พระกำแพงซุ้มกอเก๊ เลียนแบบพระดินดิบผสมว่าน


เมื่อกระแสของความนิยมได้ปั่นไปสู่พระกำแพงซุ้มกอดินดิบเนื้อแก่ดิน การทำพระเก๊ ก็จะทำให้เหมือนพระดินดิบแก่ดิน

ข้อคิดในการเขียนเรื่องนี้มาจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า

พระกำแพงซุ้มกอที่ว่าแท้ๆ ทั้งในหนังสือตำราทุกเล่ม และในระบบตลาด เป็นพระดินดิบผสมว่านทั้งหมด

พระดินดิบผสมว่าน

ทั้งๆที่อธิบายว่าเป็นดินเผา ที่ดูยังไงก็เป็นดินดิบ น้ำว่านยังฉ่ำทั้งองค์ มากบ้างน้อยบ้าง

แต่ด้วยกรอบความคิดว่าเป็นพระดินเผา ตำราส่วนใหญ่ จะมองข้ามพระเนื้อว่านฉ่ำๆ ชัดๆ แบบไม่กล้าพูดถึง เพราะนอกกรอบความคิด

เมื่อผมปรับกรอบความคิดมาเป็นดินดิบ ผมจึงได้คัดพระดินดิบว่านฉ่ำกลับเข้ามาใหม่อย่างเต็มภาคภูมิ ไม่ต้องเลียบๆเคียงๆ ว่าอาจจะเป็นพระเกจิ

พระเนื้อว่าน

เพราะความเก่าของเนื้อก็ถึงยุคแน่นอน และเมื่อมองมุมนี้ พระที่ผ่านการประกวดทั้งหมด เป็นพระดินดิบแบบแก่ดิน เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีพระดินดิบแก่ว่าน และแน่นอนไม่มีพระเนื้อว่านจัดๆปรากฏเลย

ทั้งๆที่ ในกรณีพระผงสุพรรณนั้น จะยอมรับทุกระดับเนื้อ ตั้งแต่แก่ดินไปจนถึงแก่ว่าน

เมื่อกระแสของความนิยมได้ปั่นไปสู่พระกำแพงซุ้มกอดินดิบเนื้อแก่ดิน การทำพระเก๊ ก็จะทำให้เหมือนพระดินดิบแก่ดิน

ผิวเนื้อออกมันๆนิด ผิวเรียบๆ พิมพ์ผิดบ้างถูกบ้าง แต่ถ้าดูรายละเอียด พิมพ์จะผิดเป็นส่วนใหญ่ ที่ทางเซียนใหญ่ๆ แนะนำให้ดูพิมพ์ก่อน พิมพ์ผิดวางเลย

ทั้งๆที่พระดินดิบ

  • ผิวจะออกริ้วเหี่ยว
  • เนื้อฉ่ำจากด้านใน
  • คราบน้ำว่านหลากสี แบบไล่โทนสี
  • สีพื้นน้ำว่านส่วนใหญ่ออกสีแดง
  • มีเม็ดแร่เหล็ก ที่เรียกว่าแร่ดอกมะขาม สีแดงฉ่ำ เพราะเป็นสนิมเหล็กผสมว่าน

ความฉ่ำของเนื้อน้ำว่านส่วนใหญ่จะเห็นแบบลางๆ จากในเนื้อ มีบางองค์ที่ฉ่ำออกมานอกเนื้อ

ในองค์ที่มีรอยขัดถูจนผิวกร่อน จะเห็นเม็ดน้ำว่านพราวในเนื้อ ถ้าแผลกร่อนเก่ามากพอ จะเห็นคราบน้ำว่านออกมาคลุมแผล

แต่พระเก๊จะดูแห้งๆ และไม่มีว่านออกมาคลุม

พระเก๊ ดินเผาทาน้ำมัน

อย่างมากก็ใช้สารเคลือบมันทาปิดบังไว้ ให้เหมือนพระกร่อนเก่า

ดังนั้นจึงต้องสังเกตให้ดี ว่าเป็นผิวธรรมชาติ หรือผิวแต่ง

แต่เนื่องจากปัจจุบันช่างทำพระส่วนใหญ่ยังเชื่อตามตำราว่าพระซุ้มกอเป็นพระดินเผา เขาจึงทำเป็นพระดินเผา เลียนแบบความมันของพระเนื้อว่าน ที่ค่อนข้างจะสับสนในความคิด

จึงเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้หยิบพระแท้แบบมีคลื่นรบกวนจากพระเก๊ไม่มากนัก

แต่เชื่อว่าไม่นาน ช่างที่ฉลาด เรียนรู้เร็วก็จะทำออกมาตามหลักการที่ผมเขียนไว้นี้อย่างแน่นอน

ถึงตอนนั้น ค่อยไปหาทางแก้ไขปัญหานี้กันอีกที

หมายเลขบันทึก: 500718เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เสียไอ้ ลิงค์นี้ผมมองไม่เห้นภาพใต้คำบรรยาย เลย ได้แต่อ่านตัวหนังสือ อย่างเดียว หุหุ 

 พ้มก้อมี อยู่องค์หนึ่งคับพระกำแพงซุ้มกอ เคยเอาไปให้ทางร้านดู เค้าก็บอกว่า สวยดี แค่นี้ ไม่ได้บอกเลยว่าอยู่กรุไหน สวยที่ว่าแท้รึป่าว เดียววันหลังจะเอารูปมาลงให้ดู นะคับ 

ถ้าจะลงรูปให้กอปรูปครับ อย่ากอปลิงค์มาครับ

ทั้ง 2เลยหรอคับ

อาจารย์ครับ แล้วซุ้มกอนี่มี พิมพ์ปางมารวิชัย หรือเปล่าครับ 

ขอบคุณครับ อาจารย์ ที่สงสัย เพราะผมเคยเห็น นักสะสมพระบางท่านเก็บสะสมไว้อย่างดี

ดินเผาแต่งคราบ ทาน้ำมันครับ ลองไปดูภาพของจริงจะเข้าใจครับ

กนกศักดิ์ เรืองศรี

อาจารย์ครับ รบกวนอีกหนึ่งองค์ ครับ


ลองเอาไปแช่ในน้ำร้อน ประ 20 นาทีแล้ว ค่ะ ดินไม่ยุ้ย แล้วคาบก็ไม่หลุดค่ะ

ต้องการพิสูจน์อะไรครับ ผมไม่ความรู้เรื่องนี้ครับ เพราะสารเคมีที่ใช้ทำพระเก๊ มีทุกแบบที่ท่านอยากเห็น ไม่เชื่อลองไปให้เขาทำให้ซิครับ พวกนี้เขาระดับมืออาชีพ ทำมาเกือบตลอดชีวิตของเขา ความรู้เขา "พอใช้" แน่นอนครับ  อิอิอิอิอิ

พระองค์นี้ใช่ ซุ้มกอ รึเปล่าคะ

ที่เห็น จุดสีน้ำเงิน ตรงหน้าอก คือสีที่คุณพ่อ แต้มไ้ว้ ตอนเอาไปให้ที่ร้านทองเค้าใส่กรอบ น่ะค่ะ กลัวเค้าแอบเปลี่ยน

รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

แต

แ่ต่ตอนนี้ไม่หวงละครับ หลังจากตามหาอยู่สามเดือนเต็ม ไม่เจอเลย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท