบอยู่เงียบ ไม่สนใจเรียน นั่งเหม่อลอย

ก่อนไปพบกรณีศึกษาวัย 12 ปี คนนี้ ผมลองศึกษาบันทึก G2K ที่ตนเองเคยบันทึกเรื่อง ชีวิตแอสเปอร์เกอร์ไม่มีวันล้ม (คลิกอ่านบันทึกที่เกี่ยวข้อง) และเมื่อพบน้อง พ. ครั้งแรก ก็มั่นใจว่า น้องไม่ได้เป็นแอสเปอร์เกอร์

จากนั้นดร.ป๊อป ได้ตรวจประเมินน้อง พ. ในเรื่อง การแสดงบทบาทในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต การแปรผลทางจิตวิทยาในการวาดรูปคน-บ้าน-ต้นไม้ และการทดสอบการรู้คิดปัญญา พร้อมให้คุณแม่ทำการคัดกรองภาวะความบกพร่องทางการเรียน

การแปรผลคือ น้องมีภาวะเครียดสะสมและส่งผลให้มีภาวะความบกพร่องทางการเรียนด้านพฤติกรรม (แยกตัว กำมือแน่นเมื่อเห็นใครทำผิด กัดฟัน ก้มหน้าไม่สบตา และยิ้มยาก) และด้านอารมณ์ (คิดลบกับพ่อ แม่ น้อง ครู และเพื่อน ไม่อยากรักใคร) เมื่อถามถึงปมในอดีตตอนน้องเล็กๆ พ่อเห็นน้องร้องไห้เอาของเล่น ก็ตีแรงๆ จนน้องหลบไปร้องไห้-ขังตัวเองในห้องน้ำ แม่ดุว่าน้องเมื่อทำการบ้านไม่ได้ เมื่อน้องอยู่ในโลกของตนเองมากขึ้น คุณพ่อและคุณแม่ก็ปรับวิธีการเลี้ยงดูแบบเพื่อนและพยายามเข้าใจลูกมากขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะทำให้ลูกหายจากอาการก้าวร้าวได้อย่างไร คุณพ่อนึกได้ว่ารูปแบบของการแสดงความคิดลบแบบนี้ คุณพ่อก็เคยเป็นมาก่อนแต่ใช้ธรรมมะช่วย 

ดร.ป๊อป จึงให้น้อง พ. นั่งในท่าสบายหลับตา วางมือดร.ป๊อป บนมือของน้อง พ. จากนั้นให้น้องหายใจเข้าจมูก เป่าลบทางปากไปเรื่อยๆ นับในใจหลังทำแต่ละรอบ 1-10 จากนั้นให้น้องพ. พูดคำว่า "ผ่อนคลาย" ออกมารวม 10 ครั้ง

ดร.ป๊อป ได้พูดเบาๆ ให้น้องได้ยินว่า "น้องรู้สึกดี ผ่อนคลาย และคิดบวกกันนะครับ" เอาหละลองจินตนาการว่าความฝันของน้องคืออะไร

น้อง พ. บอกว่า "อยากเป็นนักดนตรี มีชื่อเสียง เคยเห็นรุ่นพี่เป็นแบบอย่าง อยากเล่นกีตาร์ไฟฟ้า แต่อยากเรียนกีตาร์คลาสสิกก่อน มีคนมาฟังเพลงมากมาย"

ดร.ป๊อป: "คราวนี้ถ้าน้องเป็นนักดนตรีที่ดี ต้องเรียนดี มีความคิดบวก รอบข้างน้องรู้สึกรักใครบ้าง"

น้อง พ.: "คิดยาก ไม่อยากรักใคร"

ดร.ป๊อป: "ใจเย็นๆ คิดบวก เป็นคนดี เรารักใครครับ"

น้อง พ.: "รักตัวเอง ไม่ชอบเพื่อนๆ ทำไม่ดี รำคาญ ..."

ดร.ป๊อป: "รักตนเองและรักใครในบ้านบ้างหละ"

น้อง พ.: ไม่รู้ ไม่อยากรัก"

ดร.ป๊อป: "น้องเรียนได้ดี เพราะมีแม่คอยสอนใช่ไหม คิดบวก ข้อดีของแม่คืออะไร น้อง พ. รักแม่ไหม"

น้อง พ.: รักแม่ แม่สอนการบ้านให้ 

ดร.ป๊อป: "รักใครอีกที่คอยเป็นเพื่อนน้อง พ."

น้อง พ.: "รักพ่อ อืม... รักน้อง"

ดร.ป๊อป: "เอาหละ เดี๋ยวน้าป๊อปจะพาคุณพ่อคุณแม่และน้องสาวของน้อง พ. มา น้อง พ. จะพูดกับพวกเขาว่าอะไร กอดหรือจับมือได้ไหม"

น้อง พ.: "ผมจะตั้งใจเรียน ไม่คิดลบ เป็นคนดี ไม่กอด จับมือได้" (จากนั้นให้น้อง พ. ฝึกหายใจและพูดผ่อนคลายกับตัวเอง)

เมื่อ ดร.ป๊อป พาคุณแม่คุณพ่อและน้องสาวของน้อง พ. มา น้อง พ.ก็คุกเข่า-จับมือและบอกครอบครัวตามที่ฝึกไว้ และให้คุณพ่อคุณแม่เปิดใจพูดกับลูกด้วยน้ำตา เมื่อนึกถึงการกระทำที่ไม่ดีต่อน้อง พ. ในอดีต จากนั้นทั้งพ่อแม่ลูกก็กอดกันด้วยความรักที่น่าประทับใจ  

 

หมายเลขบันทึก: 505504เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2012 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หายใจเข้าจมูก เป่าลบทางปากไปเรื่อยๆ นับในใจหลังทำแต่ละรอบ 1-10 จากนั้นให้น้องพ. พูดคำว่า "ผ่อนคลาย" ออกมารวม 10 ครั้ง ... ขอบคุณคะ เทคนิคนี้ ผู้ใหญ่อย่างตัวเองก็แอบทำไปด้วย :)

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. อ.นุ และพี่เปิ้ล

ขอบคุณมากครับคุณปริม ครูอ้อย และคุณปณิธิ

ความรักของครอบครัว ส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกหลาน

เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคุณ Kunrapee ... ขอบคุณมากครับ

เมื่ออ่านจบรู้สึกประทับใจกับกรณีศึกษานี้มากเลยค่ะ รู้สึกได้ถึงความรักที่พ่อแม่มีต่อน้องพ. :)

ต้องขอบคุณอาจารย์มากนะคะ ที่นำกรณีศึกษานี้มาแบ่งปันให้ได้อ่าน
ดิฉันคิดว่า จะนำการตรวจประเมินที่อาจารย์นำมาประเมินน้องพ.มาเป็นแนวทางคร่าวๆในการตรวจประเมินตอนไปฝึกงานของดิฉันได้ค่ะ

และจากการอ่านบทสนทนาของอาจารย์และน้องพ.แล้ว ยังได้คำพูดที่อาจารย์ใช้เทคนิคพูดซ้ำเพื่อให้น้องพ.ได้ทบทวนความคิด และมองโลกในแง่บวกมากขึ้น ดิฉันคิดว่าสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้ด้วยค่ะ

Dr. Popจากบันทึกนี้ทำให้เห็นว่าสังคมแวดล้อมมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กมาก สถาบันครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมากต่อตัวเด็ก เพราะพฤติกรรมเด็กจะปรับเปลี่ยนไปตามการเลี้ยงดูของครอบครัว ดังนั้นสิ่งที่หนูได้จากการอ่านบันทึกนี้ก็คือความบกพร่องที่เกิดขึ้นในผู้รับบริการอาจไม่ได้มาจากพันธุกรรม หรือ สารสื่อประสาทในสมองที่ผิดปกติไปเพียงอย่างเดียว แต่บางครั้งอาจเกิดจากสังคมแวดล้อม ถ้าหากสังคมดีก็ส่งผลให้สุขภาพจิตดี ในการรักษาทางกิจกรรมบำบัดจึงไม่ได้เน้นรักษาแค่ให้ผู้รับบริการกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องรวมไปถึงการมีปฎิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเพื่อให้ผู้รับบริการอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งครอบครัว ชุมชน สังคมประเทศ

Dr. Popออ่านจากบันทึกแล้วรู้สึกว่ากิจกรรมบำบัดที่อาจารย์ได้ทำให้กับน้องดีมากๆเลยค่ะ พยายามให้น้องได้ทบทวนและคิดว่าน้องรักใครบ้าง ทั้งๆที่ความจริงการที่น้องพูดว่าไม่อยากรักใคร เป็นเพราะน้องจำแต่สิ่งไม่ดีที่พ่อแม่ทำกับตัวเอง แต่ลึกๆแล้วน้องรักทุกคนในบ้าน พ่อแม่เมื่อเห็นลูกตัวเองไม่เหมือนเด็กคนอื่นอาจจะคิดว่าลูกตัวเองเป็นโรคผิดปกติอะไรบางอย่างทั้งๆที่ความจริงแล้วลืมพิจารณาถึงการกระทำของตัวเองที่ได้ทำกับลูกไว้ ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดต่างๆมากมาย เช่น การเลี้ยงดูเด็ก1คนไม่ใช่เรื่องง่าย การเลี้ยงดูและการปลูกฝังสิ่งที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะมันจะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต เราสร้างภาพทางบวกให้กับเด็ก เด็กก็จะมีภาพบวกติดตัว เห็นคุณค่าในตนเอง และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในเรื่องอื่นๆในชีวิตได้อีกด้วยนะคะ เช่น เมื่อเกิดปัญหาไม่เพียงแต่ต้องหาสาเหตุเท่านั้น เราต้องอย่าลืมมองตัวเองด้วย ว่าเราเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเรากำลังเจอปัญหาอยู่ตอนนี้หรือเปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท