วิชากฏหมาย&จริยธรรมในวิชาชีพ


          วิชากฏหมาย&จริยธรรมในวิชาชีพ โดยผศ.ดร.ปรางค์ทิพย์ ฉายพุทธ ค่ะ 

          ก่อนนี้หนึ่งเองยังงงกับการแยกว่าแบบไหนจะเข้าข่ายประเด็นจริยธรรม และแบบไหนถึงจะเข้าข่ายกฏหมาย วันนี้หนึ่งคิดว่าน่าจะพอแยกประเด็นออกได้มากขึ้นค่ะ ดังนี้ 

"ประเด็นจริยธรรมนั้นเป็นอะไรที่ ต้องตัดสินใจกรณีที่มีทางเลือกสองทาง ไม่สามารถทำทั้งสองทางได้ แบบต้องเลือกทางใดทางนึง กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการตัดสินใจ"  ประมาณนี้ค่ะ

          การพิทักษ์สิทธิ์เป็นหน้าที่ของพยาบาล มี ๓ รูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ บุคคล เวลา และสถานที่ค่ะ 

  • Right-protection model พิทักษ์สิทธิ์ทั้งหมด คือพยาบาลเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ป่วยตามระยะของผู้ป่วย
  • Value-based decision model พยาบาลพูดคุยถึงความต้องการ ประโยชน์ และทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยและญาติ
  • Respect-for-person model พยาบาลเพียงให้ข้อมูล ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเอง

"ส่วนกฏหมายนั้น มีกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพพยาบาลเยอะมากค่ะ ได้แก่ กฏหมายทั่วไป (กฏหมายรัฐธรรมนูญ เช่นสิทธิมนุษยชน , สิทธิผู้ป่วย กฏหมายอาญา กฏหมายแพ่ง) กฏหมายสำหรับจนท.ของรัฐ (การละเมิดของจนท.) กฏหมายสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ (พรบ.วิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ , ข้อบังคับสภาพยาบาล ฯลฯ) กฏหมายอื่นๆ (พรบ.สุขภาพแห่งชาติ , พรบ.ผู้สูงอายุ)" 

หมายเลขบันทึก: 499055เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 การพิทักษ์สิทธิ์เป็นหน้าที่มี ๓ รูปแบบด้วยกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ บุคคล เวลา และสถานที่ค่ะ 

  • Right-protection model พิทักษ์สิทธิ์ทั้งหมด คือพยาบาลเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ป่วยตามระยะของผู้ป่วย
  • Value-based decision model พยาบาลพูดคุยถึงความต้องการ ประโยชน์ และทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยและญาติ
  • Respect-for-person model พยาบาลเพียงให้ข้อมูล ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเอง 

...P'Pleเห็นด้วยค่ะ   ขึ้นกับ... Time, Space, Person (เวลา, สถานที่, บุคคล)


ขอบคุณข้อมูลที่แบ่งปันให้นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท