หินแร่ภูเขาไฟในหลากหลายมุมมอง


มีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟในการเกษตร ว่าจะใช้อย่างไร แตกต่างอย่างไรกับการใช้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ผสมหินแร่ภูเขาไฟกับที่ไม่ได้ผสมจะแตกต่างกันหรือไม่จำเป็นไหม ก็ขอนำเสนอในแง่มุมต่างๆให้ท่านได้พิจารณาและตัดสินใจกันด้วยตนเองนะครับ

 

มีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟในการเกษตร ว่าจะใช้อย่างไร แตกต่างอย่างไรกับการใช้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ผสมหินแร่ภูเขาไฟกับที่ไม่ได้ผสมจะแตกต่างกันหรือไม่จำเป็นไหม ก็ขอนำเสนอในแง่มุมต่างๆให้ท่านได้พิจารณาและตัดสินใจกันด้วยตนเองนะครับ
 
มองในมุมการให้ปุ๋ยแร่ธาตุสารอาหาร N P K ฯลฯ  ปุ๋ยที่ผสมหินแร่ภูเขาไฟย่อมดีกว่าหินแร่ภูเขาไฟเพียวๆเพียงอย่างเดียว อย่างซีโอ พูมิช ที่มีแต่กลุ่มธาตุรอง ธาตุเสริม ซิลิก้าและค่าความสามารถในการจับตรึงแลกเปลี่ยนประจุบวก (C.E.C.) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ใช้ในการนำไปจับตรึงปุ๋ยให้กลายเป็นปุ๋ยละลายช้าแต่ไม่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมถึงมีอยู่บ้างแต่ก็น้อย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูคุณภาพของปุ๋ยแต่ละแห่งว่าเปอร์เซ็นต์ของเนื้อปุ๋ยสูตรปุ๋ยที่เคลือบด้วยหินแร่ภูเขาไฟมีมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญการที่เนื้อปุ๋ยมีส่วนผสมของหินแร่ภูเขาไฟย่อมดีกว่าปุ๋ยที่ไม่ได้ผสมอย่างแน่นอนเพราะจะช่วยทำให้ปุ๋ยกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า
 
มองในมุมที่จะช่วยเสริมประสิทธิ์ภาพปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นจากเดิม โดยลดการใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นการลดต้นทุน การใช้ซีโอ  พูมิชซัลเฟอร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาคิดค้นวิจัย (formulate) หินแร่ภูเขาไฟเพียวๆที่มีธาตุรองธาตุเสริมและซิลิก้าที่ละลายได้สูงอยู่แล้วให้พร้อมเพียงไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารอื่นๆมากขึ้นจากเดิม เช่น ฟอสฟอรัส มีโพแทสเซียมเล็กน้อย (ถ้าเป็นนาดินเหนียวในแถบภาคกลางโดยปรกติก็ไม่ได้ใช้ปุ๋ยตัวท้ายกันอยู่แล้ว คือใช้เพียง 46-0-0และ 16-20-0) แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน ธาตุเสริมและธาตุเสริมประโยชน์ (ซิลิก้า) ขาดแต่เพียงไนโตรเจนถ้าหมักฟางหรือใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีก็แทบไม่ต้องใช้ได้เลย
 
มองในมุมที่นำไปเสริมใช้ในแปลงนาหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว พื้นที่ที่มีการดูแลรักษา อนุรักษ์ไม่ให้เสื่อมโทรมโดยปรกติจะไม่ใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปอยู่แล้ว ถ้าพืชแสดงอาการอวบอ้วน อ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรค หนอนแมลง อันนี้ก็เหมาะสมและมีความจำเป็นที่ต้องใช้หินแร่ภูเขาไฟเพียวๆ มีซิลิก้าสูงๆสร้างความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของโรค หนอน แมลงมิให้เข้ามา  หินแร่ภูเขาไฟที่มีค่าซี.อี.ซี. สูงๆช่วยควบคุมการปลดปล่อยไนโตรเจนมิให้พืชดูดกินเข้าไปมากเกิน จนเฝือใบ
 
มองในมุมของหินแร่ภูเขาไฟที่นำไปใช้ผสมปุ๋ยก็ต้องดูว่ามีคุณภาพ (ซิลิก้าและค่า C.E.C. ) มากน้อยเพียงใด เพราะบ้านเรามีเหมืองที่ได้รับสัมปทานหินแร่ภูเขาไฟน้อย แต่เหมืองหินปูนเยอะ บ้านเราถึงแม้จะมีภูเขาไฟอยู่บ้างแต่ก็ยังน้อยกว่าบาหลี ญี่ปุ่น คาซัคสถาน ฟิลิปปินส์ และอีกหลายๆประเทศทั่วโลกจึงต้องมีการซื้อขายนำเข้า ไม่สามารถเพราะปลูกได้ทันทีเหมือนต่างประเทศที่มีพื้นที่ภูเขาไฟเก่ารองพื้นอยู่ด้านล่าง ฉะนั้นปุ๋ยที่คิดว่าผสมกับหินภูเขาไฟก็อาจจะไม่ใช่ กลายเป็นปุ๋ยผสมปูนโดโลไมท์และฟอสเฟตไปเสีย ทำให้ดินเป็นด่างเพิ่มขึ้นทีละน้อย สูญเสียไนโตรเจนไปอย่างรวดเร็ว 
 
มองในมุมสร้างความแข็งแกร่งและช่วยจับตรึงปุ๋ยและแร่ธาตุสารอาหารในดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ทำหน้าที่คล้ายตู้เย็นให้ข้าวได้ดูดกินอยู่ตลอดเวลา หิวก็กิน อิ่มก็หยุด ไม่เฝือใบ ไม่อ่อนแอ การใช้หินแร่ภูเขาไฟเพียวๆ ก็ย่อมดีกว่า หินแร่ภูเขาไฟที่ผสมปุ๋ยเพราะมีปริมาณของซิลิก้าในปริมาณที่มากกว่า
 
สรุปว่าการใช้ปุ๋ยผสมหินแร่ภูเขาไฟกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟเพียวๆแบบดั้งเดิมหรือหินแร่ภูเขาไฟที่นำมาดัดแปลงปรับแต่งสูตรใหม่ก็มีดีกันไปคนละอย่างตามแต่วัตถุประสงค์และเป้าหมายของแต่ละคนจะนำไปใช้ โดยต้องอิงอาศัยปัจจัยจากดินว่ามีความพร้อมและความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 081-313-7559
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
หมายเลขบันทึก: 500352เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 07:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท