การพัฒนาหนังสือเรียนให้เป็นหนังสือส่่งเสริมกระบวนการคิด


หนังสือเรียนไม่ใช่ที่บรรจุเฉพาะเนื้อหาอีกต่อไปแต่ต้องส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อันเป็นเครื่องสือสำคัญในอนาคต

แสงรุ้ง พูลสุวรรณ : การพัฒนาหลักสูตรบรรณาธิการเพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดเอนนิส (THE DEVELOPMENT OF AN EDITORIAL CURRICULUM TO ENHANCE TEXTBOOK CRITICAL EDITING KNOWLEDGE AND ABILITY BASED ON ENNIS’ APPROACH)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรบรรณาธิการเพื่อเสริมสร้างความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส เพื่อส่งเสริมความสามารถของบรรณาธิการทั้งในด้านความรู้และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส รวมทั้งการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าต้นฉบับ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับปัญหาในสภาพจริง และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรโดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือเรียนจากสำนักพิมพ์ 3 แห่ง จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ รวม 35 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเรียน เกณฑ์การประเมินผลงานจากการตรวจหนังสือเรียน แบบสังเกตพฤติกรรม ตามเกณฑ์และมาตรฐานหนังสือเรียนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนความรู้ และความสามารถในการตรวจหนังสือเรียน ก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 11 องค์ประกอบ คือ 1) วิสัยทัศน์ของหลักสูตร 2) เป้าหมายของหลักสูตร 3) จุดประสงค์ของหลักสูตร 4) สาระของหลักสูตร 5) คำอธิบายรายวิชา 6) หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ย่อย 7) การจัดหน่วยการเรียนรู้ 8) โครงสร้างเวลาเรียน 9) แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 11) แหล่งการเรียนรู้ เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสาระใน 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์และมาตรฐานการตรวจประเมินสื่อ และเกณฑ์มาตรฐานหนังสือเรียนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิสในเรื่อง การระบุประเด็นปัญหา การสร้างคำถามท้าทาย การวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัยและนิรนัย 2) การประเมินคุณค่าต้นฉบับหนังสือเรียน 3) ความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิส ในฉบับจำลอง 4)ความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนอย่างมีวิจารณญาณตามแนวคิดของเอนนิสในฉบับจริง
2. ผลจากการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า
2.1 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเรียนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกเรื่อง โดยมีความรู้เรื่องการระบุประเด็นปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ การตั้งคำถามท้าทาย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย และการวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง
2.2 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตรวจหนังสือเรียนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกเรื่อง โดยมีความรู้เรื่องการระบุประเด็นปัญหาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ การตั้งคำถามท้าทาย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงนิรนัย การสรุปโดยใช้เหตุผลเชิงอุปนัย และการวิเคราะห์และนำเสนอข้อโต้แย้ง

หมายเลขบันทึก: 500730เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ขจิต นับว่าเป็นกำลังที่ดีมากๆค่า

ผมยังอยากทราบข่าว พี่ทวน ทองขวัญอยู่นะครับ ท่าน ดร.

  • รออ่านต่อครับ
  • อย่าหายไปนานครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท