วิชาขยะศาสตร์ 101


zero-waste เกิดขึ้นได้ยาก หากคนยังใช้สิ่งของแบบไม่ตระหนักว่าการเสพทุกสิ่งเป็นการปล่อยของเสียไปในตัว......................................................................

 

          วารสาร Science ฉบับวันที่ ๑๐ ส.ค. ๕๕ มีส่วนแทรกพิเศษเรื่อง Working with Waste   และในนั้นมีเรื่อง Garbology 101 : Getting a Grip on Waste ที่ให้มุมมองใหม่เกี่ยวกับขยะแก่ผม

 

          ช่วยให้ผมได้รู้จัก waste pyramid ซึ่งมี ๖ ชั้น  ไล่ลงจากชั้นบนสุดคือ waste prevention, minimization, reuse, recycling, energy recovery, disposal

 

          เขาเล่าเรื่องขยะของ Montgomery County, รัฐ แมรี่แลนด์   เมืองคนฐานะดี ๑ ล้านคน   ที่ทำให้เกิดขยะ ๑.๓๔ ล้านตันในปี พ.ศ. ๒๕๕๔   เขาติดตามขยะทุกชิ้นว่าเกิดที่ไหน เดินไปไหนบ้าง   เขาจึงมีข้อมูลมหาศาลเกี่ยวกับขยะกลุ่มที่เขาเรียก MSW (Municipal Solid Waste)  

 

          เขาบอกว่า สหรัฐฯ สร้างขยะปีละ ๑๒,๐๐๐ ล้านตัน  เป็น MSW ๓๕๐ ล้านตัน   ที่เหลือเป็น ขยะที่มองไม่เห็น (invisible waste) ได้แก่ ขยะที่เกิดจากการทำเหมือง การทำฟาร์ม การสร้างถนน การสร้างอาคาร และอุตสาหกรรม   ขยะที่เป็นของเสียจากคน  รวมทั้งที่เป็นมลพิษที่ลงไปในแหล่งน้ำ และในอากาศ 

 

          วิธีการจัดการขยะของ Montgomery County ได้รับการยกย่องมาก   แต่วิธีกำจัดขยะโดยการเผาที่ใช้อยู่ก็เป็นที่ตำหนิ   เพราะว่าในสหรัฐอเมริกามีพื้นที่มาก ส่วนใหญ่จึงนิยมกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ  

 

          ขยะของ Montgomery County จัดการโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ   มีการแยกขยะ และเอาไปจัดการเผาในโรงงานแบบ waste-to-energy   ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะที่เอาไปฝังกลบลงถึงร้อยละ ๙๐   แต่กลุ่มสิ่งแวดล้อมคัดค้านหลักการ waste-to-energy   ด้วยเหตุผลว่ามี negative net impact ต่อสิ่งแวดล้อม   คือมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์

 

          พวกที่อยากได้พลังงาน เน้นเอาขยะไปสร้างพลังงาน   พวกเน้นสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องการให้การจัดการขยะนำไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์

 

          บทความเล่านวัตกรรมในการจัดการขยะแบบไฮเทค หลากหลายความพยายาม   โดยเป้าหมายสำคัญที่สุดของการจัดการขยะคือ zero-waste movement   ซึ่งผมมีความเห็นว่าไม่มีทางทำได้หากการจัดการนั้นไม่เริ่มตั้งแต่การวางแผนใช้วัตถุสิ่งของต่างๆ   ให้ใช้อย่างประหยัด เมื่อมองจากมุมของการจัดการขยะ   ผมไปออสเตรเลียระหว่างวันที่ ๓ - ๘ ก.ย. ๕๕   ไปเห็นที่นครซิดนีย์ บริเวณ Darling Harbour ที่ผมไปพักอยู่ มีก๊อกน้ำสาธารณะที่เขียนว่า refill water ซึ่งคงจะหมายถึงน้ำสำหรับบรรจุกระติกน้ำดื่ม   มาตรการเช่นนี้จะลดปริมาณขยะขวดปลาสติกลง   เป็นมาตรการเสริมกับขบวนการส่งเสริมการใช้กระติกน้ำประจำตัว  

 

           zero-waste เกิดขึ้นได้ยาก หากคนยังใช้สิ่งของแบบไม่ตระหนักว่าการเสพทุกสิ่งเป็นการปล่อยของเสียไปในตัว   ดังนั้นจึงควรเก็บภาษีค่าจัดการขยะ บวกเข้าไปกับสินค้าทุกชนิด  

 

          waste pyramid ไม่เพียงพอต่อการจัดการขยะสู่สภาพ zero-waste   ต้องการ waste tax เข้าช่วย

 

          นี่คือความคิดของผม   ซึ่งเหมาะสมหรือไม่ ก็ไม่ทราบ

 

 

 

วิจารณ์ พานิช

๙ ก.ย. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 502775เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2012 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

...ขยะ..จะไม่ใช่..ของเสีย.ทิ้งไป..ไม่มีคุณค่า.ในความทรงจำของคนต่อไป....ใน..อนาคต..เพราะ..ขยะ..มีมูลค่า..ขยะ..ถูก..รีไซลเคล..กลับมาเป็นเงินเป็นทอง..อีกครั้งบางประเทศทำวิจัย..ในเรื่องที่จะผลิตน้ำมันจากขยะๆในยุโรป..ถูกเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้า..แม้ขยะที่ถูกทิ้ง..เน่า..ก็เป็นที่สิงสู่..ของคน..และสัตว์..มีปรากฏอยู่ให้เห็นจนเป็นเรื่อง.ธรรมดา..ธรรมชาติ..ไปเสียแล้ว...ภาษีขยะ..ในยุโรป..ก็มีอยู่ทั้งตรงและอ้อม..เช่นเดียวกับบ้านเรา..แต่..ที่เมืองไทย...เราเสีย..ค่าเก็บขยะให้เทศบาลแล้ว..แต่..จะต้องเสียอีกครั้งกับ..คนเก็บขยะ..ให้เขาทำหน้าที่ให้เข้มแข็งกว่าเดิม..อ้ะ...(ยายธี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท