ปลูกข้าวใส่ปุ๋ยไม่งาม เพราะไม่เคยสอบถามดิน


โดยแท้จริงแล้วเท่าที่สังเกตุและวิเคราะห์เนื้อดินส่วนใหญ่ ปัญหาที่พบไม่ได้อยู่ที่ปุ๋ยเคมีแต่กลับเป็นเรื่องของดินมากกว่า

 

ได้มีโอกาสพูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลางทั้งจังหวัดอ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรีและอยุธยา ปัญหาที่ได้ทราบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการใส่ปุ๋ยแล้วข้าวไม่งาม ลองสอบถามเพิ่มเติมว่าที่ปลูกข้าวมาอย่างยาวนานนี้ได้มีการตรวจสอบค่าความเป็นกรดและด่างของดินบ้างหรือไม่ คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละเก้าสิบคือ "ไม่" ไม่มีการตรวจตรวจวัดกรดด่างของดินเลยแม้แต่น้อย นอกเสียจากว่าอยู่ในกลุ่มหัวไวใจสู้ ที่มีญาติศรีพี่น้องทำงานเป็นเจ้าหน้าที่หมอดินหรืออยู่ในกลุ่มที่มีการร่วมกิจกรรมประชุมสัมมนาแก้ปัญหาด้านการเกษตรแบบปลอดสารพิษกับผู้นำหรือปราชญ์ชาวบ้าน จึงทำให้ชาวบ้านหรือเกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้ความใจในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับดินแต่กลับไปมองหรือโทษเรื่องคุณภาพปุ๋ยเสียมากกว่า
 
การท่ีดินผ่านการใส่ปุ๋ยเคมีที่ส่วนประกอบที่เป็นกรดสะสมตกค้างอยู่ในดิน ยิ่งมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากกว่ายี่สิบหรือสามสิบปีด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึง จะมีกรดที่สะสมอยู่ในดินทำให้ดินถูกทำปฏิกิริยากลายเป็นกรด ยิ่งเป็นกรดมากยิ่งทำให้ข้าวไม่ได้รับปุ๋ย ไม่กินปุ๋ย คือใส่ปุ๋ยไม่ว่าจะเพิ่มมากเท่าใดดินก็ไม่มีการสนองตอบต่อการใส่ปุ๋ย ต้นข้าวจะไม่แสดงอาการที่มีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นจะคงหยุดนิ่งเหลืองซีดไม่เขียวชอุ่มพุ่มสลวยอวยช่ออวดชาวไร่ชาวนา ปัญหาตามมาคือมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้นจากเดิมเข้าไปอีกเพราะคิดว่าปุ๋ยเคมีมีคุณภาพด้อย มีแร่ธาตุสารอาหารน้อยกว่ามาตรฐานบางคนอาจคิดไปไกลเฉไฉว่าเป็นปุ๋ยปลอมก็มี
 
โดยแท้จริงแล้วเท่าที่สังเกตุและวิเคราะห์เนื้อดินส่วนใหญ่ ปัญหาที่พบไม่ได้อยู่ที่ปุ๋ยเคมีแต่กลับเป็นเรื่องของดินมากกว่า เพราะการที่ดินเป็นกรดจะทำให้ดินสูญเสียประสิทธิภาพในการกักเก็บไนโตรเจนทำให้ไนโตรเจนสูญเสียไปโดยง่ายและความเป็นกรดของดินยังทำให้เหล็ก ทองแดง แมงกานีส ละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อระบบรากและใบพืชทำให้เกิดอาการใบไหม้และไม่ตอบสนองต่อการดูดกินแร่ธาตุสารอาหารชนิดอื่นๆด้วย จึงทำให้ผลลัพธ์ของการใส่ปุ๋ยของเกษตรกรดูแล้วไม่ได้ผล วิธีการแก้ไขปัญหาข้าวไม่กินปุ๋ยโดยการใช้โดโลไมท์ 20 กิโลกรัมร่วมกับพูมิชซัลเฟอร์ 20 กิโลกรัมหว่านกระจายให้ทั่วแปลงนาพื้นที่ 1 ไร่ ใส่ทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยวเตรียมเทือกจนกว่าค่าพีเอชของดินจะกลับมาอยู่ในช่วงที่เหมาะสมคือ 5.8-6.3 
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 502184เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2012 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท