อาการพริกใบหงิกเกิดจากเชื้อราหรือกลุ่มแมลงปากดูด


ปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงที่พบมากในพริกนอกจากเรื่องโรคกุ้งแห้ง (แอนแทรกโนส), รากเน่าโคนเน่าแล้วก็ยังมีโรคใบหงิก ซึ่งมีสาเหตุที่เกิดได้จากในหลายๆ สาเหตุ

พริกจัดเป็นพืชที่ปลูกกันอยู่ไม่น้อยในประเทศไทย มีทั้งกลุ่มพริกขี้หนู, พริกใหญ่หรือพริกชี้ฟ้า, พริกหยวกและพริกหวาน ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่ก็จะบริโภคภายในประเทศเสียส่วนมาก ที่เหลือก็ส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น, ยุโรปและอเมริกา  การเจริญเติบโตของพริกมีทั้งแบบเลื้อย, ต้นตั้งและแบบพุ่ม ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคมักจะได้ผลผลิตจากการปลูกแบบชนิดตั้งต้นและแบบพุ่ม  ชอบอากาศอยู่ที่ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ฉะนั้นจึงสามารถปลูกได้เกือบทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย ในแถบที่อากาศร้อนมากเกินก็อาจจะทำให้ผลผลิตลดต่ำลง เกิดจากการสูญเสียหลุดร่วง เพราะพริกไม่ชอบอากาศที่สูงมากเกินไป

ปัญหาเกี่ยวกับโรคและแมลงที่พบมากในพริกนอกจากเรื่องโรคกุ้งแห้ง (แอนแทรกโนส), รากเน่าโคนเน่าแล้วก็ยังมีโรคใบหงิก ซึ่งมีสาเหตุที่เกิดได้จากในหลายๆ สาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านหรือเกษตรกรที่พบโรคนี้แล้วมักจะได้รับคำแนะนำให้ขุด ถอน โค่นทิ้งทำลายให้ห่างไกลจากพื้นที่เพาะปลูก หรือนำไปขุดกลบฝัง เผาไฟ เนื่องด้วยกลัวเชื้อไวรัสที่ก่อปัญหานั้นจะลุกลามแพร่ระบาดไปทั่วทั้งแปลงหรือสวน ดังนั้นเมื่อพบปัญหาใบหงิกชาวบ้านที่ตั้งใจจะต่อสู้กับโรคใบหงิกนี้ก็มักจะประสบพบเจอกับผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มากหน้าหลายตาและมักจะบอกปัญหาที่ไม่ตรงประเด็นส่วนใหญ่จะแจ้งว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับเชื้อรา ทำให้สูญเสียเงินตราโดยหารู้ไม่ว่าถ้าเป็นโรคใบหงิกที่เกี่ยวกับไวรัสนั้น ไม่สามารถทำให้หายขาดได้นอกเสียจากการสร้างภูมิคุ้มกันหมั่นดูแลให้ต้นและผนังเซลล์แข็งแกร่งจากการเพิ่มธาตุเสริมประโยชน์อย่างซิลิก้าเข้าไป (พัชนี ชัยวัฒน์. 2544; ผลของซิลิก้าในต้นข้าวต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล : วารสารวิชาการเกษตร.สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) งานวิจัยนี้ได้พูดถึงการเพิ่มปริมาณซิลิก้าให้แก่ต้นข้าวให้มากถึง 100 – 200 ppm. จนทำให้การอยู่รอดของเพลี้ยและกลุ่มแมลงปากดูดทั้งหลายลดน้อยถอยลง สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปสืบค้นกันได้ตามแหล่งอ้างอิงที่ให้ไว้นะครับ

สำหรับปัญหาเรื่องพริกใบหงิกนั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีสาเหตุเกิดมาจากเชื้อรา แต่ปัญหามาจากกลุ่มของแมลงปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่น (ญาติเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล), แมลงหวี่ขาว, เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยแป้งรวมถึงเพลี้ยไฟไรแดง กลุ่มของแมลงปากดูดเหล่านี้สามารถป้องกันรักษาได้ด้วยการใช้กลุ่มสมุนไพร อย่างเช่นขมิ้นชัน, ไพล, ฟ้าทะลายโจร, ตะไคร้หอมและกานพลู (ชื่อการค้า “ไทเกอร์เฮิร์บ)ทำการเปลี่ยนแปลงรูปรสกลิ่นให้ไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจลดจำนวนการเข้าทำลาย และกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเพลี้ยได้อย่างชัดเจนคือ เชื้อราบิวเวอร์เรียและเชื้อราเขียวเมธาไรเซียม (ชื่อการค้า “ทริปโตฝาจ”) ให้ใช้ในอัตรา 20 กรัมและ50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุกๆ 7 วันเมื่อพบเจอกลุ่มของแมลงปากดูดระบาดและทางดินควรใช้กลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (ชื่อการค้า พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) ที่ให้แร่ธาตุซิลิก้าเพื่อให้พริกสามารถดูดกินจากทางดินขึ้นไปสะสมที่ผนังเซลล์ จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องพริกยอดหงิกและปัญหาเรื่องไวรัสให้ลดลงได้

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 502703เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2012 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท