สัมมนาเชิงปฎิบัติการ


ธุรกิจบริการ .... ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง “ธุรกิจบริการ... ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond”
วันเสาร์ที่ 18 และวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555
ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา
1. ชื่อโครงการ
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ธุรกิจบริการ... ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond”
2.หน่วยงานรับผิดชอบ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. หลักการและเหตุผล
หากพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน พบว่า ภาคบริการมีความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ของประเทศ ทั้งนี้ โครงสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายต่างก็มีภาคบริการเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนแทบทั้งสิ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การเจรจาการค้าโลกในปัจจุบันต่างให้ความสาคัญกับการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน อีกทั้งกระแสการเปิดเสรีทางการค้ามีแนวโน้มที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงในหลายมิติ จึงไม่สามารถแยกบริบทด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนออกจากกัน รวมทั้งภาคบริการยังเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี นวัตกรรม การเคลื่อนย้ายของทุนการเงินและทุนมนุษย์
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับการยอมรับในฐานะเป็นผู้ผลิตสินค้ารายสาคัญของโลก ขณะที่ยังขาดความชัดเจนของกรอบ ทิศทาง นโยบายและกลไกการพัฒนาภาคบริการโดยรวมที่สามารถใช้จุดแข็งและโอกาสที่มีอยู่ อาทิ การท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง อีกทั้งสภาพแวดล้อมภายในประเทศยังไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดาเนินธุรกิจของภาคเอกชน อาทิ ด้านกฎระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และโครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็น ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่ระบุว่า “พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมพร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม”
กระบวนการเปิดเสรีการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนซึ่งเริ่มเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้นเป็นลาดับตามที่ระบุไว้ในข้อผูกพันการเปิดตลาดชุดที่ 1-7 และจากชุดที่ 8-11 ระดับการเปิดตลาดจะทวีความเข้มข้นขึ้น โดยนอกจากจะอนุญาตให้ผู้ให้บริการอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการทุกสาขาได้เกินกึ่งหนึ่งเริ่มตั้งแต่ข้อผูกพันการเปิดตลาดฯ ชุดที่ 8 และอย่างน้อยร้อยละ 70 ในสาขาบริการเร่งรัด และทยอยยกเลิกอุปสรรคในการเข้ามาให้บริการทั้งหมดตามที่อาเซียนกาหนดเมื่อปี 2558 ขณะเดียวกันอาเซียนยังดาเนินการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการกับคู่เจรจาอื่นๆควบคู่กันไปด้วย นอกจากกรอบอาเซียนแล้ว ไทยก็ยังมีการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการแบบทวิภาคีกับคู่เจรจาอื่นๆ ด้วย ดังนั้น เพื่อให้การเปิดเสรีการค้าบริการของไทย
2
เป็นไปอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะต้องกาหนดยุทธศาสตร์ มาตรการ กฎเกณฑ์ และกลไกที่จะพัฒนาและส่งเสริมภาคบริการให้สอดรับกับกระแสการเปิดเสรีและสถานะของธุรกิจบริการไทย อันจะส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยจัดสัมมนา สัมมนาวาระแห่งชาติ: “เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2555 โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาพิเศษ พร้อมวิทยากรผู้ทรงเกียรติจากภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงผู้ประกอบการจากภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เข้าร่วมงานจานวนประมาณ 2,000 คน โดยผลจากการสัมมนาดังกล่าว มีสาระสาคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ คือ ภาคบริการจะเป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต ไทยจึงน่าที่จะใช้นโยบายการเปิดเสรีภาคบริการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาภาคบริการของประเทศให้มีประสิทธิภาพของภาคบริการ และการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและย่อมซึ่งมีจานวนประมาณร้อยละ 90 ของผู้ประกอบธุรกิจบริการทั้งหมด ตลอดจนส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น และการปรับนโยบายของภาครัฐและภาคเอกชนให้สอดคล้องกัน ทางานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อความพร้อมประเทศไทย ให้พร้อมรับโอกาสและการแข่งขันที่จะมีขึ้นนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป (AEC and Beyond)
จากข้อเท็จจริงและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีความเห็นพ้องกันว่า ธุรกิจการค้าภาคบริการจะมีบทบาทความสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตที่ต้องให้ความสาคัญเพื่อพัฒนาอย่างจริงจังเร่งด่วนเพื่อเสริมสร้างสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีอยู่ให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความยั่งยืน อีกทั้งการค้าภาคบริการที่ยังสามารถเพิ่มพูนมูลค่าที่มีนัยสาคัญดังเช่นการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้วอีกด้วย หากภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศมีการร่วมกันกาหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมไปสู่เป้าหมายให้ธุรกิจการค้าภาคบริการทุกภาคส่วนบูรณาการเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน ปี พ.ศ.2558 ตลอดจนสามารถเพิ่มพูนศักยภาพการแข่งขันบูรณาการสู่เศรษฐกิจโลก ดังนั้น จึงกาหนดจัดงานสัมมนาเชิงปฎิบัติการเรื่อง “ธุรกิจบริการ... ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” ในวันที่ 18-19 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมพีช โรงแรรอยัล คลิป บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการสัมมนาวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการสาขาหลัก 4 สาขา ที่เป็นพื้นฐานสาคัญของการพัฒนาประเทศไทยให้พร้อมรับกับ AEC ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจโลจิสติกส์ เพื่อร่วมกาหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจการค้าภาคบริการเชิงโครงสร้าง และเสริมส้างศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ผลที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ จะใช้เป็นข้อมูลและแนวทางประกอบการจัดทายุทธศาสตร์ภาคบริการของประเทศไทยแบบบูรณาการและนาไปสู่การปฎิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลให้ความเห็นชอบต่อไป
3
4. วัตถุประสงค์
4.1 เพื่อให้ผู้ประกอบการในการค้าบริการสาขาต่างๆ ได้ร่วมกันกาหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจการค้าภาคบริการเชิงโครงสร้างและระบบเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพสู่การเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
4.2 เพื่อเชิญหน่วยงานภาครัฐฯที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการสาขาต่างๆ มาร่วมรับฟังและแสดงความเห็นข้อเสนอแนะ เพื่อแสวงหาความร่วมมือที่ใกล้ชิดอย่างสร้างสรรค์จริงจัง รวมทั้งแนวทางการทางานเพื่อการปฎิบัติไปสู่เป้าหมาย
4.3 เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มธุรกิจบริการมาต่อยอดความเชื่อมโยงและเครือข่ายที่สามารถบูรณาการได้อย่างประสิทธิผล
4.4 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และข้อมูลเชิงลึกในการเปิดเสรีภาคบริการของผู้เข้าร่วมการสัมมนา
4.5 เพื่อนาข้อมูลเชิงลึกมากาหนดยุทธศาสตร์และแนวทางปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย
5.ขอบเขตการสัมมนาฯ
การจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ หัวข้อ “ธุรกิจบริการ... ยุทธศาสตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond” จานวน 1.5 วัน ดังนี้
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2555 ภาคเช้า - นาเสนอเนื้อหาสาระและรายละเอียดแต่สาขา ทั้ง 4 สาขา
 สาขาธุรกิจท่องเที่ยว
 สาขาธุรกิจ ICT/IT
 สาขาธุรกิจก่อสร้าง
 สาขาธุรกิจโลจิสติกส์
ภาคบ่าย - สัมมนาเชิงปฏิบัติการแยกเป็นย่อยรายสาขา เพื่อหาแนวทางในประเด็นต่างๆ ดังนี้
 กาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันภาคการค้าบริการเป็นวาระแห่งชาติ โดยจัดลาดับความสาคัญของธุรกิจบริการในลักษณะ Cluster เพื่อดาเนินมาตรการเชิงรุกสาหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ไทยมีศักยภาพด้านการส่งออก และเชิงรับกลุ่มสาขาบริการที่ไทยยังต้องเตรียมความพร้อม รวมทั้งสาขาบริการที่อ่อนไหวและไม่พร้อมเปิดตลาด
 ปรับปรุงระบบสภาพแวดล้อมภายในประเทศที่ยังไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดาเนินธุรกิจทั้งในด้านกฎระเบียบและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็น การวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากร
 มาตรการสนับสนุนภาคธุรกิจบริการเพื่อรองรับการเปิดเสรีอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การส่งเสริมให้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งด้านผลิตภาพ แรงงาน ภาษา ทักษะ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
4
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555
ภาคเช้า – สรุปผลการสัมมนาโดยจัดทาเป็นเอกสารข้อเสนอแนวทางกาหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจบริการของประเทศไทยสู่ AEC and Beyond
6.จานวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เป้าหมายผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ จานวน 500 ท่าน ประกอบด้วยผู้ประกอบการในธุรกิจบริการ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สมาคมวิชาชีพ สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม
7.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 จัดทาข้อเสนอแนวทางกาหนดยุทธศาสตร์ มาตรการ กฎเกณฑ์ และกลไกที่จะพัฒนาและส่งเสริมภาคบริการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ เสนอต่อรัฐบาล
7.2 ก่อให้เกิดกลไกการทางานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชนในการกาหนดนโยบายแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทย ให้พร้อมรับกับโอกาสและการแข่งขันจากการเปิดเสรีการค้าบริการที่จะมีขึ้นนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป (AEC and Beyond)

 

กาหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ธุรกิจบริการ...ยุทธศาตร์แห่งชาติสู่ AEC and Beyond
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น.
ณ THE PEACH โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช โฮเต็ล กรุ๊ป พัทยา
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2555
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ บริเวณ Hall B ชั้น 3
09.00 – 09.05 น. กล่าวต้อนรับ
โดย คุณพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล
ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
09.05 – 09.15 น. กล่าวรายงาน
โดย คุณศรีรัตน์ รัษฐปานะ (to be confirmed)
อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
09.15 – 09.30 น. กล่าวเปิดการสัมมนา
โดย คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
09.30 – 10.00 น ปาฐกถาพิเศษ : อนาคตธุรกิจบริการไทย ภายหลัง AEC
โดย ดร.อาชว์ เตาลานนท์
ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
10.00 - 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 - 12.25 น. การเสวนาหัวข้อ : เปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจไทยสู่ธุรกิจบริการ
- สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว
โดย ดร.วีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
และอดีตผู้อานวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
- สาขาธุรกิจ ICT& IT (Communication & Media)
โดย คุณศุภชัย เจียรวนนท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน)
- สาขาธุรกิจโลจิสติกส์
โดย คุณสุวิทย์ รัตนจินดา
ที่ปรึกษานายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA)
- สาขาธุรกิจก่อสร้าง
โดย คุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
และ คุณเสวก ศรีสุชาต
ประธานกรรมการบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จากัด (มหาชน)
ดาเนินรายการโดย
นพ.สุรพงศ์ อาพันพงษ์
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ เครือโรงพยาบาลพญาไท
และ รศ.สุธรรม อยูในธรรม
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
12.25 - 12.30 น. กล่าวขอบคุณวิทยากรภาคเช้า
โดย คุณทักษิณ วัชระวิทยกุล
นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย
12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 16.30 น. Workshop : กาหนดทิศทางธุรกิจบริการไทย
- ห้องที่ 1 สาขาธุรกิจโลจิสติกส์
โดย ดร.ศรีสลา ภวมัยกุล
รองประธานคณะกรรมการธุรกิจบริการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
- ห้องที่ 2 สาขาธุรกิจก่อสร้าง
โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ห้องที่ 3 สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว
โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ห้องที่ 4 สาขาธุรกิจ ICT/IT
โดย คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ (to be confirmed)
กรรมการผู้อานวยการ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอรปอเรชั่น จากัด (มหาชน)
คุณฉัตรชัย ตวันธรงค์ (to be confirmed)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ 1998 จากัด (มหาชน)
สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมสปริงนิวส์
คุณโฆษิต สุขสิงห์ (to be confirmed)
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จากัด
ดร. กันยิกา ชอว์ (to be confirmed) อาจารย์ประจาสาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- ห้องที่ 5 ทิศทางการปรับตัวและพัฒนาทุนมนุษย์ของภาครัฐและภาคเอกชน
โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
หมายเหตุ ผลสรุปของการสัมมนาฯจะจัดทาเป็นสมุดปกขาว (White Paper) เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและใช้ประโยชน์ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 498392เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท