คุณภาพ ภาพเอกซเรย์ 2555


การควบคุมคุณภาพของภาพเอกซเรย์ทั่วไป

วันนี้ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอ ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพของภาพเอกซเรย์ทั่วไป ในระบบ DR ก่อนส่งภาพเข้าในระบบ PACs

เนื่องจาก ทางหน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ มข.ได้เครื่องเอกซเรย์ใหม่เพิ่ม เพื่อเป็นการทบทวน การควบคุมคุณภาพของภาพ ก่อนส่งให้แพทย์ห้องตรวจโรคได้ดูภาพ และเพื่อให้รังสีแพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง

ขั้นตอนต่างๆและรูปแบบในการทำงานได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป จึงได้นำเสนอให้รังสีเทคนิคที่สนใจได้เรียนรู้ร่วมกันค่ะ...

ตามมาชมพร้อมๆกันได้เลยค่ะ

ห้องใหม่สดใส กับขั้นตอนการทำงานใหม่

น้องยุ้ย ดัดแปลง ทำช่องใส่ marker

สามารถเลื่อน ขึ้นลง และขยับเข้าออกได้

น้องตุ่น กำลังทำการเปลี่ยน แบตเตอร์รี่ใหม่

แบตเตอรี่ อยู่ด้านหลังของแผ่น cassette ที่เป็นตัว detector ต้องทำการเปลี่ยนทุกๆ 2 ชั่วโมง จะมีการเตือนบนหน้าจอ(ภาพล่าง)แกะออกเปลี่ยนตัวใหม่ และต้องใส่ให้แนบชิด

และนำตัวเก่ามาทำการ charge ใหม่อีกครั้ง

ล่าง จอ monitor ที่ใช้ตั้งค่าเทคนิค และ จอ QC ภาพเอกซเรย์ทั่วไป กับ จอถ่ายภาพ โดยทำการ QC ภาพ ในจอเดียวกัน

หน้าตาของจอ ตั้งค่าเทคนิค จอแรก(ซ้ายมือ)

เมื่อทำการถ่ายเอกซเรย์เสร็จแล้ว ทำการ QC ภาพ ก่อนเรียกตรวจคนต่อไป หรือจะ เอกซเรย์หลายๆคนก่อน แล้วทำการ QC ภาพทีหลังก็ได้แล้วแต่จะสะดวกในขณะทำงาน

เมื่อจะทำการ QC ให้ไปที่จอภาพ คลิก ที่ waiting QA (แถบเขียวภาพล่าง) ในจอที่2 double click เลือก รายการตรวจที่จะทำการ QC จะปรากฎภาพขึ้น

ล่าง โปรแกมการ QC ภาพ อยู่ที่แถบขวามือของภาพเอกซเรย์ ซึ่งแสดงเป็น icon ต่างๆดูเข้าใจง่าย และ สามารถ คลิก เลือกใช้งานตามที่ต้องการ

ขอยกตัวอย่างดังนี้ แถบเขียว(ล่าง) ที่ปรากฎ เป็นการ คลิก icon เพื่อเลือกขนาดของภาพ และ ลากให้ครอบคลุมอวัยวะที่ต้องการ QC

ล่าง การตัดแต่งภาพให้ คลิก icon (แถบเขียวที่ปรากฎ) นำ เม้าส์ วางที่มุมบนภาพ และ ลากเม้าส์ คลุมพื้นที่อวัยวะนั้นๆ

ล่าง การตัดแต่งภาพ โดยตัดเอาพื้นที่สีขาวออกไป

ล่าง เมื่อจะใส่ maker บอกข้าง หลังจากถ่ายภาพเอกซเรย์แล้ว คลิก เลือก icon (แถบเขียว) จะปรากฎ marker

ล่าง เมื่อภาพกลับหัวหรือกลับข้าง คลิก เลือก icon(สีเขียว) เพื่อทำการ flip ภาพให้ถูกต้อง

ล่าง เมื่อต้องการปรับความเข้ม หรือ ลดความเข้มของภาพ คลิก icon QA ด้านล่าง เพื่อปรับ contrast

ล่าง เมื่อเลือกการปรับ contrast ปรากฎวงกลมเล็กๆ ในภาพเอกซเรย์ คลิก เลื่อนเม้าส์เพื่อปรับภาพตามที่ต้องการก่อนส่งเข้าระบบ

ล่าง เมื่อไม่ต้องการส่งภาพใดเข้าในระบบ ให้ คลิก เลือก เครื่องหมาย กากะบาท ที่แถบล่าง(ลูกศรชี้)

ล่าง และ เมื่อต้องการส่งภาพซ้ำอีกครั้ง คลิก เลือก resent ที่แถบล่าง ที่มีตัวอักษร R

การนำเสนอครั้งนี้ เพื่อให้ รังสีเทคนิค ได้เปรียบเทียบการ QC ที่ ทำแบบแยกจอ monitor และ

การ QC ภาพ ในจอถ่ายภาพ จอเดียวกัน ว่า มีความสะดวก หรือ ยุ่งยาก แตกต่างกันอย่างไร.....

สุดท้าย เมื่อทุกคนได้มาลองใช้แล้ว อาจจะเกิดความชอบ กับความไม่ชอบ ที่แตกต่างกันออกไป....

อย่างไรก็ตามขอให้น้องๆทุกๆคนมีความสุขกับการทำงาน กับ เครื่องใหม่ และใช้ให้คุ้มค่า นะคะ...

ขอให้โชคดีทุกๆท่านค่ะ

หมายเลขบันทึก: 504773เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2016 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • โอโหพี่
  • เดี๋ยวนี้ระบบรังสี
  • พัฒนาไปไกลมากๆๆ

ขอบพระคุณ ท่าน อ.ขจิต ที่แวะมาเยี่ยมเยียนทักทายค่ะ ที่นำเสนอเป็นเพียงเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เท่านั้นค่ะ ส่วนเครื่อง เอกซเรย์ชนิดตรวจพิเศษ ได้พัฒนาไปไกลมากๆ จนคนรุ่นเก่า(วัยใกล้เกษียณแบบพี่) ตามไม่ทันแล้วล่ะค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท