ผู้บริหารการพยาบาลกับการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มภายใต้สถานการณ์ชายแดนใต้ ๓,๐๐๐ คน



โครงการผู้บริหารการพยาบาลกับการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ

ในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มภายใต้สถานการณ์ชายแดนใต้ ๓,๐๐๐ คน

ที่มาของปัญหา

โรงพยาบาลหนองจิกจังหวัดปัตตานี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด ๓๐ เตียงในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มีประชาชนในความรับผิดชอบมากเป็นอันดับ ๓ ของจังหวัดปัตตานี จำนวน๗๘,๐๕๔ คน มีพื้นที่แต่ละตำบลค่อนข้างห่างไกลจากตัวโรงพยาบาลและตัวอำเภอโรงพยาบาลหนองจิกติดถนนเพชรเกษมมีอุบัติเหตุบนท้องถนนค่อนข้างสูงผู้รับบริการในงานผู้ป่วยนอก ทั้งตรวจรักษาพยาบาลและบริการอุบัติเหตุฉุกเฉินประมาณ ๒๕๐คน-๓๐๐ คน ตลอดจนมีเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดปัตตานี ทั้งยิงถล่มมัศยิศ เผารพสต ,เผาโรงเรียน ,เผาโรงงาน, ยิงตำรวจ ,ยิงทหาร ,ยิงบุคลากรสาธารณสุข และยิงชาวบ้าน ฯลฯทำให้การบริหารการพยาบาลเพื่อการจัดการบริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอกับความต้องการของประชนเป็นไปด้วยความยากลำบากจำนวนผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นทั้งปริมาณและความรุนแรงทำให้ภาระในการดูแลผู้ป่วยสูงมากเป็น ๒ เท่าตัว ซึ่งปัจจุบันกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลหนองจิกต้องจัดบริการเตียงผู้ในมากถึง ๖๐ เตียง โดยใช้เตียงเสริมจำนวน ๓๐ เตียง อีกทั้งยังต้องร่วมจัดบริการพยาบาลในชุมชนทั้งการเยี่ยมบ้าน,การออกไปรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ การแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ร่วมกับชุมชน จากภาระงานที่มากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับการโยกย้ายอันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตรากำลังพยาบาลกำลังที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการจัดบริการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม

จนปี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้มีโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มเพื่อรองรับสถานการณ์ความไม่สงบ

ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งอำเภอหนองจิกได้รับการจัดสรรพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มฯ ในปี ๒๕๕๔ จำนวน ๖๕ตำแหน่งมันเป็นการจัดการปัญหาภายใต้คำถามมากมาย

“ การผลิตบุคลากรพยาบาลจำนวนมากมายในเวลาเดียวกัน จะมีประสิทธิภาพเพียงใด” มันเป็นคำถามที่ยังไม่มีใครกล้าให้คำตอบเวลา ๔ ปี กับการเตรียมความพร้อมให้กับพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่ม ฯ ในพื้นที่ ทั้งสถานศึกษาและทีมพี่เลี้ยงในแต่ละจังหวัด เดินทางมาจนถึงวันสุดท้าย วันที่พวกเขาต้องเริ่มต้นภารกิจในการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ความท้าทายที่ต้องประกันด้วยศักดิ์ศรีของวิชาชีพและความรับผิดชอบของหัวหน้าพยาบาล ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้

เวลา ๔ ปี ในสถานศึกษาทางการพยาบาลที่พวกเขาได้รับการอบรม ให้มีความรู้ในพื้นฐานทางด้านวิชาการและทฤษฎีอื่นๆอีกมากมาย มันคงเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการเป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพพยาบาล แต่ความมีประสิทธิภาพและความรู้สึกภูมิใจในคุณค่าของวิชาชีพมากขึ้นเพียงใด มันอยู่ที่ทีมบริหารการพยาบาลของเรา ที่จะช่วยให้เขาเป็นพยาบาลที่ดีและมีคุณภาพ มีความหมายกับสังคมที่ปลายด้ามขวานทองของแผ่นดินไทย

การดำเนินการ

๑ สำรวจอัตรากำลังเดิมที่มีอยู่ของทุกหน่วยบริการ ที่ต้องได้รับการจัดสรรพยาบาลในโครงการ

ผลิตพยาบาลเพิ่มฯ ทั้งใน รพสต ,กลุ่มงานเวชปฏิบัติชุมชน , กลุ่มงานการพยาบาล

๒.คำนวณอัตรากำลังกับผลผลิตพยาบาล หาส่วนขาดของอัตรากำลังที่ควรได้รับการจัดสรรในแต่ละโรงพยาบาล แต่ละหน่วยบริการโดยใช้หลักเกณฑ์ของชั่งโมงาการพยาบาลจากสำนักการพยาบาลและสภาการพยาบาล ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไปในจังหวัดปัตตานี โดยแต่ละหน่วยบริการได้รับการจัดสรร ดังนี้

๒.๑กลุ่มงานการพยาบาล ได้รับการจัดสรร ๓๐ ตำแหน่ง

๒.๒ กลุ่มงานเวชปฏิบัติชุมชน ได้รับการจัดสรร๔ ตำแหน่ง

๒.๓ รพสต ในเครือข่ายอำเภอหนองจิก ได้รับการจัดสรร๓๑ ตำแหน่ง( ๑๕ รพสต)

๓.จัดทำหลักสูตรปฐมนิเทศร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์ให้พยาบาลใหม่ในพื้นที่เรียนรู้บริบทขอการทำงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ภายใต้โครงการผลิตพยาบาลเพิ่มเพื่อรองรับสถานการณ์ความขาดแคลนของพยาบาลวิชาชีพพยาบาลวิชาชีพ และความรุนแรงของเหตุการณ์ความไม่สงบเป็นเวลา ๓วันต่อรุ่น และครอบคลุมเป้าหมายพยาบาลใหม่ ๑๐๐ %

๔.ปฐมนิเทศพยาบาลใหม่ที่ไดรับการจัดสรรในอำเภอหนองจิก โดยมีวัตถุประสงค์ให้เรียนรู้บริบทและภาระงานที่แตกต่างกัน ของแต่ละหน่วยบริการ

แผนการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการจัดสรรในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่ม ฯ

ปี ๒๕๕๔- ปี ๒๕๕๗

แผนการพัฒนา

๕๔

๕๕

๕๖

๕๗

- มีการหมุนเวียนการปฏิบัติงานตามหน่วยบริการในโรงพยาบาล ทั้งพยาบาลในรพสต กลุ่มงานเวชปฏิบัติชุมชนและกลุ่มงานการพยาบาลเพื่อเรียนรู้บริบทของผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลหนองจิกและฝึกหัตถการในหน่วยบริการครอบคลุมหน่วยบริการตรวจโรคทั่วไป,คลินิกโรคเรื้อรัง,คลินิกฝากครรภ์พิเศษ,ผู้ป่วยใน,ห้องคลอด,ห้องฉุกเฉินโดยมีแบบสั่งสม ประสบการณ์และทักษะทางการพยาบาลโดยมีพยาบาลพี่เลี้ยงควบคุมกำกับตามเกณฑ์ที่โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป ร่วมกันกำหนด( ๖ เดือน )

/




-มีการจัดระบบการปฏิบัติงานและการสอนงาน แบบBuddy พี่และน้อง ในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๒

/

/



-มีระบบการนิเทศหน้างาน โดยหัวหน้างาน,รองหัวหน้างาน,หัวหน้าเวร,ระบบพี่เลี้ยง ขณะรับส่งเวรขณะปฏิบัติงาน

/

/

/

/

-การประเมินสมรรถนะปีละ ๑ ครั้ง และนำส่วนขาดไปสู่การพัฒนารายกลุ่มรายบุคคล


/

/

/

-การเข้าฐานหัตถการที่สำคัญเช่นการช่วยฟื้นคืนชีพ,การกู้ชีพทารกแรกเกิด,การช่วยแพทย์ทำ ICD ,Umbrilicalcath,การทำคลอดปกติการทำคลอดท่าก้นกรณีฉุกเฉินและคลอดติดไหล่


/

/

/

-การเข้าฐาน,การใช้เครื่องมือพิเศษทางการแพทย์เช่น EKG,NST,DefribrilatorTransport Incubator, Imfusion Pump


/

/

/

-การซักซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่,การเปิดแผนกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่, แผนภัยพิบัติน้ำท่วม


/

/

/

-ประเมินสมรรถนะข้อเขียนโรคที่สำคัญในโรงพยาบาล และนำส่วนขาดไปสู่การพัฒนารายกลุ่มรายบุคคล


/

/

/

-การถอดบทเรียนในการปฏิบัติงาน โดยการทบทวนกรณีศึกษาเป็นรายกลุ่มโดยใช้เครื่องมือKM ในการเชื่อมโยงระบบคุณภาพกับการปฏิบัติการพยาบาล ครอบคลุมการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล การรายงานแพทย์โดยใช้หลัก Sbar, การวางแผนการจำหน่าย เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านแบบครบองค์รวม , การประเมิน Pain ,ระบบยา, ระบบ IC ฯลฯ



/

/

แผนการพัฒนา

๕๔

๕๕

๕๖

๕๗

- มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคนพัฒนาจิตในรูปแบบต่างๆ เช่นการประชุมเชิงปฏิบัติการ พฤติกรรมที่สะท้อนค่านิยมและเป็นปัจจัยเสริมแรงจูงใจให้พยาบาลปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายการถอดบทเรียนด้วยเรื่องเล่า กิจกรรมเข้าฐานสร้างสรรค์ ทั้งในและนอกสถานที่ ปีละ ๑-๒ ครั้ง


/

/

/

-มีการจัดระบบพี่เลี้ยงพี่และน้องในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๒ในการคัดเลือกกรณีศึกษา การจัดทำ CQI และนวัตกรรม เพื่อเสนอเป็นผลงานในการขอกำหนดขึ้นดำรงตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จัดทำเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานโยทีมบริหารการพยาบาล



/

/

-การสื่อสารระบบงานที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมโยงการจัดบริการพยาบาลในงานประจำ โดยใช้เครื่องมือ World Café การจัดทำคลังข้อมูลเพื่อการสื่อสารระดับปฏิบัติการ ใน Go to know, .Datacenter



/

/

ผลสำเร็จในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่ม ฯ ในระยะเวลา ๓ ปี

การประเมินทั้งการนิเทศหน้างาน,การสอนเชิงปฏิบัติการ,การเข้าฐาน,การสอบข้อเขียนสามารถแยกระดับขีดความสามารถพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มฯ ในปี ๒๕๕๕ เป็น ๓ ระดับ ( เฉพาะกลุ่มงานการพยาบาล และเวชปฏิบัติชุมชนในโรงพยาบาล )

ระดับ Aคือ กลุ่มที่สามารถปฏิบัติการพยาบาลได้อยู่ในเกณฑ์ ดี และสามารถร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาระบบบริการพยาบาลได้ดี

ระดับ B คือกลุ่มที่สามารถปฏิบัติการพยาบาลในระดับปฏิบัติการภายใต้การชี้แนะจากพยาบาลหัวหน้าเวร พยาบาลพี่เลี้ยง

ระดับ C คือกลุ่มที่สามารถปฏิบัติการพยาบาลได้ภายใต้การควบคุมกำกับของหัวหน้าเวรซึงกำหนดให้พัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลในกลุ่มระดับ C จนกระทั่งผลการประเมินอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจในปี ๒๕๕๖

พยาบาลวิชาชีพที่จบการศึกษาในปี ๒๕๕๔ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ได้ ๑๐๐ % . .ในเดือน ธันวาคม๒๕๕๔

ปี พ.ศ.๒๕๕๕ มีการคัดเลือกพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการที่ผ่านการประเมินระดับ กลุ่ม A เป็นทีมอนุกรรมการพัฒนางานคุณภาพบริการพยาบาลประจำหน่วยงาน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อวางแผนในการพัฒนาระบบคุณภาพบริการพยาบาลในหน่วยงาน

ผลการประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงาน Technical Competencyปีงบประมาณ ๒๕๕๖

งานห้องคลอด

ลำดับ

TechnicalCompetency

ผลประเมิน

๑.

ประเมินสภาพแรกรับ

๘๖.๙๖

๒.

การดูแลหญิงตั้งครรภ์ระยะรอคลอดParthograph ,

การใช้เครื่องมือ Infusion Pump

๘๒.๕๙

๓.

การบรรเทาความทุกข์ทรมาน

๘๒.๗๘

๔.

การทำคลอดปกติ

๘๗.๖๘

๖.

การตัดฝีเย็บ และการเย็บซ่อมฝีเย็บ

๗๘.๓๓

๗.

การดูแลทารกแรกเกิด

๘๐.๕๔

๘.

การทำคลอดท่าก้นกรณีฉุกเฉินและคลอดติดไหล่ กรณีฉุกเฉิน

๗๘.๓๓

๙.

การช่วยแพทย์ทำสูติศาสตร์หัตถการ (การเจาะถุงน้ำ, การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ, การล้วงรก, ขูดมดลูก)

๘๐.๘๔

๑๐.

การดูแลมารดาหลังคลอด และทารก

๘๒.๐๓

การประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงานในงานห้องคลอดพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินยกเว้นการตัดฝีเย็บและการเย็บซ่อมฝีเย็บ ,การทำคลอดท่าก้นกรณีฉุกเฉินและคลอดติดไหล่ กรณีฉุกเฉินจึงได้พัฒนาสมรรถนะในบุคลากรทางการพยาบาลโดยใช้ระบบพี้เลี้ยงโดยพยาบาลที่ชำนาญกว่าในการเย็บแผลฝีเย็บและการช่วยคลอดกรณีฉุกเฉินและคลอดติดไหล่ กรณีฉุกเฉิน

งานอุบัติเหตุ –ฉุกเฉิน

ลำดับ

TechnicalCompetency

ผลประเมิน

๑.

การบริการ ณ จุดเกิดเหตุ

๘๑.๑๑

๒.

การบริการที่ ER

๘๕.๕๕

๓.

การส่งต่อ / จำหน่ายผู้ป่วย

๘๗.๔๑

การประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงานในงานอุบัติเหตุ –ฉุกเฉินพบว่ามีคะแนนประเมินความรู้ และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงาน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

งานผู้ป่วยใน

ลำดับ

TechnicalCompetency

ผลประเมิน

๑.

การพยาบาลเมื่อแรกรับ

๕๙.๕๐

การซักประวัติ และการตรวจร่างกาย

๕๙.๕๐

๓.

การประเมินภาวะสุขภาพต่อเนื่อง กำหนดเป้าหมาย และการวางแผนการจำหน่าย

๕๕.๒๕

๔.

การเฝ้าระวังติดตามภาวะฉุกเฉิน วิกฤตอาการรบกวนและอาการเปลี่ยนแปลงด้วยความรอบคอบ ไม่ประมาท

๕๗.๕๐

๕.

การจัดการภาวะฉุกเฉิน / วิกฤต

๖๑.๕๐

การช่วยเหลือผู้ป่วย และญาติ / ครอบครัวในการเผชิญความเครียด

๕๓.๐๐

๗.

การเตรียม และการดูแลผู้ป่วยรับการตรวจรักษา / ทำหัตถการ ในหน่วยงาน

๕๙.๕๐

การประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงานผู้ป่วยใน พบว่ามีคะแนนความรู้และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ยังต้องพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยมีการนิเทศสอนแนะขณะปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

งานผู้ป่วยนอก

ลำดับ

TechnicalCompetency

ผลประเมิน

๑.

การคัดกรอง

๘๔.๐๐

๒.

การช่วยเหลือเบื้องต้น การบรรเทาความทุกข์ทรมาน

๘๐.๐๐

๓.

การเตรียมผู้ป่วยรับการตรวจฉุกเฉิน และการตรวจรักษา รายงานแพทย์โดยใช้หลัก SBAR

๗๖.๐๐

๔.

การค้นหาสาเหตุ / ปัจจัยส่งเสริมความเจ็บป่วยพฤติกรรม สุขภาพความคาดหวัง และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ

๗๖.๐๐

การวางแผนการดูแลต่อเนื่อง

๗๖.๐๐

๖.

การใช้กระบวนการพยาบาล กับการปฏิบัติการพยาบาล

๗๖.๐๐

การประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงานผู้ป่วยนอก พบว่ามีคะแนนความรู้และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงานไม่ผ่านเกณฑ์ในบางข้อยังต้องพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยมีการนิเทศสอนแนะขณะปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

การประเมินSpecific Competencyการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่สำคัญที่พบบ่อยในรพ.หนองจิก

ปี ๒๕๕๖

ห้องคลอด

ลำดับ

SpecificCompetency

ผลประเมิน

๑.

ความสามารถในการประเมินและช่วยเหลือมารดาตกเลือดหลังคลอด( PPH )

๗๕.๒

๒.

ความสามารถในการประเมินและช่วยเหลือมารดาที่มีภาวะ

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ( PIH )

๗๑.๓

๓.

ความสามารถในการประเมินและช่วยเหลือทารกที่มีภาวะ

ขาดออกซิเจนขณะคลอด ( BA )

๗๕.๒

ผลการประเมินSpecificCompetencyงานห้องคลอด พบว่าความสามารถในการประเมินและช่วยเหลือมารดาPPH ,PIH , BAไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน

โอกาสพัฒนา

๑.การประมวลข้อมูลอาการเปลี่ยนแปลง (Early detrection)ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะในการสังเกตearlywarningsignที่ต้องรายงานแพทย์ทราบทันทีพัฒนาสมรรถนะการรายงานแพทย์โดยใช้หลักSbar

๒.การช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีฉุกเฉินอย่างเหมาะสมจึงได้พัฒนาสมรรถนะ การใช้ยาฉุกเฉิน

ทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ใหญ่และกู้ชีพทารกแรกเกิด

งานอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน

ลำดับ

SpecificCompetency

ผลประเมิน

๑.

ความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ

๘๔.๙๔

๒.

ความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือสำคัญ



๒.๑.EKG

๗๖.๘๙


๒.๒.Defibrilator

๘๐.๓๖

๓.

ความรู้เชิงปฏิบัติการในการช่วยแพทย์ทำหัตถการสำคัญ



๓.๑. ช่วยแพทย์ใส่ ICD

๗๙.๖๔

โอกาสในการพัฒนามีการอบรมเชิงปฏิบัติการ

  • ในการอ่านกราฟ EKGปกติได้และสามารถแปรผล EKGที่ผิดปกติได้โดยเฉพาะST Elevate
  • ฝึกปฏิบัติการช่วยแพทย์ใส่ICDรายบุคคลอย่างน้อย๑ครั้ง / ปีและทบทวนผลการ

ST Depressพร้อมทั้งให้การพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องทันท่วงทีเพื่อให้ผู้รับบริการปลอดภัย

ปฏิบัติงานเมื่อมีหัตถการใส่ICDโดยแพทย์เวรเป็นผู้ประเมิน

งานผู้ป่วยนอก , งานผู้ป่วยใน

ลำดับ

SpecificCompetency

ผลประเมิน

ร้อยละของคะแนนเต็ม

ร้อยละของ

ความคาดหวัง

๑.

ความรู้และทักษะในการประเมิน กลุ่มโรค ACS

๖๔.๖๖

๑๐๐

๒.

ความรู้และทักษะในการประเมิน กลุ่มโรค COPD

๖๘.๒๒

๑๐๐

๓.

ความรู้และทักษะในการประเมิน กลุ่มโรค DM

๖๘.๑๐

๑๐๐

๔.

ความรู้และทักษะในการประเมิน กลุ่มโรค HT

๖๙.๘๐

๑๐๐

ผลการทบทวนพบว่าการประเมินความรู้และทักษะกลุ่มโรคACS ,DM ,HTและCOPD ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกกลุ่มโรค มีการพัฒนาสมรรถนะโดยการถอดบทเรียนจากกรณีศึกษารายกลุ่มและรายบุคคล อย่างต่อเนื่องทุกเดือน

ปีพ.ศ.๒๕๕๖กับผลงานความภูมิใจของการเป็นส่วนหนึ่งของคนชุดสีขาวกับการเป็นผู้ให้ในสังคมปลายด้ามขวานทองของแผ่นดินไทย ในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มภายใต้สถานการณ์ชายแดนใต้

  • รางวัลเรื่องเล่าดีเด่น ในโครงการแรงบันดาลใจสู่คุณค่า คุณธรรม คุณภาพการดูแลที่ยั่งยืน การพยาบาลด้วยใจ เรื่อง“ เมื่อชุดสีขาวของฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของการผู้ให้ ” ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ จากมอ.สงขลานครินทร์จ.สงขลา
  • รางวัลเรื่องเล่าความภูมิใจ “แด่เธออามีนะ ” จากเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองจิก จ.ปัตตานี

( พยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มฯหน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินกลุ่มงานการพยาบาล รพ.หนองจิก จ.ปัตตานี )

ปี พ.ศ.๒๕๕๕ ( พยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่ม ฯ รพสต บ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี )

เดือน พฤษภาคม ปีพ.ศ.๒๕๕๗ พยาบาลวิชาชีพใหม่ในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มฯได้รับการแต่งตั้งเป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการในโรงพยาบาลหนองจิก จำนวน ๒๕ คน

เดือน สิงหาคม ปีพ.ศ.๒๕๕๗พยาบาลวิชาชีพใหม่ในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่มฯได้รับการแต่งตั้งเป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการจำนวน ๓๐ คนและกำลังดำเนินรอการแต่งตั้งเพิ่มอีกจำนวน ๑๐ คน

เดือน ตุลาคม ๒๕๕๗พยาบาลวิชาชีพในโครงการฯ ได้รับการคัดเลือกขึ้นปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าเวรหน่วยงาน ER, IPD และ LR จำนวน ๑๐ คน ( กลุ่ม A )และสามารถดูแลพยาบาลวิชาชีพทีมีความสมารถต่ำกว่าได้

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนางาน
หมายเลขบันทึก: 504819เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2015 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท