ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน : 21. เทคนิคดึงความสนใจ นศ. (1) เทคนิคประเมินพื้นความรู้


ครูต้องรู้พื้นความรู้ของ นศ. เพื่อนำมาใช้จัดการเรียนรู้ให้มีความท้าทายพอเหมาะ ไม่ง่ายเกินไป (เพราะจะทำให้ นศ. เบื่อ) และไม่ยากเกินไป (เพราะจะทำให้ นศ. ท้อถอย)

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 21. เทคนิคดึงความสนใจ นศ.  (1) เทคนิคประเมินพื้นความรู้   

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley    ในตอนที่ ๒๑ นี้ ได้จาก Chapter 12  ชื่อ Knowledge, Skills, Recall, and Understanding    และเป็นเรื่องของ SET 1 : Background Knowledge Probe

 ครูต้องรู้พื้นความรู้ของ นศ. เพื่อนำมาใช้จัดการเรียนรู้ให้มีความท้าทายพอเหมาะ   ไม่ง่ายเกินไป (เพราะจะทำให้ นศ. เบื่อ)   และไม่ยากเกินไป (เพราะจะทำให้ นศ. ท้อถอย)

SET 1 เทคนิคตรวจสอบพื้นความรู้  

จุดเน้น  :  ปัจเจก

กิจกรรมหลัก :   การเขียน

ระยะเวลา  :  ๑ คาบ

โอกาสเรียน online  :  สูง

นี่คือเทคนิคประเมินห้องเรียน  สำหรับนำมาใช้กำหนดระดับการเรียนรู้เมื่อเริ่มต้นชั้นเรียน    มีประโยชน์ทั้งต่อครู และต่อ นศ. เป็นรายคน   

ขั้นตอนดำเนินการ 

(๑) เดาพื้นความรู้ของ นศ. แต่ละคน    เดาประเด็นพื้นความรู้สำคัญที่ นศ. ทุกคนน่าจะมี สำหรับใช้เป็นฐานในการต่อยอดสู่การเรียนรู้หลักการ หรือความรู่ใหม่   

(๒) จากพื้นความรู้สำคัญ ที่ นศ. ทุกคนมี  ครูเตรียมคำถามปลายเปิด ๒ - ๓ คำถาม  ที่จะช่วยประเมินพื้นความรู้ของ นศ.    หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาพ ที่ นศ. ยังไม่ได้เรียน

 (๓) เขียนคำถามฉายขึ้นจอ   

(๔) อธิบายแก่ นศ. ว่าการทดสอบนี้ไม่เก็บคะแนน   และมีเป้าหมายเพื่อช่วย นศ.  (๑) ให้ทบทวนความจำของความรู้ที่ตนมีอยู่แล้ว    สำหรับนำมาเชื่อมโยงกับความรู้ที่จะเรียนใหม่   (๒) ช่วย นศ. ในการจัดระบบความรู้ของตน  (๓) ช่วยให้ครูกำหนดระดับการเรียนรู้สำหรับเริ่มต้นบทเรียน 

(๕) หลังการทดสอบ ให้ นศ. จับคู่ แลกเปลี่ยนคำตอบ และ ลปรร. กัน

ตัวอย่างคำถาม สำหรับวิชารัฐศาสตร์ ๑๐๐

 

ชื่อ .......

จงวงคำตอบที่แสดงความรู้ในปัจจุบันของท่าน

๑. Federalism

     ก. ไม่เคยได้ยินคำนี้

     ข. เคยได้ยิน แต่ไม่รู้ความหมาย

     ค. พอจะรู้ แต่ไม่ชัดเจน

     ง. เข้าใจความหมาย และอธิบายได้

๒. Separation of powers

     ก. ไม่เคยได้ยินคำนี้

     ข. เคยได้ยิน แต่ไม่รู้ความหมาย

     ค. พอจะรู้ แต่ไม่ชัดเจน

     ง. เข้าใจความหมาย และอธิบายได้

 

วิชากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์

       ทดสอบพื้นความรู้เกี่ยวกับหัวใจโดย แจกกระดาษที่มีภาพหัวใจ แสดงโครงสร้างภายนอก และภายใน   มีเส้นชี้ไปที่ส่วนต่างๆ  ให้ นศ. เขียนชื่อของส่วนนั้นๆ   แล้วให้จับคู่เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ แล้วเขียนชื่อของส่วนนั้นๆ ด้วยปากกาต่างสี

 

วิชา Music of Multicultural America   ครูทดสอบพื้นความรู้  และความรู้หลังจบภาคเรียน เป็น Pre- และ Post-Test ดัวยผังทดสอบ   ซึ่งช่วยให้ครูรู้ว่า นศ. คนไหนเล่นเครื่องดนตรีใดได้   สำหรับเชื้อเชิญให้ออกมาเล่นในโอกาสที่เหมาะสม   

 

แบบทดสอบวิชา Music of Multicultural America

ชื่อ .....

คำสั่ง  ท่านกำลังทำหน้าที่ต้อนรับอาคันตุกะจากต่างประเทศ และถูกถามเรื่องดนตรีอเมริกัน    ตอนแรกท่านคิดไม่ออก ยกเว้นเพลงป๊อบที่กำลังฮิต   แต่ต่อมาท่านนึกได้ว่า  (๑) สรอ. เป็นประเทศที่มีผู้อพยพย้ายถิ่นเข้ามามาก  (๒) ผู้อพยพเหล่านี้ นำดนตรีจากประเทศของตนมายัง สรอ.  (๓) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างดนตรีจากต่างวัฒนธรรมเหล่านี้ นำไปสู่ “ดนตรีอเมริกัน”     จงใช้คำคำเดียว หรือวลีสั้นๆ กรอกลงในกระดาษ เพื่ออธิบายความคิดของท่านแก่อาคันตุกะ

 

 

บริบททางสังคม วัฒนธรรม

ดนตรี (นักดนตรีคนสำคัญ  ลักษณะทางโครงสร้างที่สำคัญ  ฯลฯ)

Native American Music

 

 

Gospel

 

 

Blues

 

 

Jazz

 

 

Country

 

 

Urban folk revival

 

 

Rock ‘n’ roll

 

 

Tejano, Banda

 

 

Salsa, Reggae

 

 

Hip-hop, Rap

 

 

 

การขยายวิธีการ หรือประโยชน์

  • ให้ นศ. จับคู่แลกเปลี่ยน
  • ใช้ข้อมูลที่ได้ ในการจับคู่บั๊ดดี้ นศ.   ในลักษณะที่หวังความสัมพันธ์เชิง mentor – mentee
  • ขยายออกไปใช้ประเมินความก้าวหน้าในการเรียน
  • มีเทคนิค Con-Venn-Tions แจกกระดาษ index card   ให้ นศ. แต่ละคนเชียนประเด็นสำคัญในเรื่องนั้น ๕ - ๘ ประเด็น   โดยเขียนลงในกระดาษแผ่นละประเด็น   แล้วให้ นศ. จับคู่   อ่านข้อความ แล้วจัดกระดาษออกเป็น ๓ กอง    คือกองที่เป็นความรู้ร่วมของ ๒ คน   กับกองที่เป็นความรู้จำเพาะของแต่ละคน

 

การปรับใช้ในการเรียน online

ทำได้ง่าย

 

คำแนะนำ

ในแต่ละชั้นอาจมี นศ. ที่ไม่มีพื้นความรู้เลย    และการทดสอบอาจก่อความรู้สึกท้อถอย หรือถอดใจ    ครูควรสังเกตว่าใครบ้างที่เป็น นศ. กลุ่มนี้ และใช้เวลาอธิบายให้ฟัง และให้ความมั่นใจว่า   เมื่อครูรู้พื้นความรู้ของ นศ. แต่ละคนแล้ว  ก็จะสามารถช่วยเอื้อและส่งเสริมให้ นศ. เรียนรู้จนประสบความสำเร็จได้

หากพื้นความรู้ของ นศ. สูงกว่าที่คิด   ครูก็ต้องยอมรับความท้าทาย โดยปรับการเรียนรู้ให้ยกระดับขึ้น   ซึ่งเป็นภาระต่อครู   ดังนั้น ครู เอลิซาเบธ จึงแนะนำว่า หากครูไม่พร้อมที่จะรับการท้าทายให้ต้องปรับการเรียนการสอนตามผลการทดสอบนี้   ก็ไม่ควรใช้เครื่องมือ SET 1 นี้

 

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

Angelo TA, Cross KP. (1993) Classroom assessment techniques. San Francisco : Jossey-Bass, pp. 121 – 125 Background knowledge probe.   

The knowledge survey : A tool for all reasons.  

วิจารณ์ พานิช

๗ ต.ค. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 504863เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 04:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท