อิทธิพลของซิลิกอนต่อความต้านทานโรคใบจุดสีเทา


งานวิจัยเหล่าหนี้สอดคล้องกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟในประเทศไทยที่มีแร่ธาตุซิลิคอนที่ละลายน้ำ พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากถึง 70 -80 % มากกว่าดิน หิน ทรายและแกลบ ที่คนชนส่วนใหญ่คิดว่าได้จากสิ่งเหล่านี้ก็เพียงพอแล้ว

มีการใช้แร่ธาตุซิลิกอน (Si) เพื่อการทดลองเพื่อลดการเข้าทำลายโรคพืชชนิดต่างๆ มากมายทั่วโลก อีกทั้งยังมีการทดลองแร่ธาตุซิลิกอนในด้านอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งในแง่สารอาหารช่วยเร่งการเจริญเติบ ช่วยเพิ่มน้ำหนัก ช่วยสร้างความต้านทานต่อดินเค็ม ป้องกันหนอนและแมลง ฯลฯ ท่านที่สนใจสามารถหาอ่านได้จาหนังสือ Silicon In Agriculture ปัจจุบันมีรายงานเอกสารการวิจัยล่าสุดถึงปีค.ศ. 2011 ความจริงการประชุมสุมหัวของผู้มีความรู้ทั่วโลกเกี่ยวกับเรื่อง Silicon ในการเกษตรนี้มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 หรือตรงกับปีพุทธศักราชของไทยคือ 2542  นับว่าเป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้วที่มีการศึกษาวิจัยที่ต่อเนื่องยาวนานในด้านนี้  นับว่ามีประโยชน์และคุณูปการอย่างมากต่อวงการเกษตรเกี่ยวกับการใช้ซิลิคอน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์ ผู้ที่สนใจใฝ่หาความรู้ในเรื่องนี้สามารถหาหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ทาง Amazon.com เรื่อง SILICON IN AGRICULTURE เป็นฉบับเต็มที่แต่งโดย L.E.Datnoff, G.H.Snyder and G.H.Korndorfer

ผลการทดลองวิจัยในปีค.ศ. 1999 Lawrence E. Datnoff and Russell T. Nagata ได้พูดเกี่ยวกับการให้พืช (St.Augstinegrass) สะสมซิลิคอนในระดับต่างๆ แล้วสามารถลดอาการเกิดโรคที่เกี่ยวกับเชื้อราที่ผ่านการเพาะเชื้อ (Pyricularia grisea) เมื่อหญ้าค่อยๆสะสมซิลิคอนในระดับต่างๆ แล้วก็จะสามารถที่จะสร้างภูมิต้านทานลดการเกิดโรคให้น้อยลงตามลำดับ  ผลการวิจัยแจ้งว่าพืชที่สะสมซิลิคอน (14 gm. CaSio3/500 cc Soil) ช่วยลดพื้นที่ควบคุมการเกิดโรคใบจุดสีเทาอยู่ 44%-78%, ช่วยลดอาการระบาดที่รุนแรงอยู่ที่ 2.0  % - 38.8% และช่วยลดอาการติดเชื้ออยู่ที่ 2.5 และ 50.5 % ตามลำดับ

งานวิจัยเหล่าหนี้สอดคล้องกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟในประเทศไทยที่มีแร่ธาตุซิลิคอนที่ละลายน้ำ พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากถึง 70 -80 % มากกว่าดิน หิน ทรายและแกลบ ที่คนชนส่วนใหญ่คิดว่าได้จากสิ่งเหล่านี้ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งความจริงปริมาณการละลายได้ของซิลิคอนในวัสดุเหล่านี้มีเพียงน้อยนิด ยิ่งนำไปเผาไฟก็จะได้ซิลิคอนในรูปของด่างพืชไม่สามารถที่จะดูดซับจับกินเข้าไปในท่อน้ำท่ออาหารได้ เนื่องจากพืชจะลำเลียงสารอาหารเข้าไปได้เมื่ออยู่ในรูปของกรดอ่อนๆ เท่านั้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับซิลิคอนและหินแร่ภูเขาไฟแต่งโดยอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ผู้สนใจสามารถเข้าไปค้นคว้าหาอ่านในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชื่อ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์, การใช้ปูนและซีโอไลท์, การเลี้ยงกุ้งโดยไม่ใช้ปูนใช้ยา, การเพิ่มผลผลิตอ้อย ฯลฯ เพื่อจะได้มีข้อมูลเปรียบเทียบทั้งไทยและเทศกันดูนะครับ

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 505143เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท