เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา&นักศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้<YRU>


..ขอแบ่งปันประสบการณ์การสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษากับนักศึกษาที่น่ารักของครูนะคะ...

"เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา"

.....ขอบคุณ ระบบการเรียนออนไลน์ ClassStart ที่ทำให้มีโอกาสร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในครั้งนี้...

      ส่วนใหญ่จะสอนแต่วิชาเฉพาะด้านบังคับ ให้กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เริ่มการสอนวิชา..หลักการผลิตอาหาร..กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ชั้นปีที่ 4 จำนวน 19 คน โดยใช้ระบบการเรียนออนไลน์ ClassStart แบบเต็มรูปครั้งแรกหลังจากเริ่มทดลองใช้ในภาคเรียนที่ผ่านมา

# เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน #

   นักศึกษาที่สอนเป็นชั้นปีที่ 4 ค่อนข้างมีประสบการณ์ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอยู่บ้าง จึงได้ตกลงกับผู้เรียนว่าเราจะใช้ระบบการเรียนออนไลน์ ClassStart เป็นหลักเนื่องจากมีครบทุกอย่างตั้งแต่คำอธิบายรายวิชา เอกสารประกอบ แบบฝึกหัด บันทึกการเรียนรู้ ที่สำคัญคือ.ข่าวประกาศ.เมื่อเพิ่มข่าวใหม่สามารถแจ้ง e-mailให้ผู้เรียนทราบได้ทันที รวดเร็วทันใจมาก

 

...ขอแทรกเรื่องเล่า..นักศึกษากับประสบการณ์สมัครเป็นผู้เรียนในระบบออนไลน์ ส่วนใหญ่นักศึกษามีเมล์ของมหาวิทยาลัยแต่ไม่ค่อยทันสมัยก็จะใช้เมล์ฟรีทั่วไป พอตกลงร่วมกันว่าจะใช้ระบบออนไลน์ ชั่วโมงแรกที่เรียนก็แบกคอมพิวเตอร์มา เพื่อจะเข้าไปเรียนพร้อมๆกัน มีหลายคนที่สมัครเป็นสมาชิกไม่ได้ สมัครหลายรอบ เริ่มมีเสียงบ่น พอไปช่วยดูปรากฏว่า..ลืมเมล์ที่ใช้เข้าระบบ/ ลืมเปลี่ยนภาษาเมื่อกดรหัสผ่าน/รอจดหมายยืนยันผิดเมล์(มีหลายเมล์จำไม่ได้)/บางคนโวยวายทั้งที่ทำผิด ...แต่ก็ผ่านไปด้วยดีมาใช้ระบบออนไลน์ครบทุกคน...

  นอกจากระบบออนไลน์แล้วบังคับ.ย้ำว่า.บังคับ.ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ ที่ขาดไม่ได้คือ..เวบไซต์..ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อาทิเช่น สมาคมวิทยาศาสตร์ ฯ การอาหารแห่งประเทศไทย(http://www.fostat.org) เพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหววงการอาหาร และสำคัญมากคือ ข่าวการประกาศใช้หรือยกเลิกเครื่องหมายอาหารฮาลาล แนวปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร ที่ http://www.halal.org  หากต้องการติดต่อเร่งด่วนแล้วได้ผลอยู่เสมอต้องใช้ Facebook กลุ่ม  foodscience YRU โพสต์จบกด like ทันที นอกจากนี้ก็มี Youtube สรุปเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารบ้างเป็นระยะ ..


# บทบาทของครูผู้สอนทางออนไลน์และชั้นเรียน #

     บทบาทของผู้สอนทั้งทางออนไลน์และชั้นเรียนเปลี่ยนไปจากเดิมมาก น่าจะเหมือน “ที่ปรึกษา” มากกว่าผู้สอนที่บอกเนื้อหาความรู้ให้ผู้เรียน ๆ ทำหน้าที่จดๆๆๆ เหมือนอดีตกาล ไม่แน่ใจว่าเพราะต้องการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามกฎหมายหรือว่าเป็นผู้สอนที่ทันสมัยเข้าใจวัยรุ่น >__<

    การเข้าชั้นเรียนในวิชาของเราเหมือนกับติดตามการเรียนทางระบบออนไลน์มากกว่า หากนักศึกษามีข้อสงสัย ปัญหาอุปสรรคจากการเรียนในระบบ ผู้สอนจะช่วยแนะนำแต่ให้แก้ไขปัญหาเองก่อนหากไม่ได้ก็ช่วยตามลำดับ


#การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน #  

   การกระตุ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน จะตั้งคำถามแต่ไม่ถึงกับเป็น Problem – based learning แต่เป็นคำถามเพื่อฝึกให้คิดหาคำตอบหรือไปค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน บางครั้งตั้งประเด็นแล้วพอได้คำตอบ..ที่เป็นความเชื่อ..จากนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแล้วขำไม่ออก ต้องนำประเด็นนั้นให้เป็นการบ้านไปช่วยกันค้นหาคำตอบที่ถูกต้องมาถกเถียงกันในครั้งต่อไป การกระตุ้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบออนไลน์ ส่วนมากเป็นการกระตุ้นให้ใช้ระบบออนไลน์ในการค้นคว้าหาความรู้บ่อย ๆ โดยใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น มีเอกสารเรื่องใหม่ในบทเรียนใครอ่านแล้วมาโพสต์ด้วยมีรางวัลนะคะ เข้ามาโพสต์ความเห็นกันมาก... แต่พอให้เขียนบันทึกการเรียนรู้ไม่ยอมทำ ไม่รู้ว่าพอเขียนภาษาไทยมาก ๆ แล้วเกร็ง..กลัวเขียนผิดออกสื่อมันน่าอาย... +__+


#การติดตามและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนทางออนไลน์และในชั้นเรียน #  

   การติดตามและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เราใช้การเรียนในชั้นเรียนเพื่อติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาในการเรียนแบบออนไลน์ซึ่งมีทั้งแบบฝึกหัด งานกลุ่ม งานเดี่ยวของรายวิชาอยู่ในระบบออนไลน์ หากใครส่งงานตามที่กำหนดก็จะได้คะแนน พร้อมคำอธิบายผลงานในแต่ละชิ้นอย่างรวดเร็ว ทราบผลทันทีทันใจวัยรุ่น เด็ก ๆ สนุกสนานเพราะได้ลุ้นคะแนนพร้อมคำแนะนำเพิ่มเติมในงานของตัวเองและของเพื่อนด้วย หากไม่เข้าใจหรือมีปัญหาอื่นใดก็จะนำประเด็นมาพูดคุยแก้ขัปญหาร่วมกันในชั้นเรียน


# ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน#

    ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน คือ

- ความสะดวก ผู้เรียนสามารถทบทวนความรู้ในระบบออนไลน์ได้ตามต้องการ ไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว หากมีข้อสงสัยก็สอบถามในระบบออนไลน์โดยไม่อายใคร ส่วนผู้สอนก็สามารถเพิ่มเติมเนื้อหาสาระดีมีประโยชน์ใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนทราบได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการทันที..ไม่ลืม.. 

- กระตุ้นให้ผู้เรียนก้าวทันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ..หากมีเทคนิคในการค้นคว้าในรายวิชาแล้ว สามารถนำไปใช้ในการทำงานอื่นได้ดีแน่ ๆ ..

# ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน#  

   ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน คือ ระบบอินเตอร์เนตในมหาวิทยาลัยหลังจากฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงจะมีปัญหาบ่อยมาก เพราะมหาวิทยาลัยอยู่ในภาคใต้เจอลมพายุ มรสุม ฯ พัดกระหน่ำอย่างหนักเมื่อไร เราจะมีปัญหานิดหน่อยขาดการติดต่อสื่อสารกันชั่วคราว หลังจากใช้เวลาในการแก้ไขสักวันหรือครึ่งวันก็กลับมาใช้ได้เหมือนเดิมไม่มีปัญหา

......................................

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านจนจบนะคะ

บันทึก ณ ใต้สุดสยามเมืองงามชายแดน <ยะล๊า ยะลา>

วันที่ 27 กันยายน 2555  เวลา 14.15 น.

.............

หมายเลขบันทึก: 503723เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2012 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เยี่ยมมากเลยครับ
  • ขอชื่นชม
  • คนใกล้ตัวเป็นอย่างไรบ้างครับ

ขอบคุณ กำลังใจจากทั้งสองท่านคะ

อาจารย์ขจิต-- อาจารย์อ๊อด สบายดีคะ งานยุ่งไปเรื่อยไม่ได้หยุดคะ

               -- เหตุการณ์ทั่วไปของคนยะลาปกติ ขอบคุณมากๆๆนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท