คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน...?


บทเรียนของผู้ใหญ่ลีน่าจะได้มีการทบทวน

       เคยได้ยินได้ฟังวลีและเรื่องราวการบอกเล่าของนักพัฒนา  ที่บอกต่อๆ กันถึงประสบการณ์การทำงานและวิธีการทำงานแก่คนรุ่นต่อๆ ไป ผ่านงานเขียน และการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ มากมาย  เรื่องแล้วเรื่องเล่า  คนแล้วคนเล่า ต่างก็มีเรื่องราวและเทคนิควิธีแตกต่างหลากหลายกันไป  ตามวิถี บริบท หรือสถานการณ์และกาลเวลา

       "คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน"  หลายท่านคงเคยได้ยินและคงเข้าใจในความหมายของคำนี้ดี  นัยที่ว่าการจะคิด จะทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในที่ใดที่หนึ่งนั้น แนวทางหรือแนวคิดน่าจะมาจาก "คน" ที่อยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้มีส่วนในการกำหนดทิศทาง  หาใช่เป็น"คนนอก" ที่จะเป็นผู้กำหนดหรือสั่งว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แต่เพียงผู้เดียว....ความหมายน่าจะประมาณนี้นะครับ

       มาระยะหลังๆ นี้ ได้เคยพบเจออีกแนวคิดหนึ่งที่บอกว่า "คำตอบไม่ได้อยู่ที่หมู่บ้าน" เพราะว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไป  การเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านของโลกเรานั้นรวดเร็วมาก  ทิศทางที่จะเป็นคำตอบนั้นไม่น่าจะอยู่เพียงแต่ "ข้างใน" เสมอไป

       ผมคงไม่มีความสามารถที่จะเสนอแนวทางอะไรในบันทึกนี้ เพราะเป็นเพียงคนเล็กคนน้อย ในสังคมของการทำงานที่เกี่ยวกับด้านนี้  แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานมาบ้างและอยากจะบันทึกเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนก็คือ คำตอบไม่ได้อยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างตายตัว น่าจะต้องผสมผสานระหว่าง "ใน" กับ "นอก" อย่างสร้างสรรค์  เพราะเราไม่สามารถที่จะ "หยุด" การเปลี่ยนแปลงและภาวะคุกคามของกระแสของกิเลสของคนที่แผ่กระจายไปทั่วทุกมุมของโลกที่มาจากภายนอกได้

         และในทางกลับกันเราก็ไม่น่าจะมองข้ามพื้นที่หรือชุมชนที่เราจะต้องรักษาไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ทันได้สร้างภูมิคุ้มกันไว้ก่อน  จนส่งผลกระทบเกิดปัญหาไปในทุกๆ ด้านอย่างที่เราพบเห็นอยู่เกลื่อนในปัจจุบัน...บทเรียนของผู้ใหญ่ลีน่าจะได้มีการทบทวน

         คงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะต้องออกแรง กำหนด และทำงานกันตามภาระ หน้าที่ บทบาทของแต่ละคน เล็ก-ใหญ่-มาก-น้อย ก็ตามกำลังที่มี  มองทั้ง "ใน"และ"นอก"  อย่างมีสติและรู้เท่าทัน  ศึกษาข้อมูลและเรียนรู้อย่างรอบคอบ..รอบด้าน  มองอนาคตไปให้ไกลๆๆ..แล้วค่อยๆ รับ-ปฏิเสธ  หรือประยุกต์ปรับใช้อย่างเหมาะสม....

.....ความเจริญบางครั้งก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าสัมผัส 

.....ความล้าสมัยบางครั้งก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย 

.....ความทันสมัย...บางครั้งก็ไม่ใช่การพัฒนา

.....ฯลฯ.....

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

สิงห์ป่าสัก

18 กันยายน  2555

หมายเลขบันทึก: 502643เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2012 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2012 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • พี่สิงห์
  • หายไปนาน
  • น้ำท่วมไหม
  • ตอนแรกเหมือนจะอ่านหนังสือคุณหมอท่านหนึ่งบอกว่าคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน
  • แต่ชอบอันนี้
  • .....ความเจริญบางครั้งก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าสัมผัส 

    .....ความล้าสมัยบางครั้งก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย 

    .....ความทันสมัย...บางครั้งก็ไม่ใช่การพัฒนา

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • ไม่ได้หายไปไหนครับ
  • ยังอยู่ที่เดิม..แต่ว่ากำลังตกผลึก..
  • อิอิ
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ 

.".ความเจริญบางครั้งก็เป็นสิ่งไม่น่าสัมผัส."..เพราะมัน..เจริญลง...อ้ะะๆๆ...ยายธี

พี่โอ๋อ่านแล้วคิดถึงคำว่า"ยืดหยุ่น"นะคะ มองเห็นชัดว่าคนที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาต้องมีความคิดที่ยืดหยุ่น ไม่สุดโต่ง รู้จักการประนีประนอม รู้จังหวะการรุกการรับ พี่โอ๋เชื่อว่าคุณยุทธมีตัวอย่างให้เราได้อ่านมากมายค่ะ พี่โอ๋ชื่นชมบทบาทของคุณยุทธต่อชุมชนเสมอมาค่ะ อยากให้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนที่เป็นตัวเชื่อมภาครัฐกับภาคประชาชน คิดได้ ทำได้แบบคุณยุทธกันได้เยอะๆนะคะ

  • แม่นแล้วครับ ยายธี
  • ความเจริญทำให้คนลำบากกว่าเดิม
  • เพราะพึ่งตนเองได้น้อยลงๆๆ

 

  • สวัสดีครับพี่โอ๋
  • มีหลายๆ อย่างที่สังคมบ้านเรากำลังเดินผิดทาง
  • คงต้องหลงไปอีกนานกว่าจะนึกขึ้นได้
  • ก็จะพยายามสร้างควาามเข้มแข็งให้กับชุมชน/ท้องถิ่น
  • เท่าที่จะพอมีกำลังและทำได้
  • แต่งานพัฒนาต้องใช้เวลาๆๆๆ มาก
  • ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท