แก้ปัญหาไวรัส(ด่างวงแหวน) ขจัดโรคให้มะละกอ


เกษตรกรส่วนใหญ่จึงมักจะได้รับข้อมมูลจากพนักงานขายเคมีเกษตรเพียงด้านเดียว กลุ่มเดียวว่าให้ใช้ยาตัวนั้นตัวนี้ทำการรักษา โดยหารู้ไม่ว่าโรคพืชที่เกิดจากไวรัสนั้น จริงๆแล้วไม่มียาใดๆรักษาให้หายขาดได้
โรคไวรัสด่างวงแหวน (ring spot) ในอดีตประมาณปี 2548 มีผู้ประสบปัญหากับโรคนี้อย่างแพร่หลายมากมาย เพราะสื่อหนังสือพิมพ์ในช่วงนั้นช่วยกันโปรโมทส่งเสริมให้ผู้คนรู้จักและเกิดความต้องการปลูกมะละกอพันธุ์ฮอนแลนด์ เนื่องด้วยเป็นเรื่ิองแปลกใหม่พอๆกับการโหมประโคมข่าวให้ปลูกไม้โตเร็วอย่างเช่นเพาว์โลเนียและตะกูในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผู้สนใจและให้ความนิยมมะละกอชนิดนี้มากด้วยเช่นเดียวกัน จากที่มีผู้นิยมปลูกมะละกอพันธุ์ฮอนแลนด์จำนวนมากทำให้พื้นที่ภาคกลางแถบนครนายก, สุพรรณบุรี และอีกหลายจังหวัดใกล้เคียงมีต้นมะละกอเกิดขึ้นมากมาย ทำให้เมื่อเกิดโรคก็ระบาดแพร่กระจายไปยังจุดต่างๆได้ง่าย

การดูแลรักษาในยุคนั้นก็ดูจะยากลำบากอยู่พอควรเนื่องจากการสื่อสารยังโลว์เทคมาก ไม่มีสื่อที่เป็นโซเชียลเน็ทเวิร์คทั้ง twitter, Facebook, tango,hi5 และSkype อย่างในปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่จึงมักจะได้รับข้อมมูลจากพนักงานขายเคมีเกษตรเพียงด้านเดียว กลุ่มเดียวว่าให้ใช้ยาตัวนั้นตัวนี้ทำการรักษา โดยหารู้ไม่ว่าโรคพืชที่เกิดจากไวรัสนั้น จริงๆแล้วไม่มียาใดๆรักษาให้หายขาดได้ เนื่องด้วยเป็นเชื้อวิสาที่มีอันตรายรุนแรงและการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศมากกว่าเชื้อราและแบคทีเรีย แพร่กระจายไปตามพาหะต่างๆได้หลายทางแม้กระทั่งสายลม ในส่วนของมะละกอนั้นพาหะที่นำพาเชื้อโรคเข้าสู่ไร่หรือแปลงของมะละกอมากที่สุดคือกลุ่มของแมลงปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งและเพลี้ยจั๊กจั่น กลุ่มของแมลงปากดูดเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากมะละกอแล้วนำพาเชื้อไวรัสติดไปยังมะละกอต้นอื่นๆต่อไป

มะละกอที่ได้รับเชื้อไวัสด่างวงแหวนจะมีอาการต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบหยิกงอไม่สมส่วน บางครั้งจะเล็กเรียวชะลูดแหลมเหมือนหางหนู ผลมะละกอที่ได้รับเชื้อก็จะมีสภาพเป็นช้ำเป็นวงๆเล็กบ้างใหญ่บ้างแตกต่างกันตามความรุนแรงและระยะเวลาของโรคที่เข้ามา วิธีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือการขุดหรือถอนต้นที่มีอาการเริ่มแรกนำไปเผาและทำลายให้ห่างไกลจากพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก และอีกวิธีการหนึ่งซึ่งทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษแนะนำให้เกษตรกรใช้มานานมากกว่า 10 ปีคือการใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) (ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ : นสพ. เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 20,842 วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2549 หน้า 24) ใส่ทางดินเพื่อให้มะละกอดูดกินขึ้นไปสะสมที่ผนังเซลล์ทำให้มีภูมิคุ้มกันมีความแข็งแรงคล้ายไก่ชนที่รับเชื้อไข้หวัดนก H5N1 แล้วไม่แสดงอาการสามารถที่จะมีชีวิตอยู่รอดได้อย่างสบาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0-2986-1680-2

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 501804เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2012 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท