เมนูประชานิยม : กับดักแห่งความล่มสลาย


เมนูนโยบายประชานิยมดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงถึงความสมเหตุสมผลของการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มหภาคว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หรือเป็นเพียงการใช้เครื่องมือเพื่อตอบสนองกับเมนูนโยบายประชานิยมที่หาเสียงทางการเมืองเพียงเท่านั้น

ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลนิยมใช้นโยบายประชานิยมในการบริหารประเทศอยากให้ดูรายรับของประเทศด้วย เพราะหากมีการใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้นจะทำให้รายรับของประเทศห่างจากรายจ่ายมากขึ้น และแม้ตอนนี้จะยังไม่เกิดปัญหา แต่อนาคตหากเกิดการสะสมไปเรื่อยๆ อาจทำให้ไทยเกิดปัญหาเหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศกรีซได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างภาษีบางตัว เช่น การเก็บภาษีทรัพย์สินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย...

 

 “โฆสิต” เตือนรัฐบาลไทย ระวังนโยบาย “ประชานิยม”ในขณะที่ประเทศกำลังก้าวเข้าสู่จุดเสี่ยง อาจประสบปัญหาเหมือนกรีซ ด้าน เลขาฯอังค์ถัด เชื่อว่า กลุ่มยูโรโซนจะล่มสลาย ถ้ายังไม่มีการปฏิรูปปัญหาหนี้สินในกรีซ ขณะที่เงินของ “ไอเอ็มเอฟ” ไม่มีช่วยเหลือแล้ว...

 

 

คนไทยได้ยินคำว่า “ประชานิยม” Populism มากขึ้นเรื่อย ๆ ภายหลังจากรัฐบาลชุดนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศนโยบายชุดใหม่ในด้านการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนในช่วงเดือนมกราคมปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อยอดมาจากเมนูนโยบายชุดเดิม เช่น กองทุนหมู่บ้าน  ๓๐ บาทรักษาทุกโรค  การพักชำระหนี้เกษตรกร รวมถึงโครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ เป็นต้น โดยถือได้ว่าเป็นเมนูนโยบายที่โดนใจประชาชน (ต่างจังหวัด) มากที่สุด จนทำให้ได้รับฉันทมติความไว้วางใจจากประชาชนโดยส่วนใหญ่ให้ได้รับเลือกตั้งนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน ซึ่งหลังจากนั้นในทุกรัฐบาลที่ผ่านมาก็มองว่าประชานิยมเป็นสินค้าจำเป็นที่ขาดไม่ได้สำหรับประชาชน...จึงบรรจุเมนูนโยบายประชานิยมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการหาเสียงเรื่อยมา...

 

             เมนูนโยบายประชานิยมดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงถึงความสมเหตุสมผลของการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มหภาคว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ หรือเป็นเพียงการใช้เครื่องมือเพื่อตอบสนองกับเมนูนโยบายประชานิยมที่หาเสียงทางการเมืองเพียงเท่านั้น เพราะแต่ละโครงการต้องใช้เม็ดเงินเป็นจำนวนมาก โดยการใช้นโยบายการคลังผ่านทางการจัดสรรรายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน บางโครงการต้องใช้เงินกู้ซึ่งถือว่าเป็นภาระผูกพันของงบประมาณ และในส่วนของนโยบายการเงินโดยการผ่านทางเครื่องมือการปล่อยสินเชื่อจากการจัดหาแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำผ่านทางสถาบันการเงินของภาครัฐ ซึ่งท้ายที่สุดถ้าหากมีปัญหาทางด้านการชำระคืนก็จะกระทบต่อรัฐบาลเพราะถือว่าเป็นหนี้ของภาครัฐ

 

        ประเทศที่นำนโยบายประชานิยมมาใช้แล้วประสบกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งเริ่มต้นจากประธานาธิบดีอิริโกเยน และต่อเนื่องถึงประธานาธิบดีฮวน เปโรน ซึ่งเป็นการใช้นโยบายประชานิยมโดยไม่คำนึงถึงความสมเหตุสมผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นการใช้นโยบายเพื่อผลทางการเมืองเท่านั้น...ล่าสุดก็คือประเทศกรีซและก็จะมีต่อไป...ต่อไป...หาก เมนูประชานิยม ดังกล่าวปนเปื้อนอุดมการณ์ที่หวังผลทางการเมืองเป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนเท่านั้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 499121เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

การเมืองเป็นหัวจักร....ในการขับเคลื่อน....เป็นคำที่ "โดนใจ...P'Ple มากค่ะ"... ยิ่งเป็นข้าราชการ... ทำตามการเมืองสั่งๆๆๆ  ทุกเรื่อง ... "เบื้องบนส่ง...เราก็ก้มหน้า...ก้มตา ทำ ๆๆๆๆ" ก็เกิดมาเป็นข้าราชการ...แต่ตอนนี้...หันหลังไปไม่ได้แล้วหละค่ะ....ทำเท่าที่ทำได้...แล้วได้ประโยชน์กับ ชุมชน + ประชาชน ก็ OK นะคะ....ทำเมนู...ที่ P'Ple เสนอ เวลาไปทำบุญดีกว่านะคะ...พระภิกษุสงฆ์....จะได้สุขภาพดี ... ไม่ป่วยเป็นโรค จากอาหารที่ถวายพระ 


ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปันข้อมูล เล่าสู่กันฟัง

ขอบพระคุณ คุณ P'Ple มากครับที่แวะมาให้กำลังใจและข้อคิดดี ๆ อยู่เสมอ

อืม...ผมแวะเข้าไปชิมเมนูอาหารจาน (เพื่อสุขภาพ) เด็ดมาแล้ว...มีประโยชน์มากครับ

มีบทเรียนให้เรียนรู้แต่ไม่นำมาปรับใช้แก้ไข แสดงถึงเป้าหมายทางการเมืองมากกว่าเพื่อประชาชนอย่างจริงใจ น่าเสียดายมากเลยค่ะ แนวคิดนี้จะอยู่คู่ประเทศไทยไปถึงเมื่อไหร่ เป็นเรื่องที่ยุคสมัยเรานี้อาจไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกระมังคะ

ขอบพระคุณ อาจารย์ Sila Phu-Chaya มากครับที่แวะมาให้กำลังใจและข้อคิดที่ดี ๆ อยู่เสมอ

'...เป็นเรื่องที่ยุคสมัยเรานี้อาจไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกระมังคะ'


   ดูจากพฤติกรรมและแนวโน้มแล้ว...ผมมีความคิดคล้ายอาจารย์ครับ

    การบริหารจัดการเมนูนโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบันเปรียบเสมือนเป็นการผลักภาระต้นทุน (วิกฤติเศรษฐกิจ) ไปฝากไว้ในอนาคตให้คนรุ่นต่อไปเผชิญชะตากรรมพร้อมกับมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มจากแรงบังคับ บีบคั้นด้านวิกฤติธรรมชาติมารอเรียกปรับค่าสินไหมที่มวลมนุษยชาติเข้าไปทำลายเอาไว้เป็นของแถมพ่วงขึ้นอีก...เฮ้อ...เอวังครับ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท