การประมวลผลคะแนน โดยกำหนดน้ำหนักคะแนนจากความยากง่ายของข้อสอบปรนัย


ปัญหา แนวความคิด เพื่อให้ข้อสอบแบบปรนัย มีอำนวจจำแนก

 ปัญหา

ข้อสอบแบบปรนัย (ตัวเลือก) มีการให้คะแนนสอบแต่ล่ะข้อเท่ากัน ซึ่งในความจริง ข้อสอบแต่ล่ะข้อมี ความยาก-ง่าย ที่แตกต่างกัน ทำให้คะแนนที่ได้จากการทำข้อสอบขาดอำนาจจำแนก เพราะข้อสอบที่ง่าย และยาก มีคะแนนเท่ากัน ในความเป็นจริงคะแนนแต่ล่ะข้อไม่ควรมีคะแนนเท่ากัน ฉะนั้นหากเรามีการการประเมินความยาก-ง่าย เพื่อกำหนดน้ำหนักคะแนนของข้อสอบแต่ล่ะข้อ กล่าวคือ ข้อสอบที่มีผู้ตอบถูกน้อยแสดงให้ทราบว่าข้อสอบข้อนี้มีความยาก-ง่าย “ยาก” ในทางกลับกันข้อสอบที่มีผู้ตอบถูกมาก ก็จะเป็นข้อสอบแสดงให้ทราบว่าข้อสอบข้อนี้มีความยาก-ง่าย “ง่าย” ข้อสอบยากควรมีน้ำหนักคะแนนที่สูงกว่า ข้อสอบที่ง่าย

 

หลักการ

ในกรณีนี้ขอใช้การจำแนกความยากง่ายระดับข้อสอบแต่ล่ะข้อออกเป็น 5 ระดับโดยใช้ กราฟโค้งปรกติในการจำแนกน้ำหนักคะแนน จากจำนวนผู้ตอบถูกในแต่ล่ะข้อข้อสอบข้อใดที่ยากผู้ที่ตอบถูกต้องก็จะมีจำนวนน้อย ส่วนข้อสอบที่ง่าย จะมีผู้ตอบถูกต้องมากกว่า

จากที่กล่าวมา สามารถใช้ความถี่ของผู้ตอบถูกของข้อนั้นๆ เป็นตัวจำแนก และนำมาเพื่อกำหนดน้ำหนักคะแนนของข้อสอบนั้นๆ ส่วนการแบ่งน้ำหนักคะแนน จะแบ่งออกตามหลักการของกราฟ โค้งปรกติดังรูปข้างล่าง

รูปกราฟ T โค้งปรกติ

 

จากรูปจะมีเส้นแบ่งแนวตั้งทั้งหมด 7 เส้นแบ่งออกเป็น 8 พื้นที่ แต่ล่ะพื้นที่มีน้ำหนักคะแนนต่างกันโดยแบ่งเรียงตามพื้นที่นั้น โดยกำหนดให้

  • พื้นที่ 1 มีความยากง่าย ง่ายมาก หรือง่ายเกินไป ไม่นับคะแนน มีคะแนนเป็น 0

  • พื้นที่ 2มีความยากง่าย ง่าย มีคะแนนเป็น 1

  • พื้นที่ 3 มีความยากง่าย ง่ายปานกลาง มีคะแนนเป็น 2

  • พื้นที่ 4 และ 5 มีความยากง่าย ปานกลาง มีคะแนนเป็น 3

  • พื้นที่ 6 มีความยากง่าย ยากปานกลาง มีคะแนนเป็น 4

  • พื้นที่ 7 มีความยากง่าย ยากมีคะแนนเป็น 5

  • พื้นที่ 8 มีความยากง่าย ยากมาก หรือยากเกินไป ไม่นับคะแนน มีคะแนนเป็น 0

จากการแบ่งพื้นที่น้ำหนักคะแนน จะเหฌนได้ว่า จะแบ่งคะแนนของข้อสอบตามความยากง่ายออกเป็น 5 ระดับ ประเด็นคือระดับคะแนนปานกลางในพื้นที่ 4 และ 5 รวมกัน แล้วให้ระดับคะแนน 3 คะแนนถือว่าเป็นค่ากลาง และตัดพื้นที่ทีเป็นคะแนนที่ผู้ตอบถูกเยาะ และพื้นที่ผู้ตอบถูกน้อย โดยไม่มีคะแนนถือว่าไม่นำมาคิดคะแนน

(มีตารางตัวอย่าง คะแนนสอบ(ดิบ) และ คะแนนสรุปที่ได้จากการกำหนดน้ำหนักคะแนนแล้วใน upload หลัก)

 

จากตารางสามารถสรุปคะแนนดิบของการทำข้อสอบโดยมีการใส่น้ำหนักคะแนน ตามความยากงานของข้อสอบแจกแจงตามจำนวนของผู้ตอบข้อสอบนั้นๆ โดยใช้หลักพื้นฐานที่ว่า ข้อสอบข้อใดมีผู้ตอบถูกมาก แสดงนัยที่ว่าข้อสอบข้อนั้นง่าย ในทางกลับกัน ข้อสอบข้อใดที่มีผู้ตอบถูกได้น้อย แสดงถึงนัยข้อสอบข้อนั้นยาก และมีการตัดข้อสอบที่เห็นได้ว่าง่ายไป และยากไป โดยการนำตาราง T ปรกติ เป็นเกณฑ์กำหนดความยากง่าย

หมายเลขบันทึก: 500126เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปัญหา.....ข้อสอบ....แต่ล่ะข้อมี ความยาก-ง่าย ที่แตกต่างกัน ทำให้คะแนนที่ได้จากการทำข้อสอบขาดอำนวจจำแนก เพราะข้อสอบที่ง่าย และยาก มีคะแนนเท่ากัน ในความเป็นจริงคะแนนแต่ล่ะข้อไม่ควรมีคะแนนเท่ากัน ..... เพราะ เป็นข้อจริง(Fact)ค่ะ  


เห็นด้วยนะคะถึงไม่ใช่เป็นคุณครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท