ข้าวของพ่ออยู่อย่างพอเพียง


1.  ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา

การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน กระบวนการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้านคือด้านหนึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาแต่ละช่วงชั้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ มีทักษะการดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัดสามารถใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพ อีกด้านหนึ่งคือเป็นการบ่มเพาะ กล่อมเกลา ปลูกฝังและปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคม ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยาในฐานะที่ตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเปรียบเสมือนอู่ข้าว อู่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ของไทย ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องการปลูกข้าวโดยดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ดังนั้นจึงเห็นสมควรจัดทำโครงการ “ข้าวของพ่ออยู่อย่างพอเพียง” ขึ้น

 

2.  กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

2.1 หลักการทำงานเป็นระบบ  (System Approach)

2.2 หลักการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Integrate Learning )

2.3 หลักการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  (Team Learning)

2.4 หลักการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

 

3.  วัตถุประสงค์ เพื่อ

                              3.1 ให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เรื่อง “ข้าวของพ่อ” ในแง่มุมต่างๆที่หลากหลาย

                              3.2 ให้นักเรียนเกิดความรัก หวงแหนและภาคภูมิใจในข้าวของไทย

                              3.3 ให้นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

 

4.  เป้าหมาย

 

4.1 เชิงปริมาณ

4.1.1 ร้อยละของนักเรียน มีองค์ความรู้เรื่องข้าวของพ่อ

4.1.2 ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีความภาคภูมิใจในข้าวของไทย

4.1.3 ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

        ในการดำเนินชีวิต

4.2 เชิงคุณภาพ

4.2.1 นักเรียนมีการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.2.2 นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ หาเหตุผลและรู้จักทำงานร่วมกันเป็นทีม

4.2.3 นักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

        ในการดำเนินชีวิต

 

 

5.  กิจกรรมและตัวชี้วัด

           

วัตถุประสงค์

กิจกรรม

ตัวชี้วัด

1.ให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้เรื่อง “ข้าวของพ่อ” ในแง่มุมต่างๆ         ที่หลากหลาย

1. การศึกษาหาความรู้จากเอกสาร ตำรา หนังสือเรียน เว็บไซต์ ฯลฯ

  1. การจัดทำรายงานการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน
  2. การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศ

 

2. การศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

 

 

1. การไปศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ เช่น ศูนย์การเรียนรู้ธรรมชาติสนอง         แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง (สวนจิระศาสตร์)

2. การเชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้ หรือสาธิตกิจกรรมเกี่ยวกับข้าว

2.ให้นักเรียนเกิดความรัก หวงแหน

และภาคภูมิใจในข้าวของไทย

1.การฝึกปฏิบัติทดลองปลูกข้าว

 

2.การร้องเพลง หรือทองคำกลอนเกี่ยวกับข้าว

1.การสังเกตและจดบันทึกการเจริญเติบโตของต้นข้าว

2. นักเรียนร้องเพลงและท่องบทกลอน

3.ให้นักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

 

1.การสอดแทรกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (3ห่วง 2 เงื่อนไข) ในการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

2.การจัดนิทรรศการแสดงผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ข้าวของพ่อ อยู่อย่างพอเพียง”

1.การจดบันทึก, การทำบัญชีรับจ่าย

2. การแสดงศักยภาพ ผลงานของนักเรียน

 

 

 

 

6.  แผนการดำเนินงาน

                การจัดทำโครงการ”ข้าวของพ่อ อยู่อย่างพอเพียง” มีกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ดังนี้

 

 

การเพาะปลูก

 

การบำรุงรักษาและเก็บเกี่ยว

 

 

การแปรรูปผลิตภัณฑ์

คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์

ของผู้เรียน

 

 

ข้าวของพ่อ

 

3 ห่วง

2 เงื่อนไข

เศรษฐกิจพอเพียง

 

 

 

การนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

ตามแนวพระราชดำริ

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

 

 

 

กิจกรรมที่จะดำเนินการ ดังนี้

 

กิจกรรม

หลักการ/รายละเอียด

1. การสรรหาโรงเรียนเครือข่าย

 

ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนเครือข่าย 3 โรงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้แก่โรงเรียนประชาศึกษา, โรงเรียนศิริเสนา และโรงเรียนรอตเสวกวิทยา

2. การประชุมชี้แจงคณะครูและผู้บริหารโรง เรียนเครือข่าย

การดำเนินการจัดกิจรรมตามโครงการ “ข้าวของพ่ออยู่อย่างพอเพียง” จะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากคณะครูและผู้บริหาร

3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ             ในการศึกษาเรียนรู้ลักษณะบูรณาการ โดยศึกษาเรื่องข้าวจากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (Site  visit)

การเรียนรู้จากความสำเร็จของผู้อื่นเป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนา จึงจัดให้มีนิทรรศการ กิจกรรมการแสดงศักยภาพนักเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนและกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

5. การติดตามประเมินทบทวน

แต่งตั้งผู้ประสานงานการเรียนรู้ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิโรงเรียนละ 1 คน เพื่อเข้าไปให้คำปรึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และติดตามประเมินทบทวน (นิเทศ) อย่างต่อเนื่อง

8. การประชุมสรุปผลการดำเนิน

   โครงการ

 

เพื่อสรุปบทเรียนและผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นโครงการเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอตัวอย่างที่ดีของการจัดทำโครงการ”ข้าวของพ่ออยู่อย่างพอเพียง”

 

 

7.  ระยะเวลา

                10  พฤษภาคม  2554 –  30  เมษายน 2555 

 

8.  งบประมาณ

                รวมทั้งสิ้น   150,000 บาท  (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

 

9.  ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

9.1 ร้อยละของนักเรียน มีองค์ความรู้เรื่องข้าวของพ่อ

9.2 ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีความภาคภูมิใจในข้าวของไทย

9.3 ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

     ในการดำเนินชีวิต

 

 

10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 นักเรียนมีการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

10.2 นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ หาเหตุผลและรู้จักทำงานร่วมกันเป็นทีม

10.3 นักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้

        ในการดำเนินชีวิต

 

 

11.  การประเมินผลโครงการ

            11.1  จากผู้ประสานงานการเรียนรู้  (Facilitator)

                11.2  จากผลงาน / ชิ้นงานของนักเรียน

                11.3  จากรายงานการประเมินผล

 

12.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                12.1  โรงเรียน มีเครือข่ายการพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

                12.2   ครู นักเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้เรื่อง “ข้าวของพ่อ อยู่อย่างพอเพียง”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 496926เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท