การเรียนการสอนที่ต้องปรับไปตามยุคตามสมัย


ช่วงแรกนี้มีเด็กที่สามารถเขียนและพยามสื่อสารข้อมูลผ่านทาง blog กับผู้สอน มีการตอบสนองที่ดีมาก (มากกว่า 80 เปอร์เซนต์)

   ผมเห็นหัวข้อ สรอ. ขอความรู้: บอกเล่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในชั้นเรียน มาหลายวันแล้วตั้งใจว่าพอปิดครอสการเรียนการสอนเสร็จก็จะมานั่งเขียนบันทึกเรื่องนี้ การเรียนการสอนในเทอมที่ผ่านๆ มาในระดับปริญญาตรีทั้งในห้องเรียนรวมขนาดใหญ่และขนาดเล็กไม่กี่คนก็ยังมีปัญหาในการเรียนคล้าย ๆ กัน ในเรื่องของการที่เด็กไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน เข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ เข้าเรียนสายและอื่นๆ อีกมากมายซึ่งเป็นปํญหาที่เกิดขึ้นเกือบทุกที่ทุกคณะ  ถึงแม้นว่าจะมีการนำ VDO หรือสารคดีที่เกี่ยวข้องมาประกอบก็ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจจากนิสิตเท่าที่ควร มาเทอมนี้จึงตั้งใจว่าจะทำการทดลองใช้ Blog มาช่วยในการเรียนการสอน โดยเริ่มกับคลาสเล็กๆ เด็ก 15 คนเป็นนิสิตชั้นปี 3-4 โดยใช้ห้องบรรยายเป็นห้องคอมพิวเตอร์ของภาควิชา ในช่วงแรกเด็กจะให้ความสนใจและเรียนรู้ไปกับผู้สอนได้ดีมาก ๆ สามารถตอบคำถามจากผู้สอนได้อย่างรวดเร็วและมันใจขึ้น โดยที่ผู้สอนถามคำถามให้คิดหรืออธิบายความหมาย ถ้าเด็กตอบไม่ได้ก็จะให้เปิดหาจาก Internet ได้โดยตรง นิสิตทั้งหมด 15 คนนี้จากการสังเกตุของผู้สอนพบว่ามีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ดีมาก (ดีกว่าผู้สอนเสียอีก... สงสัยต้องไปเรียนเพิ่มเติมซะแล้ว...) จากนั้นผู้สอนจะให้การบ้านโดยให้ไปหาข้อมูลแล้วมาเขียนผ่าน Bolg ที่สร้างขึ้นมา(Blog ของ Gotoknow) ในช่วงแรกนี้มีเด็กที่สามารถเขียนและพยามสื่อสารข้อมูลผ่านทาง blog กับผู้สอน มีการตอบสนองที่ดีมาก (มากกว่า 80 เปอร์เซนต์) โดยผู้สอนจะเข้าไปคอมเมนต์และให้คำถามต่อเนื่องกันไปเพื่อให้นิสิตได้คิด-ค้นต่อ เมื่อผ่านมาสักครึ่งทาง(เทอม) นิสิตเริ่มให้ความสำคัญต่อการเขียน Blog น้อยลง (ช่วงนี้ผู้สอนได้ลาหยุดยาวประมาณ 20 วัน) อีกทั้งได้รับการแจ้งจากผู้ดูแลระบบข้อให้ไปใช้โปรแกรมการเรียนการสอนที่มีให้ (ClassStart.org ฟรี! สร้างชั้นเรียนออนไลน์) ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความต่อเนื่องของการเรียน ซึ่งผู้สอนเองตั้งใจว่า มีครูมากมายใน Blog ที่สามารถช่วยเราสอนได้ อีกทั้งการได้รับ ดอกไม้ คำชม หรือคำแนะนำจากผู้อื่นที่ไม่ใช่อาจารย์จะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นิสิตได้รับความรู้มากขึ้นจากมุมมองของคนอื่นที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน และมีกำลังใจในการเขียน bolg มากขึ้น อีกทั้งทุกคนในกลุ่มสามารถที่จะเข้าไปอ่านข้อมูลและแสดงความคิดเห็นได้สะดวก 

     

    เมื่อนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาแจ้งต่อนิสิต ปรากฏว่านิสิตกับเป็นผู้เสนอผู้สอนว่าน่าจะลองใช้โปรแกรม facebook โดยตั้งเป็นกลุ่มผู้เรียน ผู้สอนเลยปฏิบัติตามมติของนิสิตทันที่ แต่เมื่อเริ่มต้นการใช้งานก็มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับระบบ ช้าและหลุดบ่อย หรือเข้าใช้งานไม่ได้ อีกทั้ง ตัวหน้าจอของโปรแกรมก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้ ในการเรียนการสอน จึงต้องหยุดวิธีการเรียน(นอกเวลาและการบ้าน) ผ่านทาง facebook แต่จากการสังเกตุพบว่าเด็กทั้งหมดมี facebook เป็นของตัวเองและสามารถที่จะเล่นหรือสื่อสารได้ดีกว่าผู้สอนเสียอีก (ผู้สอนตกยุคเสียแล้ว)

  

    อีกส่วนหนึ่งที่ผู้สอนได้สั่งงานให้นิสิตที่ไปทัศนศึกษาส่งงานเป็น VDO หรือคลิป บรรยายสถานที่ ข้อมูล ความรู้และความประทับใจ (โดยจุดประสงค์ก็คือ อยากให้นิสิตได้ฝึกการใช้เทคโนโลยีต่างๆ และโปรแกรม ที่ใช้ในการตัดต่อภาพ ตัดต่อ VDO มาใช้ประกอบการรายงาน บรรยายหรือสัมนา ซึ่งไม่มีการเรียนการสอนให้สำหรับเด็กชีววิทยา)  จากการไปทัศนะศึกษาพบว่านิสิตมีความสนใจมากขึ้นหลายเท่า ไตร่ถามและถ่ายภาพทั้งเป็นคลิปและภาพถ่าย  (โดยที่อาจารย์ผู้สอนไม่ต้องกระตุ้นเลย)  ในชั่วโมงสุดท้ายของการเรียนการสอน ผู้สอนได้ดูผลงานของนิสิตที่จัดทำเป็น VDO สั้นๆ เวลาประมาณ 10-15 นาที พบว่า นิสิตสามารถทำได้ดีเกือบทุกกลุ่ม (8 กลุ่มๆละ 2 คน เศษ 1) จากนั้นให้นิสิตกลับไปแก้ไขบ้างส่วนที่ไม่ชัดเจนหรือยังไม่เรียบร้อย(ส่งวันจันทร์หน้า 24 ก.ย. 2555 : จะนำมาลงให้วันหลังครับ) และถ้าได้แล้วก็จะส่งลงใน Youtube (เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำของนิสิตและอาจารย์ ซึ่งทุกๆ คนก็เห็นชอบด้วย)

      

    เมื่อผ่านการเรียนการสอนผ่านพ้นไป ปัญหาและข้อดีที่เกิดขึ้นจากการสังเกตุของผู้สอนพบว่า

     1. นิสิตบางคนเปิดหน้าต่างเพื่อข้อมูลมาตอบคำถามขณะเรียน ต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ทำให้การเรียนการสอนช้ากว่าเดิมเล็กน้อย แต่ก็สามารถชดเชยได้จากการที่เด็กสนใจในการเรียนตลอดถึงแม้นจะใช้เวลาในการเรียน 2-3 ชั่วโมงก็ตาม ไม่มีเด็กหลับหรือเบื่อหน่าย

      2. ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่สอนได้กว้างขึ้น จากการสืบค้นของนิสิตและเนื้อหาที่นิสิตได้รับจาก internet ที่มีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามผู้สอนได้โดยตรง อีกทั้งนิสิตเองยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ผู้สอนบรรยายมากขึ้นด้วย แต่ขณะเดียวกันก็มีนิสิตบางคน ไปดูหน้าต่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น ดารา บันเทิงหรือ facebook เป็นบางครั้ง

      3. ถ้าเปิด vdo สารคดีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน พร้อมใช้งานทางด้าน internet นิสิตจะไม่ค่อยสนใจ vdo  ดังนั้น ในห้องคอมพิวเตอร์เหมาะสมที่จะสอนบรรยายมากกว่า

      4. เด็กในปัจจุบันมีความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีมากกว่าครูผู้สอน (สาขาอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เช่น ชีววิทยา เป็นต้น)

      5. นิสิต ต้องการสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้น ความรวดเร็วของตัวกระตุ้น และชอบสิ่งแปลงใหม่

      6. การเรียนการสอนแบบนี้เหมาะสำหรับนิสิตจำนวนไม่มาก (15 คน)

      7. น่าจะมี Blog ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่สามารถให้ครู - อาจารย์จากที่ต่าง ๆ ใน Blog มาช่วยสอน ช่วยดูแลเด็ก ครับ

คงพอแค่นี้ก่อนนะครับ เดี่ยววันหลังจะนำผลงานของเด็กมาให้ชมครับ

          

หมายเลขบันทึก: 503067เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2012 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชื่นชมค่ะ สวยทั้งภาษา วิธ๊การและภาพประกอบค่ะ

ยอมรับจริงๆว่าทุกวันนี้เด็กนักเรียน นักศึกษานั้นเรา uncontrol เขาจริงๆ เราต้องรู้เท่าทันยุคเขา ไม่งั้นคุยกันไม่รู้เรื่องจริง อย่าว่าแต่คุณครูเลย ชลัญเป็น พบ.นี่ เวลาสอนเขาที่มารับบริการที่รพ.เราก็ต้องปรับให้ทันยุค เขาเช่นกัน ขอบคุณค่ะบทความดีๆ วิเคราะห์ได้ละเอียด มาก ชอยกล้วยไม้สวยจัง ที่บ้านชลัญตอนนี้ เดสมอเร่หมดแล่วค่ะ

ขอบคุณท่าน ดร. สุทิพย์ เป้งทอง ที่ให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับ พยามาร หัวเหลือง อิอิ... วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คนที่เป็นครูอาจารย์ก็ต้องปรับตามให้ทัน จริง ๆ แล้วไม่ใช่เฉพาะครูอาจารย์ แต่ต้องเป็นทุก ๆ สาขาอาชีพ และที่สำคัญคือ พ่อ-แม่ ที่จะต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเพื่อที่จะสอนลูกหรือป้องกันเขาจากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งทางตรงและสิ่งที่แอบแฝงเข้ามาในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้นำมา
ลูกศิษย์ก็เปรีบเหมือนลูก 1/3 ส่วน เป็นเหมือนญาติที่อยู่ในสังคมที่เรา(ครู-อาจารย์) ต้องช่วยกันดูแลและสั่งสอนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรม ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะทำให้ชีวิตของลูก(ศิษย์)เรา มีความสุขได้ท่ามกลางสังคมที่มีความยุ่งเหยิง ครับ การได้เห็น ชลัญธร และ bloger หลาย ๆ คนใน gotoknow มีความกระตือรือร้นที่ตั้งใจทำงานทั้งภายนอกและภายในกาย ก็เป็นแบบอย่างที่ดีมาก ๆ ของสังคม ทำให้ทุก ๅ คนที่เข้ามาได้เรียนรู้และซึมซับความตั้งใจของเหล่า bloger กลับไป

วันนั้นเรียน lab อยู่เห็นอาจารย์เดินมาสอนที่ห้องคอมพิวเตอร์ด้วย ใช่ห้องที่อาจารย์เล่าให้ฟังด้านบนรึป่าวครับ

เป็นมุมคิดที่น่าสนใจมากครับ

ใช่แล้ว เบียร์ เมื่อไรจะเขียนบันทึกบ้างล่ะ

ขอบคุณครับท่าน ทิมดาบ

อาจารย์มีความตั้งใจจริงในการสอนมากเลยค่ะ สังเกตการตอบสนองของนักศึกษาและปรับรูปแบบเสมอ เป็นสิ่งที่นอกจากต้องมีเมตตาแล้วยังต้องใช้ทั้งความละเอียดและความอดทนนะคะ ขอชื่นชมค่ะ

ภาพดอกกล้วยไม้สวยมากๆ ดูแล้วสดชื่นจังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท