ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางออนไลน์ของภาครัฐ? (e-trust)


ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางออนไลน์ของภาครัฐ?

 

"ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางออนไลน์ของภาครัฐ?" (e-trust )

  • ก่อนอื่น คำถามที่ต้องเฉลย

  1. คุณรู้ได้อย่างไรว่าประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในการบริการออนไลน์ ?

  2. ความเชื่อมั่นที่กล่าวถึง หมายถึงอะไร แค่ไหน อย่างไร ?

  3. การบริการออนไลน์ของภาครัฐ คืออะไร

  • เริ่มต้นจากการตีความ กำหนดขอบข่ายข้างต้น

  1. คนที่สามารถออนไลน์ได้มีเท่าไร คิดเป็นสัดส่วนเป็นร้อยล่ะ ของประชากรทั้งหมด (ในกรณีนี้ต้องนับรวมในประเทศและต่างประเทศด้วยหรือไม่ ทั้งคนต่างประเทศที่ต้องใช้ด้วยหรือเปล่า)ในนี้มีผู้ต้องใช้บริการภาครัฐเท่าไร ?

  2. ผู้ใช้บริการแล้วมีความเชื่อมั่นเท่าไร เชื่อมั่นแค่ไหน อย่างไร ถึงถือว่าประชาชนไม่เชื่อมั่น

  3. การบริการดังกล่าว ได้แก่ ข่าวสาร ใช้หรือไม่

  • คำถามที่หาคำตอบไม่ได้

  1. เหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้บริการ ไม่ใช้คนอื่นมีก็อยากมี เห็นช้างขี่ ขี่ตามช้าง

  2. ความเชื่อมั่นในทัศนะของรัฐ และประชาชน เท่ากันหรือ

  3. บริการข่าวสาร ก็มีแหล่งข่าวมากมายอยู่แล้วแถมยังรู้มากกว่ารัฐอีก

  • ฉะนั้นก็เป็นอย่างนี้เอง

  1. รัฐฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ทำการบริการฯ

  2. ความเชื่อมั่นกว้างจนวัดไม่ได้

  3. เพียงรัฐฯ เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนิเทศบริการ กล่าวคือ สร้างหน่วยงานกลาง เหมือนมาตราฐานอุตสาหกรรม ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ออกใบรับรอง แก่ผู้ให้บริการออนไลน์ อย่างเป็นระบบ จัดระเบียบ จัดหาผู้ให้บริการออนไลน์แทนรัฐฯ เอกชนมากมายอย่างทำให้ ไม่ต้องลงทุนเอง

  • สรุปประเด็นก่อนอื่น แต่เขียนที่หลัง

  1. รัฐฯต้องให้บริการแก่รัฐฯ ด้วยกัน ก่อน อย่างดีและมีประสิทธิภาพ เป็นตัวอย่าง เพื่อสร้างความมั่นใจ แก่ประชากร ว่าออนไลน์รัฐฯยังเชื่อมั่นในรัฐฯ

  2. ความเชื่อมั่นจะเกิดขึ้นก็ต้องดูการเข้าใช้บริการที่มากขึ้นเรื่อยๆ และมีเป้าหมายเป็นสำคัญ จะคิดเป็นร้อยล่ะไม่ได้

  3. จัดระเบียบข้อมูล และบริการให้ทันสมัย และเป็นปัจจุบันที่สุด รัฐไม่จำเป็นต้องทำเอง ต้องอาศัยหน่วยงานออนไลน์ ที่หน้าเชื่อถือ ที่สังคมออนไลน์เชื่อมั่นทำแทน ความเชื่อมั่นจะตกไปอยู่กับหน่วยงานที่จัดทำให้มากกว่าตัวรัฐฯ จัดทำเอง

  • ความคิดของผมเองจากการศึกษา ไม่เกี่ยวกับประเด็น แต่อยากบอกเล่าก้าวสิบ (ใช้ก้าวแทนเก้า เพราะต้องการให้ก้าวไป) เพียงให้มีระบบดังนี้ ก็สร้างความเชื่อมั่งต่อสังคมออนไลย์ได้แล้ว

  1. จัดตั้งหน่วยงานกลางรับรอง e-Mail เหมื่อนทำสัมนาโนครัว แต่ในที่นี้เป็นสัมโนครัว ที่อยู่ e-Mail ใครที่ลงทะเบียนต้องมีหลักฐานจริง ยืนยัง ตัวตนจริงๆ

  2. จัดทำเว็ปไซร์ ตรวจสอบ e-Mail ผู้ลงทะเบียน กล่าวคือ ถ้าผมได้ e-Mail นาย ก. ก็อยากทราบว่าเป็นคนนี้ มีจริง มีตัวตน เชื่อถึอได้ ก็เข้าเว็ปนี้ตรวจสอบได้ทันที หากไม่ลงทะเบียนก็บ่งชี้ ให้เราต้องระวัง หากบริสุทธ์ใจจริงก็ต้องลงทะเบียน ผู้นี้เชื่อถือไม่ได้

  3. ออกกฎหมายให้ e-Mail เป็นที่อยู่ตามกฎหมาย กล่าวคือสร้างให้สัมโนครัวนี้มีผลตามกฎหมาย

  4. จัดทำเว็ปสถานีตำรวจออนไลน์ ในสือออนไลน์ทุกประเภท กล่าวคือ จัดผู้ปฎิบัติการรับร้องเรียน และตรวจสอบ e-Mail ผู้ใช้ e-Mail กระทำการขึ้นบัญชีดำ e-Mail ของผู้ที่ขาดคุณสมบัติ ส่อการกระทำที่ไม่สุจริต

    รัฐฯ เป็นผู้เฝ้ามอง กำกับดูแล ให้กฎหมายเข้าถึง และจัดการ ติดตาม ผู้กระทำความผิด ให้ได้เสียก่อนน่ะ ที่กล่าวนี้เพื่อให้สังคมออนไลน์มีความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่น อื่นๆ ก็จะตามมาเองน่ะแหละ จะบอกให้ ขอบคุณ

     

หมายเลขบันทึก: 499946เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำคัญ ตรง กฎหมาย .... ต้องจริงจังมากๆ นะคะ

 

ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท