อัปสรา


นางอัปสรในอยุธยา และนางอัปสราในเขมร

นางอัปสรในอยุธยากับนางอัปสราเทพธิดาแห่งเขมร

            อัปสรา  ภาษาเขมร มาจากคำว่า อัปสร ในภาษาสันสกฤต หมายถึงเทพธิดา หรือนางฟ้า  ซึ่งมีประวัติที่มาจากอิทธิพลของศาสนาฮินดู เมื่อกล่าวถึงบทความที่เกี่ยวเนื่องกับนางอัปสราของเขมรแล้ว  จากรูปลักษณะของประติมากรรมเขมร     ชี้ให้เราได้เห็นถึงผู้หญิงชาวอัปสรที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกับสตรีในยุคใดสมัยใดหรือประเทศใด ๆ  เลย  สิ่งหนึ่งที่ต้องสัมพันธ์กันแน่นอนก็คือ  ผู้หญิงชาวเขมรจริงๆ กับผู้หญิงในจินตนาการที่งดงามของชนชาวเขมรในยุคนั้น  ต้องมีชีวิตที่ใกล้กันจนเป็นต้นเค้าของความงดงามทั้งหลายของนางอัปสราทุกยุคทุกสมัย  ซึ่งจำแนกงาน ศิลปะของเขมรตามรูปแบบและสมัยต่างๆ  คือ

แบบพนมดา  แบ่งได้สองหมู่  (หมู่แรกราว  1050 – 1100)  หมู่ที่สองราว  พ.ศ.  1050 – 1250)

                   ประติมากรมแบบพนมดา  อาจแบ่งได้เป็นสองหมู่

                   หมู่แรก  ประติมากรรมมีบ่าใหญ่  เอวเล็ก  หน้าแบน  รูปตาแหลมยาวจมูกค้างนุ่งผ้า

โจงกระเบนสั้นมีชายคลุมข้างนอกอีกหนึ่งชั้น  ริ้วผ้าบนชายชั้นนอกแยกมีริ้วออกไปทางหัวเข็มขัด  ด้านหลังนั้นมีชายกระเบนเหน็บอยู่ห้อยลงมาคล้ายรูปสมอเรือ

                   หมู่ที่สอง  นุ่งผ้ายาวเรียบคล้ายโสร่ง  มีผ้าแคบเรียบอีกชิ้นผูกเป็นเข็มขัดมีปมผูกอยู่ด้านขวาของสะโพก  หากนุ่งแบบนี้มักมีชายผ้าห้อยยาวอยู่ข้างหน้าด้วย  ประติมากรรมทั้งสองหมู่นี้ไม่สวมเครื่องประดับใด ๆ  หมวกเป็นรูปทรงกระบอกทรงเตี้ย  มีขอบด้านหลังตรง  ที่ควรสังเกตคือตรงขอบนี้ในระยะหลังตอนปลายของศิลปะแบบพนมดาจะค่อยๆ  เปลี่ยนเป็นวงโค้ง  ทรงผมคล้าย ชฎา  หรือมงกุฎ  (เกล้าผมสูง)  ส่วนประติมากรรมนางอัปสรแบบพนมดา  จะนุ่งผ้ายาว  คาดเข็มขัดผ้ามีปมใหญ่ผูกอยู่ด้านข้าง  ผมเกล้าเป็นมวยสูงใหญ่

แบบสมโบร์ไพรกุก  (พ.ศ.  1150 – 1200)  รัชสมัยพระเจ้าอีศานวรมันที่  1

                   ลักษณะแบบสมโบร์ไพรกุกนี้  การนุ่งผ้าเรียบอย่างแบบพนมดาหายไปและริ้วรอยผ้าที่แยกออกจากหัวเข็มขัดก็หายไปด้วย  แต่ชายผ้าด้านหน้า  รูปคล้ายสมอเรือ  ยังคงไว้  ชายกระเบนด้านหลังยังคงห้อยลงมาเป็นรูปคล้ายสมอเรือเส้น  เข็มขัดคาดใต้ผ้าชิ้นเล็ก ๆ  สวมหมวกทรงกระบอก       ขอบหลังโค้งลงบนท้ายทอย  ทรงผมขมวดหยิกสลวย  สตรีนุ่งผ้ารัดติดสะโพกมีชายจีบซ้อนกัน

อยู่ทางด้านหน้า  พับสูงขึ้นไปเหนือหน้าท้อง  เข็มขัดมองไม่เห็นชัดเจน  (เข็มขัดประดับด้วยพรม)

(ชมได้ที่ปราสาทสมโบร์ไพรกุก  ปราสาทพนมธม  และปราสาทตะบองแดกหรือตำบองเด็ก)

แบบไพรกแมง  (พ.ศ.  1180 – 1350)  รัชสมัยพระเจ้ามเหนทรวรมันและพระเจ้าภววรมันที่  2

                   รูปแบบศิลปะยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ  เนื่องจากการจลาจลของบ้านเมืองในยุคนั้น  ศิลปกรรมโดยมากสืบทอดต่อจากยุคก่อน ๆ  การแต่งกายในสมัยนี้  ปลายชายพกบนต้นขาข้างซ้าย  ชายผ้าด้านหน้ารูปคล้ายสมอเรือ  เข็มขัดคาดอยู่นอก  ผ้านุ่งยังคงเดิมส่วนชายกระเบนด้านหลังรูปคล้ายสมอเรือหายไป

                   สวมหมวกทรงกระบอกด้านหลังยาวลงมาคลุมท้ายทอย  หมวกโค้งลงเป็นมุมแหลมเหนือขมับ  บนขอบล่างมีแนวเล็กๆ  มีลวดลายประดับเป็นต้นเค้าของกระบังหน้า  ทรงผมเป็นวงโค้งเป็นชั้นๆ  (ทรงผมในสมัยไพรกเมงและกำพงพระสืบทอดต่อเนื่องไปจนถึงศิลปะแบบกุเลน)

 

แบบกำพงพระ  (พ.ศ.  1250 – 1350)  รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  1

                   เป็นประติมากรรมลอยตัวอย่างแท้จริง  วงโค้งหายไปด้านหลังหมวกทรงกระบอกคลุมลงไปถึงท้ายทอย  ขอบหมวกโค้งเป็นวงแหลมเหนือขมับ  บางรูปเริ่มมีทรงโค้ง ๆ  ตกลงมาเป็นชั้น ๆ  ประดับมีหนวด  โจงกระเบนชั้นชายพกปรากฏเหนือต้นขา  ชายกระเบนรูปสมอเรือหายไป  ภาพสลักสตรีมีขนาดเล็ก  ริ้วผ้าทำคร่าวๆ  ชายพกมนกลมเหมือนผ้าจริง

                (ชมได้ที่ปราสาทกำพงพระ  ปราสาทออกยม  ปราสาทตระพังพง  และปราสาทภูมิปราสาท

แบบกุเลน  (พ.ศ.  1370 – 1420)  รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  2

                   สืบต่อจากไพรกเมง  และกำพงพระ  ประติมากรรมเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ  ก่อนหน้าศิลปะกุเลนพบศิลปกรรมบางชิ้นที่หมู่บ้านร่อลวย  การนุ่งผ้าโจงกระเบนในยุคก่อนหน้านี้มีสองแบบ 

แบบชาย  ชายพกซึ่งมีขอบด้านบนจีบเป็นริ้ว  แบบที่สองไม่มีชายพกแต่มีชายผ้าห้อย  เป็นรูปคล้ายสมอเรืออยู่ข้างหน้า  และมีชายเข็มขัดพันห้อยลงมาสองชาย  ศิลปะแบบกุเลน  พระนารายณ์ที่รูป

อารักข์  แต่งองค์พิเศษคือมีชายผ้าข้างหน้าซ้อนกันสองชั้นรูปคล้ายสมอเรือ  และมีปลายชายพกอยู่เหนือต้นขาด้านซ้ายคาดเข็มขัดมีชายชายเดี่ยวห้อยอยู่ทางด้านขวา  โดยมากหากสวมหมวกก็จะ

สวมหมวกทรงกระบอก  แต่กระบังหน้าหมวกไม่แหลมลงมา  ทำให้เห็นผม

                (ชมได้ที่  ปราสาทรูปอารักษ์  ปราสาทถมอดอบ  ปราสาทกากี  ปราสาทกรอหอม  และปราสาทนักตา)

แบบพระโค  (พ.ศ.  1420 -1440)  รัชสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่  1

                   ประติมากรรมออกจากกลมอ้วน  โจงกระเบนค่อนข้างยาวผ้าด้านล่างตัดเป็นเส้นตรง

ชายพกด้านบนจีบเป็นริ้วชายผ้ารูปสมอเรือห้อยย้อยลงมา  เข็มขัดมีสองชายและชายเดียวผ้าสตรีหรือนางอัปสรามีจีบเป็นริ้วด้านหน้า  กะบังหน้ามีอยู่ทั่วไปในประติมากรรมยุคนี้  เทวดามักเกล้าผมเป็นผมมวยรูปทรงกระบอกแคบ  มีผมเป็นวงโค้งเล็ก ๆ  ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น  รูปนักบวชก็เช่นกันคือเกล้าผมโดยไม่มีกะบังหน้า

                (ชมได้ที่  ปราสาทพระโด  ปราสาทบากอง  และปราสาทโลเลย)

 

 

แบบบาเค็ง  (พ.ศ.  1440 – 1470)  รัชสมัยพระเจ้ายโสวรมันที่  1

                   ศิลปแบบบาเค็งเป็นแบบที่แสดงอำนาจมากที่สุดในศิลปะขอม  โดยมากลำตัวจะยืนตรง 

การเอียงสะโพกหายไปหมด  การแต่งกายบุรุษจะนุ่งผ้าโจงกระเบนยาว  มีชายพกเหนือกันขาด้านซ้าย  ชายผ้ารูปสมอเรือซ้อนอยู่ด้านหน้า  2  ชั้น  ชั้นบนยาวที่สุด  เหนือเข็มขัดจีบเป็นริ้วคล้ายพัด  เข็มขัดสองชายปลายชายพกเหนือขา  ผ้านุ่งสตรีมีขอบผ้ามนจีบเป็นริ้วพับย้อนทับเข็มขัดออกมาข้างหน้า  เข็มขัดที่คาดอยู่ใต้ชายผ้าที่มนเป็นริ้วมีพวงอุบะยาวห้อยประกอบ  รูปนางอัปสรากายประดับในซุ้มเรือนแก้ว  หน้าตาดูเรียบ ๆ  แต่ที่ศีรษะสวมศิราภรณ์แบบผู้ชาย  เปลือยอกใต้ราวถันมีไขมันเป็นชั้น ๆ  (ติดคติจากอินเดียถือว่าเส้นเหล่านี้แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์)  นิ้วกรีดกรายสวยงาม  เช่น มีนางหนึ่งมือขวาถือดอกบัว  แต่มือซ้ายถือก้านพู่  ดูลักษณะการกรีดนิ้วและนุ่งกระโปรงพลีทเท่านั้น  จึงพอจะมองได้ว่าเป็นสตรี

(ชมได้ที่ปราสาทบาเค็ง  หรือพนมกันดาล  ปราสาทพนมกรอม  ปราสาทพนมบก  และปราสาทกระวาน)

 

แบบเกาะแกร์  (พ.ศ.  1465 – 1690)  รัชสมัยพระเจ้าอีศานวรมันที่  2  พระเจ้าชัยวรมันที่  4  และ

พระเจ้าหรรษวรมัน  ที่  2

                   ประติมากรรมมีขนาดใหญ่โตขึ้น  ใบหน้าอ่อนหวานกว่าศิลปะบางเค็งบาแค็ง  จมูกโค้ง 

เส้นคิ้วคมน้อยลง  ยิ้มเล็กน้อย  บุรุษบางรูปแต่งกายแบบบาแค็ง  นุ่งผ้าไม่มีขอบผ้าย้อยเข็มขัดออกมาทางหน้าท้อง  ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นไปชายผ้ารูปคล้ายสมอเรือสองชิ้น  ชิ้นล่างยาว  ชายพกต้นขาหายไปสตรี  ปลายชายหกเหนือต้นขาด้านซ้ายหายไป  ชายผ้าด้านหน้ารูปคล้ายสมอเรือสองชั้นยังคงมีอยู่  และลักษณะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ  ขอบผ้าที่ย้อนออกมาหน้าท้องใหญ่ยิ่งขึ้น  รอยพับป้ายหน้าของนุ่งและพวงอุบะที่เคยประดับหายไป  ประติมากรรมลอยตัวในสมัยนี้มีเครื่องประดับประดาตกแต่งมากที่สุดในศิลปะขอม  มีทั้งเข็มขัดบนลำตัวสองเส้น  สวมสร้อยคอ  พาหุรัดและกำไลมือ  กะบังหน้าที่มีลวดลายประดับมากยิ่งขึ้น  ลายบัวขาบ  กลับมามีบทบาทมากขึ้นแต่ก็หายไปในปลายยุคสมัย  กะบังหน้ามักรวมไปกับมงกุฎเป็นชิ้นเดียวกันมงกุฎแบบใหม่เป็นรูปทรงกรวย

                   มีการเกล้าผมเป็นวงโค้งเล็ก ๆ  ซ้อนกันแบบเดิมมีน้อยลง  เริ่มมีการเกล้าผมแบบใหม่ ๆ  นิยมถักผมตามขวาง

                (ชมได้ที่  ปราสาทเกาะแกร์  และปราสาทปักษีจำกรง)

แบบแปรรูป  (พ.ศ.  1490 – 1510)  รัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่  2

                   ในยุคศิลปะแบบปราสาทแปรรูปยังคงสืบต่อมาจากศิลปะแบบเกาะแกร์  แต่มีการเลียนแบบของเก่าอยู่บ้าง  เช่นเลียนแบบศิลปะแบบบาเค็ง  รูปเทพธิดาที่ปราสาทแม่บุญตะวันออก  ยังคงมี

ชายผ้ารูปสามเหลี่ยมอยู่  แต่ที่ปราสาทแปรรูป  ชายผ้านี้หายไป  แผ่นหลังมงกุฎปกคลุมไปถึงต้นคอ  มีลวดลายมากขึ้น  ใบหน้ายังคงคล้ายเกาะแกร์อยู่  ผ้านุ่งของบุรุษนุ่งขอบผ้าย้อนออกมาหน้าท้องแบบศิลปเกาะแกร์และมีการผสมผ้านุ่งแบบบาแค็งเข้าไปด้วย

แบบบันทายสรี  (พ.ศ.  1510 – 1550)  รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  5

                   แบบบันทายสรี  รวบรวมและเลียนแบบศิลปะยุคก่อน ๆ  เข้ามาไว้ด้วยกันอย่างเหมาะเจาะ

ลงตัว  ถึงแม้ภาพประติมากรรมจะมีขนาดเล็กแต่ก็ดูยิ่งใหญ่ไม่แพ้มหาปราสาทอื่นๆ  ภาพสลักเทพารักษ์และนางอัปสราในซุ้มเรือนแก้วบนผนังเทวาลัย  มีลักษณะไม่ใหญ่โตแต่เนื้อตัวดูอวบอิ่มประดับด้วยเครื่องถนิมพิมพาภรณ์อย่างชัดเจน  โดยเฉพาะนางอัปสราที่นี้แล้ว  เอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือถันมีขนาดโตสมส่วนอย่างที่เรียกว่าทัดดอกจำปีไม่หล่น  ส่วนหูก็มีต่างหูประดับ  ฝีมือประณีตคล้ายดอกไม้แขวนยานลงมาจนถึงไหล่ไม่สวมศิราภรณ์ประดับศีรษะเหมือนนางอัปสรายุคอื่น  เพียงแต่มีดอกไม้ประดับเล็กน้อย  หน้าตาอ่อนหวาน  เด่นที่เอวและสะโพก  มีเข็มขัดผ้าและพะวงอุบะห้อยร้อยรอบตัว  นิ้วมือกรีดกราย  เอียงสะโพกเล็กน้อย

                (ชมได้ที่  ปราสาทบันทายสรี  ปราสาทเสลา  ปราสาทเล็กหลังปราสาทคลังเหนือ)

แบบคลัง  (พ.ศ.  1510 – 1560)  รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่  1

                   ผ้านุ่งของบุรุษคล้ายสมัยแบบเดิม  ขอบผ้าที่ย้อนออกมาทางหน้าท้องไม่ปรากฏ  (ปลาย

ชายพกนี้ในภาพสลักทวารบาลบางภาพเท่านั้นที่มีขอบผ้าย้อนออกมาทางหน้าท้องอีก)  มีชายพกสลักเคร่า ๆ  บนต้นขาด้านซ้าย  บางครั้งก็มีทั้งสองต้นขา  แต่ชายผ้าคล้ายสมอเรือชิ้นล่างยาวที่สุด  สตรีคล้ายสมัยเกาแกร์  มีขอบพับย้อนออกมาทางหน้าท้อง  ขอบที่ว่านี้จะแคบกว่าสมัยเกาะแกร์  สำหรับรูปเทพธิดาในซุ้มที่ประตูพระราชวังหลวงก็นุ่งผ้าแบบเดียวกันกับเทพธิดาสมัยบันทายสรี            แบบวังหลวงดังกล่าวยังคงคาดเข็มขัดมีอุบะแบบชวาไว้  ส่วนชายพกหายไปจากอิทธิพลของศิลปะ

บันทายสรี  ที่มีต่อแบบคลัง  หากจะสังเกตเครื่องอาภรณ์คือไม่สวมทั้งสร้อยคอ  เข็มขัดบนลำตัว  กำไลมือ  กะบังหน้าก็มีลักษณะคล้ายบันทายสรี  ผมถักอย่างสวยงาม  และที่เกล้าผมสูงไม่มีกะบังหน้า  ซึ่งเป็นแบบที่นิยมของบันทายสรีก็มีให้เห็น  มวยผมข้างบนมีรูปร่างกลมมากขึ้นกว่าเดิม

                   (ชมได้ที่  ปราสาทตาแก้ว  ปราสาทคลังเหนือและปราสาทคลังใต้  ปราสาทพิมานอากาศ  ประตูซุ้มพระราชวังหลวง)

 

แบบบาปวน  (พ.ศ.  1560 – 1630)  รัชสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยาวรมันที่  1

                   ประติมากรรมในยุคนี้มีเครื่องแต่งกายแบบใหม่เข้ามาให้เห็น  ซึ่งมีอิทธิพลแบบบันทายสรี

ที่วิวัฒนาการมากยิ่งขึ้นเข้ามาแทนที่  รูปประติมากรรมจะเล็กกว่าสมัยก่อน  บั้นเอวเล็ก  ตะโพกแคบ  บุรุษนุ่งโจงกระเบนจีบเป็นริ้ว  ขอบเว้าลงมามากที่หน้าท้องทั้งหญิงและชาย  ข้างหลังสั้นขึ้นมาเกือบถึงกลางหลังขอบบนของผ้านุ่งเว้าลงมามากที่หน้าท้อง  มีปลายชายพกเหนือต้นขาด้านซ้าย ต้นชายพกม้วนเป็นขมวดที่เอว  อาจมีหนึ่งชายหรือสองชาย  ช่วงปลายสมัยนี้  ชายกระเบนด้านหลังเป็นรูป

ปีกผีเสื้อ  บางครั้งเป็นสองชั้นกลายเป็นปมใหญ่  เข็มขัดเรียบมีชายเพียงชายเดียวห้อยลงมาจากตัว เข็มขัด  (เข็มขัดมีลวดลายคาดค่อนข้างต่ำ)  ใบหน้าบุรุษมีหนวดและเคราเฉพาะที่คาง  เคราสลักเป็นรูปปีกกาประติมากรรมรูปสตรีจะยืนเอียงตะโพกเล็กน้อย  ใบหน้ารูปไข่ค่อนข้างกลมดูอ่อนหวาน คางเป็นปมมีลักยิ้มอยู่ตรงกลาง  จมูกเล็ก  ปากเต็ม

                   สตรีนุ่งผ้าเป็นริ้วขอบบนของผ้าเว้าลงมามากเหมือนของบุรุษมีชายผ้านุ่งข้างหน้าพับซ้อนกัน  มีปลายชายรูปหางปลา  มีเข็มขัดทำด้วยผ้าผืนเล็กเรียบ  เข็มขัดเดิมเรียบไม่มีรอยต่อ  ต่อมาจึงผูกเป็นห่วงและตัวเข็มขัดเองมีลวดลายเพชรพลอยประดับ  มีอุบะประกอบด้วย  ทรงถักรวบเป็นมวยเล็กๆ  อยู่บนศีรษะ  มีห่วงทำเป็นรูปลูกประคำใหญ่รัดอยู่โดยรอบช่วงปลายสมัย  มีการคิดค้นรูปแบบการแต่งกายใหม่ ๆ  และเลียนแบบรูปแบบเดิม ๆ  คือ ขอบผ้าด้านข้างเอวโค้งสูงขึ้นไปมากหน้าท้อง   แคบลง  ขอบชายผ้าเริ่มพับย้อนออกมาทางด้านข้างของหน้าท้อง

                   ต่อมาชายผ้าพับย้อนด้านข้างเริ่มใหญ่ขึ้น  และปรากฏอยู่เหนือต้นขาด้านขวาจนกระทั่งกลายเป็นชายผ้าขนาดใหญ่ในศิลปะแบบนครวัด  ชายพกของผ้านุ่งสตรีก็ยาวออกเกินขนาด  กลายเป็นผ้ายาวแคบ  กระบังหน้ามีเครื่องประดับประดามากยิ่งกว่าก่อน  กะบังหน้าเมื่อผสมกับมงกุฎรูปกรวยค่อนข้างเตี้ย  บางครั้งก็ผสมกับมวยผมซึ่งมีรูปร่างแบบกรวยแต่มีปลายบานออกเล็กน้อย  มวยดังกล่าวถักผมเป็นแนวตั้งตรงขึ้น

  (ชมได้ที่  ปราสาทบาปวน  ปราสาทแม่บุญตะวันตก  ปราสาทวัดขนาง)

 

แบบนครวัด  (พ.ศ.  1650 – 1720)  รัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่  2                                                        

            ประติมากรรมดูแข็งกระด้าง  มีรูปร่างอ้วนเตี้ย  ใบหน้าเป็นเหลี่ยมชัดมากกว่าศิลปะแบบบายน  จมูกเล็ก  ริมฝีปากใหญ่  ใบหน้ามีคิ้วเป็นเส้นแหลมต่อกัน  หนวด  เครา  แทบไม่มีให้เห็น  หากจะมีก็เป็นภาพทวารบาลและภาพฤาษี  ฝีมือสลักภาพนูนต่ำดีมากขึ้น  ผ้านุ่งของบุรุษมีชายผ้าข้างหน้ายาวคล้ายสมอเรือสองชั้นปล่อยชายออกมาจนยาวมากเท่ากับขอบผ้านุ่ง  ขอบผ้าที่ย้อนออกมายังอยู่บ้างหายไปบ้าง  ชายพกพาดตั้งแต่ขาหนึ่งสู่อีกขาหนึ่งภาพสลักนางอัปสรานั้นดูปราดเปรียว   ยืนเปลือยอกเหน็บผ้าชายห้อยลงมาจากเอวยืดยาวเป็นเอกลักษณ์แบบอย่างศิลปะนครวัดนั่นเอง       ผ้าที่นางอัปสราที่นุ่งนั้นโดยมากเป็นผ้านุ่งจีบมีขอบผ้าสี่เหลี่ยมพับย้อนออกมาทางด้านหน้าท้อง   ชายผ้ารูปหางปลาก็ยังคงไว้  (แต่บางครั้งก็ไม่มี)

                   เครื่องประดับประเภทเครื่องอาภรณ์ต่างๆ  ของนครวัด  ทำให้เราสามารถกำหนดแบบอย่างศิลปะนครวัดได้ง่ายขึ้น  เครื่องอาภรณ์เปล่านี้รวมทั้งของบุรุษและสตรี  เช่นสร้อยคอ  เป็นแผ่นใหญ่  เข็มขัดประดับด้วยอุบะเป็นรูปใบไม้เล็ก ๆ  กำไลมือ  เท้ามีครบครัน  ประติมากรรมแทบทั้งหมดมักสวมกะบังหน้า  ช่วงปลายสมัยนครวัดกะบังหน้าเปลี่ยนไปเป็นรูปมงกุฎโค้งลงขมับทั้งสองข้าง  (กะบังหน้ามักผสมกับมงกุฎทรงกรวย)  บางครั้งก็เกล้าผมเป็นชฎากรวยสูงบานออกข้างบน  กะบังหน้าประดับด้วยลวดลายดอกไม้

นางอัปสรานครวัดที่มีมากมาย  ยืนเรียงรายรอบ ๆ  ทั้งชั้นใน  ชั้นนอกของมหาปราสาทนครวัด  เป็นประติมากรรมที่ส่งให้ความใหญ่โตแข็งแรงของนครวัด  ดูนุ่มนวลชวนฝันมากยิ่งขึ้น  ลดการตื่นตระหนกกับความมโหฬารของมหาปราสาทได้เป็นอย่างดี  ความงดงามทั้งด้านการออกแบบของนางอัปสราแต่ละนางที่มีรูปแบบไม่ซ้ำกันทั้งพันกว่านางนั้น  สำหรับผู้ที่ชื่นชอบหลงใหลศิลปะเป็นชีวิตแล้วยิ่งตื่นตาตื่นใจร้อยเท่าพันทวี

                (ชมได้ที่ปราสาทบึงมาลา  ปราสาทพระป่าเลไลย์  ปราสาทพิมาย  (จังหวัดนครราชสีมา  ประเทศไทย)  ปราสาทพนมรุ้ง  (ประเทศไทย)  ปราสาทพระปิตุ  ปราสาทเจ้าสายเทวดา  ปราสาทบันทายสำเหร่  ปราสาทเสาภาพ  ปราสาทนครวัด  และปราสาทวัดอัถวา)

 

แบบบายน  (พ.ศ.  1700 – 1750)  รัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  7

                   ประติมากรรมศิลปะแบบบายนมีลักษณะที่ลึกซึ้งกว่าประติมากรรมยุคก่อน ๆ  บางภาพยังแสดงอาการยิ้มเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นอย่างหนึ่งของศิลปะบายน  เครื่องแต่งกายของบุรุษมีลักษณะของนครวัดเหลือตกทอดมาบ้างคือชายผ้ารูปสมอเรือและเข็มขัด  เครื่องแต่งกายโดยมากของศิลปะแบบบายนมักจะง่าย ๆ  เหตุผลจากหลักศิลาจารึกได้กล่าวไว้ว่า  เครื่องนุ่งห่มที่ทำด้วยผ้าผ่อนจริง ๆ  ใช้กับรูปเทวดา  ดังนั้นเมื่อนำผ้าไปนุ่งห่มทับประติมากรรมอีกชั้นจึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะแกะสลักลวดลายผ้าให้วิจิตรเพราะอย่างไรก็ไม่เห็นลวดลายอยู่แล้ว

                   ส่วนภาพเทพทวารบาลไม่ได้รับการบูชาดังกล่าวมาข้างต้น  ภาพเทพทวารบาลจึงมีการแกะลวดลายเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ  หากสังเกตให้ดีก็จะเห็นว่ามีการพัฒนาไปจากนครวัดเป็นอันมาก  เช่น  มีการนุ่งค่อนข้างยาวประกอบด้วยขอบผ้าพับย้อนออกมาหน้าท้องค่อนข้างแคบ  มี  ชายผ้าซ้อนกันเป็นรูปคล้ายสมอเรือ 2 ชั้น  ส่วนลวดลายของเครื่องประดับก็สลักแบบนูนต่ำแทนที่ จะสลักแบบเป็นรอย

                   ทรงผมถักเป็นรูปจันทร์เสี้ยวแบบคร่าว ๆ  ซ้อนกันเป็นตรงขึ้นไปมวยผมเป็นรูปทรงกระบอก  หรือมงกุฎรูปกรวยประกอบด้วยกลีบบัวซ้อนกันหลายชั้น  กะบังหน้าแทบไม่มี  หากมีก็จะเป็นมงกุฎหรือหยักลงบนขมับ

                   สตรีนั้นจะนุ่งผ้าตกลงมากตรงๆ  มีรอยพับปรากฏอยู่ด้านหน้าอย่างชัดเจน  ลวดลายผืนผ้านุ่งก็สลักเป็นลวดลายดอกไม้เล็ก ๆ  อย่างหยาบ ๆ  ผ้านุ่งนี้มีชายผ้าพับซ้อนกันอยู่ด้านหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมชายผ้านี้ต่อ ๆ มาก็คลี่คลายออกเป็น  “หางปลาฉลาม”  ไปในช่วงปลายสมัยศิลปะบายน

                   ภาพสลักนางอัปสราที่ผนังปราสาทบายน  แสดงให้เห็นถึงความละเอียดละเมียดละไมอ่อนหวาน  งามจริตในท่าทางลูบไล้เส้นผม  งามเครื่องแต่งกายที่มีความเป็นผู้ดีอยู่มาก  ริ้วผ้าขนาดใหญ่ข้างลำตัว  พับผ้าอุบะห้อยร้อยที่สะโพกจนถึงปลายขอบผ้า  เนื้อผ้ามีทั้งเรียบและลายดอกประดับ 

ที่ขาดไม่ได้คือพะวงอุบะห้อยร้อยที่สะโพก  ส่วนที่ใบหน้าก็มีรอยยิ้มด้วยความละมุนละไมกว่า     นางอัปสรายุคใด

                   แม้นว่าศิลปะผ้านุ่งของสตรีแบบบายนจะได้รับอิทธิพลมาจากนครวัดก็ตาม  แต่เครื่อง       แต่งกายของบุรุษไม่ได้เป็นเช่นนั้น  มีการพัฒนาไปจากเดิมพอควรทีเดียว

                   ที่น่าสนใจคือมีการแบ่งรูปเทพธิดาในศิลปะแบบบายนไว้สามแบบ  ตรงกับสามสมัยของ บายนพอดี  ผู้ที่แบ่งคือท่านฟิลิปป์  สแตร์น  ท่านแบ่งไว้ดังนี้

                   แบบแรก  ได้รับรูปแบบมาจากสมัยหลังสุดของศิลปะแบบนครวัด  ผ้านุ่งมีชายอยู่ข้างหน้าและข้าง ๆ  สวมมงกุฎรูปกรวย

                   แบบที่สอง  มีชายผ้าด้านหน้าใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม  ทรงผมประดับประดาด้วยดอกไม้  เป็นจำนวนมาก

                   แบบที่สาม  มีลักษณะยิ้มซึ่งไม่เคยปรากฏอยู่เลยในสมัยแรก

                   หลังศิลปะแบบบายน  ใบหน้าของภาพประติมากรรมยังคงเอกลักษณ์ของศิลปะแบบบายนไว้บริเวณส่วนลำตัวสลักหยาบยิ่งขึ้น  เทวดาสวมหมวกรูปกรวยแคบขึ้นในตอนบน  ซึ่งทรงหมวกเช่นนี้ก็ปรากฏในระยะสั้นๆ  ในขณะเดียวกันทรงผมที่ปรากฏก็มีทรงหยิกไม่เป็นธรรมชาติก็มีให้เห็น  เครื่องแต่งกายสตรีก็มีน้อยลง  ที่น่าสนใจคือ  มีอิทธิพลของศิลปะไทยปรากฏอยู่ในลวดลายเครื่องประดับ 

                (ชมได้ที่  ปราสาทตาพรหม  ปราสาทบันทายกเดย  ปราสาทพระขรรค์  และปราสาทบายน)

                   ในประเทศไทย นางอัปสรา ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูเช่นเดียวกับเขมร ที่มีปรากฎชัดในสมัยอยุธยา ซึ่งในราชสำนักสมัยกรุงอยุธยาราชธานี  มีการกล่าวถึงนางอัปสราอยู่ในอนิรุทธคำฉันท์  กล่าวว่านางสนมทั้งหลายก็คือ  เทพอัปสร  นั่นเอง  ซึ่งเทพอัปสร ก็ล้วนเป็น ลูกท้าวไท  (หมายถึงลูกสาวขุนนางที่ถวายตัวให้เป็น  เทพอัปสร)  ดังกาพย์ในอนิรุทธคำฉันท์  ที่กล่าวไว้ว่า

 

                                                                           ย่อมลูกท้าวไท้

                                สมบูรณบัวไส                      วิไลยอาภา

                                ลออเอววรรณ                      ลวาดเอวลา

                                พิศเพี้ยนพักตรา                  เปรียบตรู

                                บูรณ์จันทร์                            ยอกรประนม

                                เหนือเกล้าบังคม                 บังคัลเคียมคัล

                                สาวศรีอัปสร                        อาจอับสาวสวรรค์

                                ถึงถวายกำนัล                     กำหนดนานา

                                บ้างจับระบำ                         แออวยนวยรำ

                                ปรีด์เปรมพักตรา ยยิ้มแย้มโอษฐ

                                ม่ายเมียงหาตา                     เห็นหื่นหรรษา

                                สุดสิ้นใจรัก                          คือเทพอัปสร

                                สรรพสรรพาภรณ์               เรืองรองตระศักดิ์

                                เด็จลงจากฟ้า                   ยาตรหล้าเลิศลักษณ์

                                ค่าใครเชยชัก                        ทราบสิ้นสุดสยอง

 

                   ในหนังสือไตรภูมิมีกล่าวถึงนางอัปสราอยู่เหมือนกัน  โดยกล่าวถึงช้างทรงของพระอินทร์ชื่อช้างเอราวัณมีเทพอัปสร  หรือนางฟ้าร่ายรำอยู่เป็นจำนวนมากถึง  3,882,417   นาง  เทพอัปสรเหล่านี้ยังมีบริวารคอยรับใช้อีกรวม  27,176,919  นาง  (ตัวเลขจำนวนนี้ได้มาจากหนังสือไตรภูมิกถาฉบับถอดความ  ที่จัดทำโดยคณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน  ในคณะอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสาระสนเทศ  พ.ศ.  2518)  บางตำรากล่าวถึงตัวเลขของนางอัปสรากับสนมน้อยกว่านี้

                   ด้านอาจารย์มหาหรีด  เรืองฤทธิ์  (ถึงแก่กรรมแล้ว  อดีตผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีไทย กรมศิลปากร)  ได้เล่าเรื่องพระอินทร์ ที่มักมากในกามคุณที่นางอัปสราปรนนิบัติจนเคยตัว  ติดนิสัยไม่เลือกลูกเขาเมียใคร  จนเป็นเหตุให้เกิดเรื่องราวจนถึงกับถูกสาปให้มีโยนี  (อวัยวะเพศสตรี)  ติดเต็มตัว  ไว้ดังนี้      

                   เรื่องย่อมีอยู่ว่า  พระอินทร์มีชายาอยู่แล้ว  8  องค์  นางอัปสราอีกนับแสน ๆ  องค์ที่คอยบำรุงบำเรอกามรสแก่พระอินทร์เพียงองค์เดียว  แต่ก็หาเพียงพอกับความต้องการไม่ ล่วงมาวันหนึ่ง  พระอินทร์ไปพบนางอหลยา  ซึ่งเป็นเมียโยคีอยู่ในป่าด้วยความปรารถนาต่อนางอหลยา  พระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นโยคีผู้สามี  แล้วเข้าไปล่วงเกินประเวณีแก่นางอหลยา นางอหลยานั้นก็รู้แต่ว่าเป็นสามีปลอม  แต่ด้วยความอยากจะลองจึงปล่อยให้เรื่องเลยตามเลย

                   เมื่อเสร็จสมอารมณ์หมายแล้ว  นางอหลยากลัวว่าโยคีสามีจะมาเห็นเข้าจึงเร่งให้พระอินทร์รีบกลับเสีย  พระอินทร์ก็ทำตาม  ในขณะที่เดินทางกลับ  บังเอิญสวนทางกับโยคีครั้นจะหลีกหลบ

ก็ไม่พ้นทาง  โยคีจับพิรุธได้จึงตวาดว่า  เหม่  ศักระ  ทำชั่วไม่อายใจ  จากนั้นจึงสาปส่งให้พระอินทร์มีสหัสโยนี  มีดอกดวงเป็นรูปโยนีเกลื่อนกร่อนไปทั้งร่าง

                   ด้วยความอับอายพระอินทร์จึงหลบลี้หนีขึ้นไปสวรรค์  เหล่าเทวดาเห็นพระอินทร์มีโยนีติดเต็มร่าง  น่ารังเกียจเช่นนั้น  จึงนำเรื่องราวของพระอินทร์ไปทูลให้พระอิศวรทรงทราบ

                   พระอิศวรทรงพระกรุณาประสาทพรโด

หมายเลขบันทึก: 498793เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2012 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนอาจารย์ หากสาปได้เหมือ โยคี วันนี้มนุษย์โลกคงมีเต็มตัวลายคน

สวัสดีค่ะอาจารย์ธีรกานต์....ขอบคุณบันทึกนี้ค่ะ อ่านมาตอนท้ายๆ ทำให้ภาพบนสวรรค์ชั้นฟ้า กับมนุษย์เดินดิน ดูจะล้อๆกันนะค่ะ พระอินทร์ นางอัปสร โยคี โยนี ;-))

บันทึกอาจารย์น่าสนใจมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท