๓๕๐.ผลการดำเนินการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัดพะเยา ๑


จากต้นปี ๒๕๕๒ ที่เข้าไปร่วมรับนโยบายจาก พอช. แล้วขยายผลสู่ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน และระดมสรรพกำลังทั้งคนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วพะเยา เข้าสู่ทุกตำบลในจังหวัดพะเยา ที่ประกอบด้วย ๙ อำเภอ นับได้ว่าคณะทำงานได้สร้างสรรค์ผลงานเอาไว้อย่างน่าชื่นชมยิ่ง

    

     วานนี้ (๙ กันยายน) ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชนจังหวัดพะเยา ณ ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคพะเยา หนองระบู ได้จัดประชุมเพื่อสรุปงาน การทำวิจัย การมองเพื่อมุ่งไปข้างหน้าว่าจะดำเดินการอย่างไรต่อไป   ฯลฯ  โดยมีครูมุกดา อินต๊ะสาร เป็นหัวหอก, ตัวแทนระดับจังหวัดเข้าร่วมประมาณ ๑๒ ท่าน และมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มาสังเกตการณ์เพื่อทำวิจัย (แต่ความเป็นจริงมีหน่วยงานองค์กรจำนวนมากเข้ามาทำการวิจัย)

     จากข้อมูลคร่าว ๆ จากเอกสารรายงานว่า กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลในจังหวัดพะเยาเกิดจากการพัฒนากลุ่มองค์กรชุมชนในพื้นที่ เช่น ธนาคารหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน สภาองค์กรชุมชน กลุ่มอาสาสมัครในชุมชน เป็นต้น ที่ได้ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมได้ และสร้างระบบสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ตำบลของตนเอง โดยใช้วีการรวมกลุ่มสมาชิกจากการสมทบเงินรายปีเพื่อเป็นฐานให้แก่กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล และประสานการขอรับงบประมาณสมทบจากท้องถิ่นและรัฐบาลเพื่อต่อยอดจากฐานสมาชิก

     ทั้งนี้คณะกรรมการกองทุนเกิดจากการมีส่วนร่วมในการคัดสรรและแต่งตั้งแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอันได้แก่ จากสมาชิกกองทุน จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากผู้นำชุมชน จากสมาชิกกลุ่มกองทุนและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน ดังนั้นการประสานความร่วมมือ การสร้างความเข้าใจและการร่วมพัฒนาจึงสามารถปฏิบัติการได้โดยง่าย  ซึ่งคณะกรรมการมีบทบาท มีการจัดตำแหน่งและแบ่งอำนาจและหน้าที่ชัดเจน เช่น การรับสมัครสมาชิก การประชาสัมพันธ์ การบริหารและงานพัฒนากองทุน งานทะเบียนและเอกสาร มีระเบียบและกรอบการบริหารงานกองทุนอันเป็นที่ยอมรับแก่สมาชิกและสังคมส่วนใหญ่

     การดำเนินงานดังกล่าว ได้เกิดระบบสวัสดิการชุมชนในระดับตำบลเพื่อลดช่องว่างในการขาดสวัสดิการแก่ประชาชนในพื้นที่สร้างและพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และระดับจังหวัด มีศูนย์การเรียนรู้ในการจัดสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ โดยมีความก้าวหน้าที่สามารถเพิ่มพื้นที่สวัสดิการครบทุกตำบล มียอดสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนเพิ่มขึ้น สามารถเชื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร ต่าง ๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด และรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานองค์กรชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

     นอกจากนี้แล้วยังมีการเชื่อมประสานงานทำงานกับหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและครบคลุมเกือบทุกประเด็น เช่น การประสานงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พอช. พมจ. รัฐบาล การประสานงานวิชาการจามมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ การประสานงบช่วยเหลือสวัสดิการแก่สมาชิกผู้ด้อยโอกาสจาก พมจ., สสว.๑๐ การประสานงบประมาณเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขจากกองทุน สป.สช., สสส. การประสานงานพัฒนาอื่น ๆ กับภาคีองค์กรชุมชน เช่น งานด้านเด็กและเยาวชน งานด้านประเพณีวัฒนธรรม งานด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

     จากต้นปี ๒๕๕๒ ที่เข้าไปร่วมรับนโยบายจาก พอช. แล้วขยายผลสู่ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน และระดมสรรพกำลังทั้งคนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วพะเยา เข้าสู่ทุกตำบลในจังหวัดพะเยา ที่ประกอบด้วย ๙ อำเภอ นับได้ว่าคณะทำงานได้สร้างสรรค์ผลงานเอาไว้อย่างน่าชื่นชมยิ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 501751เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2012 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผู้หญิงทางขวามือ ใช่ ครูมุกดา อินต๊ะสาร หรือเปล่าครับ? เพราะมองไม่เห็นหน้าแบบเต็มๆ เท่าไหร่

เจริญพร ใช่แล้ว ครูมุกดา เป็นหัวหน้าทีมขบวนการขับเคลื่อนนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท