แนวคิดกำแพงแบบใหม่เพื่อป้องกันน้ำท่วมและลดรถชนกัน


กำแพงกันน้ำท่วมเอนกประสงค์

 

เมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ปี ๕๔ ผมได้เขียนบทความเสนอให้มีการสร้างกำแพงคอนกรีต (อ่านว่า คอน-กรีด) กันน้ำท่วมเมืองเอนกประสงค์ ที่ยามปกติก็ใช้ประโยชน์ในการกั้นถนนแยกการจราจรสองฝั่งได้ ซึ่งทำให้ช่วยบรรเทาอุบัติเหตุ

 

คราวก่อนผมไม่ได้มีรูปอธิบาย ซึ่งอาจทำให้หลายท่านไม่เข้าใจ คราวนี้ขอเพิ่มรูป  

 

 

คอนกรีตนี้อาจสูงประมาณ 1.5 เมตร (AD)  และยาวประมาณ 2.5 เมตร (BI) ที่ต้องยาวเท่านี้ก็เพื่อที่จะได้บรรทุกใส่รถลากไปได้ในแนวขวาง โดยไม่ใหญ่คับถนน   ที่ด้านหน้า ABCD มีร่อง E (ตัวเมีย)    ส่วนหน้าตรงข้ามมีเดือย F (ตัวผู้) 

 

เวลาใช้งานเพื่อป้องกันน้ำท่วมก็เอาสองตัวมาต่อกันให้เดือย F สอดเข้าไปในร่อง E  แต่ก่อนสอดให้ “สวมถุงยาง” สักหน่อย  เพื่อป้องกันน้ำไหลรั่ว  (แหม..พูดเสียหวาดเสียว)  จริงๆ แล้วก็เอาแผ่นยางไปรองไว้เพื่อเป็น “ซีล” กันรั่วนั่นเอง   ...ส่วนที่พื้นด้านล่างก็ควรรองด้วยแผ่นยาง เพื่อกันการรั่วซึมเช่นกัน   ...เราก็ต่อกันไปเรื่อยหลายๆ ตัว 

 

ว่าไปแล้วร่อง E และ เดือย F นั้นน่าทำเป็นครึ่งวงกลม จะได้หักมุมเลี้ยวได้ เพื่อทำเป็นเขื่อนแนวโค้ง

 

หน้า AD จะหันเข้าหาน้ำ ส่วน BC อยู่ด้านหลังน้ำ (วิศวกรน้ำคำนวณได้ไหมว่าทำไมไม่เอาสลับหน้ากัน??) 

 

พอหมดหน้าน้ำท่วม เราก็ยกเอาไปกั้นถนนตามเดิม   นอกจากจะช่วยบรรเทาอุบัติเหตุแล้ว ยังกลายเป็นที่เก็บกำแพงอีกด้วย ...ได้ประโยชน์สองต่อ

 

 

ประโยชน์ต่อที่สามคือ ยามสงครามยังยกเอาไปเป็นกำแพงกันกระสุนสำหรับทหารราบได้  หรือ กันรถถังฝ่ายข้าศึกได้อีกด้วย

 

...คนถางทาง (๑๓ กันยายน ๒๕๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 502161เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2012 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เมื่อปีที่แล้ว เห็นฝรั่งเขาเอาแผ่นบางๆ มาวางตะแคงเป็นแนว เห็นว่าเอาไว้กั้นน้ำ แต่ดูบอบบางจัง

ท่าน ธ. ครับ มันอาจเป็นไปได้ ถ้าเป็นวัสดุไฮเทค และมีการคำนวณประกอบด้วยครับ ผมเคยคิดจะเอาโฟมผสมหิน เพื่อลดค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีเวลาคำนวณต่อครับ

กำแพงคอนกรีต ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างดีจริงค่ะอาจารย์

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท