การปรับใช้ความรู้น้ำมันตังอิ้วในพระสมเด็จและว่านในผงสุพรรณ มาวิเคราะห์พระหลวงพ่อทวดเนื้อว่าน


ทำให้ผมเข้าใจทั้งลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และความคงทนแกร่งแน่นของ พระเนื้อว่านได้ดีขึ้น

ผมมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะศึกษาพระเนื้อว่าน อย่างพระหลวงปู่ทวด เพื่อการสอบผ่านพระเนื้อว่านให้เข้าใจ ให้จงได้

 

จึงพยายามชำเลืองมองพระหลวงปู่ทวดบ่อยๆ

  • แต่ไม่กล้าส่อง เพราะความรู้ยังไม่พอใช้
  • ส่องไปก็เท่านั้น เสียเวลาเปล่าๆ
  • ทำอย่างอื่นได้ประโยชน์กว่า

 

จึงได้เน้นทำความเข้าใจพระเนื้อว่าน

 

ตั้งแต่

  • พระทวาราวดี
  • พระผงสุพรรณ
  • ซุ้มกอ
  • นางพญา
  • ขุนแผน

 

ที่จะทำให้ผมพอจะเข้าใจทั้งลักษณะ การเปลี่ยนแปลง และความคงทนแกร่งแน่นของ พระดินดิบเนื้อว่าน ได้ดีขึ้น

 

แต่ชุดความรู้ก็ยังเป็นพระเนื้อว่านผสมดินดิบที่ต่างจากมวลสารในพระหลวงปู่ทวด ที่เป็นเนื้อว่าน 108 (ไม่ใช่น้ำว่าน 108 แบบผงสุพรรณ) ผสมตังอิ้ว และดินกากยายักษ์ค่อนข้างมาก

 

ดังนั้น

ในขณะเดียวกัน ผมก็พยายามทำความเข้าใจบทบาท กระบวนการกลั่นตัว และการไหลของน้ำมันตังอิ้วในพระสมเด็จ

 

ที่มีลักษณะคล้ายๆการกลั่นตัวของน้ำว่านจากเนื้อว่าน และตังอิ้วในพระหลวงพ่อทวด คือ ในระยะแรกจะทำหน้าที่รักษาเนื้อพระเนื้อหยาบๆ ที่ตำนานว่ามีการผสมดินสีดำ ที่เรียกว่าดินกากยายักษ์ แป้งข้าวเหนียว หรือข้าวก้นบาตร (ตากแห้ง บดละเอียด) เข้าไปด้วย

จากการศึกษาในพระเนื้อผงรุ่นหลังๆ เทียบอายุกับการกลั่นตัวของตังอิ้ว พบว่าการกลั่นตัวแยกออกมานั้น ต้องร้อน แห้ง และมักผ่านเวลาประมาณ 30 ปีขึ้นไป

 

เมื่อผมนำความรู้ทั้งสองสายมาผสมผสานกัน ก็ทำให้ผมเริ่มเข้าใจพระเนื้อผงผสมว่าน และตังอิ้วได้ง่ายขึ้น

 

กล่าวคือ

  • ในระยะแรกๆ เนื้อพระจะดูแห้งๆ เหมือนจะปริแตกง่าย
  • ต่อมาจะเริ่มนวลของน้ำปูน
  • แล้วก็จะเริ่มฉ่ำ ในเนื้อขึ้นมาตามลำดับ

ระยะแห้งถึงนวลนั้น เป็นการเซทตัวของมวลสารต่างๆ มีการระเหยน้ำออกไป มีการซึมออกของน้ำผงปูน ทำให้ดูนวลๆ ที่น่าจะอยู่ประมาณ 10-20 ปี

 

ต่อมาก็จะเริ่มเข้าระยะฉ่ำ จากการกลั่นตัวของน้ำว่าน ออกมาทำให้เนื้อในชุ่มฉ่ำ ค่อยๆซึมออกมาจากในเนื้อจนถึงผิวนอก

 

เนื่องจากเป็นการเกิดตามหลังน้ำปูน คราบน้ำว่านจะเคลือบคราบน้ำปูนอีกชั้นหนึ่ง

แต่ในเนื้อชั้นในก็จะฉ่ำอยู่เดิม เพราะน้ำปูนจะอยู่ที่ผิวนอก

 

ทั้งการไหลของน้ำปูน ตังอิ้ว และหรือ น้ำว่าน จะเป็นไปตามความสะดวก ตามเส้นทางที่มีช่องว่าง (Preferential flow) จึงจะเห็นอย่างเป็นระบบ เป็นจุดๆ

 

ถ้าเทียบกับพระสมเด็จก็จะเรียกว่ารูน้ำตา รูปลายเข็ม

 

เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ก็สามารถนำไปพิจารณาความเก่าของหลวงปู่ทวดได้

 

ว่า

0-10 ปี มีความแห้งของเนื้อ

10-20 ปี มีเพียงความนวลนอกองค์พระ อาจเริ่มเห็นความฉ่ำ

20-30 ปี มีความนวลและฉ่ำในเนื้อ

30-40 ปี มีความฉ่ำแน่นของเนื้อ ผิวนวลมักเหลือน้อย โดยเฉพาะพระใช้

40-50 ปีขึ้นไป มีคราบน้ำว่านคลุมทั้งองค์ บนคราบนวล และเนื้อฉ่ำด้านใน

 

เนื่องด้วยการเป็นพระสร้างใหม่ๆ เพียง 50 กว่าปี  จึงต้องดูพิมพ์ประกอบ ที่แม้สมัยนี้จะทำได้เกือบหมดแล้ว ก็ตาม

แต่ที่ยังทำไม่เหมือน คือ มวลสาร สีขาว แดง ดำ ในเนื้อ และแร่เหล็ก เฮมาไทท์ หรือ "ทองน้อย" สีดำออกเหลืองนิดๆ ที่ตำนานจะใช้ภาษาจีนเรียกว่า "กิมเซียว" 

ที่มักจะเกิดสนิมที่ผิว และซึมไปในเนื้อพระ เนื้อว่าน เกิดเป็นคราบแดงๆ

เพื่อที่จะไม่หลงวัด หลงอายุได้ง่ายครับ

 

นี่เป็นเพียงข้อคิดและสิ่งค้นพบจากพระหลวงปู่ทวดต่างอายุครับ

ยินดีรับฟังความเห็นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 499638เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2012 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2012 07:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท