ABC เมื่อลูกน้อยไม่ยอมกินข้าว


คุณพ่อคุณแม่จะต้องสร้างวินัยให้ตนเอง และลูกน้อย รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่ทานอาหารหน้าทีวี และให้เรียนรู้การทานอาหารให้หมดจาน การเก็บไปวางที่ชั้นล้าง

ทำไมหนูนิดไม่ยอมกินข้าว???คำถามนี้มักเกิดขึ้นบ่อยๆ กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกชอบเล่นซน และสนุกกับการเล่นมากกว่าการกิน นอกจากนี้ ก็มักพบว่าเมื่อถึงวัยที่เด็กควรจะกินข้าวได้เองทำไมไม่ยอมกินที่บ้าน กลับบ้านทีไรให้คุณพ่อกะคุณแม่ป้อนทุกที.....(แต่ที่โรงเรียนทำได้นะค่ะ) คำพูดในวงเล็บนี้เกิดขึ้นบ่อย และสม่ำเสมอค่ะ.....แล้วมันเกิดอะไรขึ้นค่ะ ลองให้คุณพ่อคุณแม่ใช้แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (B. F. Skinner)  มาใช้นะค่ะ โดยการท่อง A-B-C ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ตัวคือ 

A-Antecedent สิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นก่อน เช่น ลูกกินอาหารว่างมาตั้งแต่ตอนบ่ายๆ เลยไม่หิว เด็กก็กินข้าวน้อยแบบนี้ทุกวัน หรือ คุณพ่อคุณแม่เองไม่ได้ฝึกเด็กจนเป็นนิสัย เล่นก็ได้ กินก็ได้มาตั้งแต่ 1-2 ขวบ และจะมาให้นั่งกินเองตอน 4 ขวบก็เลยทำไม่ได้ หรือ นั่งดูทีวี 

B-Behavior พฤติกรรม การแสดงออก ก็เลยทำให้เด็กไม่กินข้าว ไม่สนใจ ไม่มีนิสัยที่จะต้องกินข้าวเองที่บ้าน

C-Consequence ผลลัพธ์ หรือผลที่ตามมาหลังจากที่แสดงพฤติกรรมแล้ว ผลอะไรที่เกิดตามหลังจากคุณลูกไม่ทานข้าว เช่น คุณพ่อคุณแม่ตามป้อน คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกกินนมเพิ่มขึ้น กินขนมอื่นๆ แทนหรือเพิ่มเติม ไม่ได้สอน เก็บจานไปล้าง 

จะเห็นได้ว่า ผลที่ตามมาเกิดได้หลายอย่างมากมาย แต่ล้วนแล้วแต่คุณพ่อคุณแม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งหากเด็กเล็น 2-3 ขวบ ลูกน้อยอาจตักข้าวยังไม่เก่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกให้เขาใช้ช้อนตักอาหารตั้งแต่ยังเล็ก โดยคุณพ่อคุณแม่เองช่วยป้อนเป็นหลัก แต่อย่างน้อยต้องให้ลูกรู้ว่ากินข้าวต้องหมดชามนะจ๊ะ ดังนั้น คุณแม่คุณพ่อจะต้องตักข้าวและเตรียมอาหารให้ลูกแต่พอดี ถ้าดูจะไม่อิ่มจึงเติมใหม่ ไม่ใช่ให้เหลือแล้วทิ้ง แล้วเด็กก็ไม่สนใจข้าวที่เหลือ...นี่เป็นการสร้างจุดอ่อนตั้งแต่ยังเด็กนะค่ะ เมื่อเขารู้เรื่องขึ้น 4-6 ปี คุณพ่อคุณแม่จะต้องสร้างวินัยให้ตนเอง และลูกน้อย รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่ทานอาหารหน้าทีวี และให้เรียนรู้การทานอาหารให้หมดจาน การเก็บไปวางที่ชั้นล้าง จะช่วยให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่มีนิสัยที่ชอบและสนุกกับการรับประทานอาหาร และที่สำคัญยัช่วยให้ลูกสามารถพัฒนาตนเองในด้านการช่วยเหลือตนเองและเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น 

"ตอนนี้กำลังติดตามเด็กน้อย 2 คนอยู่ค่ะ ว่าจะพัฒนาความสามารถด้านการรับประทานอาหารได้ดีขึ้นหรือไม่ เด็กหนึ่งคน 2 ขวบ ซนเล่นตลอดเวลา แต่เป็นเด็กฉลาด ช่างเล่น และรู้เรื่องเอาการ ส่วนคนที่ 2 อายุประมาณ 5 ขวบ อยู่ที่บ้านไม่กินข้าว แต่ที่โรงเรียนทำเองทุกอย่าง ชอบนั่งดูทีวีเวลากินข้าวที่บ้าน....ต้องเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่สู้ๆ กับการฝึกหัดลูกน้อยต่อไปค่ะ"

เอาความสามารถในการทำกิจกรรมการกินข้าวของเด็กๆ ในวัยต่างๆ มาฝากค่ะ 
  • อายุ 1 1/2 - 2 ปี เริ่มหยิบช้อนส้อมขณะรับประทานอาหาร ตักอาหารทานได้บ้าง 2-3 คำ แต่ส่วนใหญ่ยังต้องให้ป้อน มักหกเลอะเทอะ
  • อายุ 3-4 ปี  ใช้ช้อนจิ้มหรือเขี่ยอาหาร ชอบตักอาหารเอง ช้ช้อนส้อมเหมือนผู้ใหญ่ นั่งโต๊ะร่วมกับผู้ใหญ่ได้ 
  • อายุ 5 ปี มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ใช้ช้อนส้อมในการกวาด ปาดอาหารได้ มีพฤติกรรมการพูดมากในระหว่างรับประทานอาหาร 
  • อายุ 6 ปี เด็กแสดงพฤติกรรมซุกซน นั่งไม่นิ่ง ร้องขออาหารในปริมาณเยอะแต่ทานไม่หมด ชอบทานอาหารว่างมากกว่าอาหารหลัก สามารถใช้ช้อน ส้อมได้คล่อง บางครั้งกลับไปใช้มือหยิบอาหารเป็นพักๆ
  • อายุ 7-8 ปี เด็กผู้หญิงมีความอยากอาหารน้อยกว่าผู้ชาย สนใจอาหารหวาน สามารถใช้อุปกรณ์ในการตักอาหารทานได้อย่างหลากหลาย ใช้กระดาษเช็ดปากเป็นช่วง ๆ ช่วยเตรียมอาหารได้
หมายเลขบันทึก: 499573เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ABC ==> การประเมินดีดี ที่เราทำได้ "ดีจริงๆค่ะ" 

 

A-Antecedent = สิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นก่อน 

B-Behavior = พฤติกรรม การแสดงออก 

C-Consequence = ผลลัพธ์ หรือผลที่ตามมาหลังจากที่แสดงพฤติกรรม


ขอบคุณมากค่ะ


ขอบคุณ คุณ Somsri คุณหมอ ป. คุณ อ.นุ และอาจารย์ขจิต ค่ะ

แต่หนูณิชน์ที่โตแล้วนี่ กินเก่งค่ะ...

เอาข้อมูลไว้เลี้ยงหลานค่ะ ขอบคุณนะคะ อ่านแล้วคิดถึงตัวเอง ว่าโชคดี ที่ ที่บ้าน เลี้ยงแบบ ทานอาหารเป็นเวลา นั่งโต๊ะ ไม่ดูทีวี แต่มาเสียคนเอาตอนนี้แหละคะ ที่ไม่ว่าเวลาไหน คนก็อยู่หน้าทีวีแทบทุกกิจกรรม ....

ูู_____^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท