จุลสุขาวตีวยูหสูตร ปริเฉทที่ 1 (ตอนที่ 2)


ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาของคัมถีร์ จุลสุขาวตีวยูหสูตร ตัวหนังสือสีเขียว คือ ตัวเนื้อหาคัมภีร์เป็นภาษาสันสกฤต หากไม่สนใจภาษาสันสกฤตก็ อ่านเฉพาะตัวหนังสือสีน้ำเงิน ตัวหนังสือในวงเล็บเหลี่ยม มีการอธิบายทางไวยากรณ์ ส่วนท้ายสุดของหน้า เป็นข้อความจากคัมภีร์สันสกฤต ทั้งอักษรเทวนาครี อักษรไทย และอักษรโรมัน

(ต่อจากคราวที่แล้ว)

ตทฺยถา

        ตทฺยถา เป็นสำนวน หมายถึง ได้แก่, จะพบได้เสมอในคัมภีร์เล่มนี้

        แปลว่า ได้แก่

 

สฺถวิเรณ จ ศาริปุตฺเรณ จ

        สฺถวิเรณ [สฺถวิร : เพศชาย เอกพจน์ การกที่ 3] (พร้อมด้วย) พระเถระ

        จ [อวฺยย] และ. คำว่า จ หมายถึง แปล อาจใช้เชื่อมระหว่างคำ หรือไว้ท้ายสุดของคำทั้งหมด หรือ ตำแหน่งใกล้ๆ คำที่จะเชื่อมนั้นก็ได้ (พูดง่ายๆ ว่า ไว้ตรงไหนก็ได้ ยกเว้นหน้าประโยค) โปรดสังเกตการใช้ต่อไปนี้

        ศาริปุตฺเรณ [ศาริปุตฺร : เพศชาย เอกพจน์ การกที่ 3] (พร้อมด้วย) พระศาริปุตร

        แปล (พร้อมด้วย) พระศาริปุตรเถระ

        อธิบาย. ตอนที่แล้ว กล่าวถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระอรหันต์ คำที่แปลว่า "พร้อมด้วย" คือ นามการกที่ 3 ในตอนนี้ท่านเอ่ยตัวอย่างพระอรหันต์ จึงใช้นามการกที่ 3 เช่นเดิม แต่เป็นเอกพจน์ ซึ่งควรจะแปลว่า “พร้อมด้วย” ตามไวยากรณ์ แต่ในภาษาไทยคงจะเป็นการเยิ่นเย้อ ในที่นี้จึงไม่ใช้คำว่า พร้อมด้วยซ้ำอีก

         ต่อไปนี้เป็นนามพระอรหันต์ แจกการกที่ 3 เหมือนกัน จึงไม่ต้องอธิบายทีละชื่อ ดังนี้

        (เรียงข้อความตามพระสูตร)

 

มหาเมาทฺคลฺยายเนน [พระมหาเมาทคัลยายะ][และ]

มหากาศฺยเปน [พระมหากาศยปะ]                  [และ]

มหากปฺผิเณน [พระมหากัปผิณะ]                   [และ]

มหากาตฺยายเนน [พระมหากาตยายนะ]           [และ]

มหาเกาษฺฐิเลน [พระมหาเกาษฐิเลนะ]             [และ]

เรวเตน [พระเรวตะ]                                      [และ]

ศุทฺธิปนฺถเกน [พระศุทธิปันถกะ]                     [และ]

นนฺเทน [พระนันทะ]                                      [และ]

อานนฺเทน [พระอานนทะ]                             [และ]

ราหุเลน [พระราหุล]                                      [และ]

ควำปตินา [พระความปติ]                               [และ]

ภรทฺวาเชน [พระภรัทวาชะ]                           [และ]

กาโลทยินา [พระกาโลทยิ]                              [และ]

วกฺกุเลน [พระวักกุละ]                                     [และ]

อนิรุทฺเธน [พระอนิรุทธะ]                                [และ]

 

แปลทั้งหมดอีกที

        ...ได้แก่ พระศาริปุตรเถระ  และพระมหาเมาทคัลยายะ  และพระมหากาศยปะ  และพระมหากัปผิณะ  และพระมหากาตยายนะ  และพระมหาเกาษฐิเลนะ  และพระเรวตะ  และพระศุทธิปันถกะ  และพระนันทะ  และพระอานนทะ  และพระราหุล  และพระความปติ  และพระภรัทวาชะ  และพระกาโลทยิ  และพระวักกุละ  และพระอนิรุทธะ.  

        อธิบาย. นามพระอรหันต์เหล่านี้อาจแตกต่างไปจากศัพท์ในภาษาบาลี เช่น พระโมคคัลลานะ, พระมหากัสสัปปะ, พระมหากัจจายนะ เป็นต้น ในที่นี้ประสงค์จะคงรูปศัพท์สันสกฤตไว้ เพื่อผู้อ่านจะัได้เห็นรูปคำศัพท์ และสำนวนภาษาของพระสูตรภาษาสันสกฤต

(อ่านต่อ ตอนต่อไป)


ต้นฉบับ

तद्यथा स्थविरेण च शारिपुत्रेण महामौद्गल्यायनेन च महाकाश्यपेन च महाकप्फिणेन च महाकात्यायनेन च महाकौष्ठिलेन च रेवतेन च शुद्धिपन्थकेन च नन्देन चानन्देन च राहुलेन च गवांपतिना च भरद्वाजेन च कालोदयिना च वक्कुलेन चानिरुद्धेन च।

ตทฺยถา สฺถวิเรณ จ ศาริปุตฺเรณ มหาเมาทฺคลฺยายเนน จ มหากาศฺยเปน จ มหากปฺผิเณน จ มหากาตฺยายเนน จ มหาเกาษฺฐิเลน จ เรวเตน จ ศุทฺธิปนฺถเกน จ นนฺเทน จานนฺเทน จ ราหุเลน จ ควำปตินา จ ภรทฺวาเชน จ กาโลทยินา จ วกฺกุเลน จานิรุทฺเธน จ. (ที่ขีดเส้นใต้คือมีสนธิ)

tad yathā sthavireṇa ca śāriputreṇa mahāmaudgalyāyanena ca mahākāśyapena ca mahākapphiṇena ca mahākātyāyanena ca mahākauṣṭhilena ca revatena ca śuddhipaṁthakena ca naṁdena cānaṁdena ca rāhulena ca gavāṁpatinā ca bharadvājena ca kālodayinā ca vakkulena cāniruddhena ca.

หมายเลขบันทึก: 503983เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2012 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาเยือน ขอบคุณที่แจ้งเรื่อง "ยอกใจ" และ "หยอกจันทร์" นะครับ

ยอกอยู่หลายวัน มาเห็นเข้าพอดี ไล่เลี่ยกันเทียวครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท