ประโยชน์ของหินฟอสเฟต


หินฟอสเฟตนั้นพืชมีความต้องการใช้มากในช่วงที่มีการออกดอก ผสมเกสร และในระยะที่เป็นผลแล้ว ถ้าในดินมีการสะสมธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียมน้อยพืชจะแสดงอาการขาดได้ทันที

กลุ่มวัสดุปูนในบ้านเรานั้นมีให้เลือกใช้ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นปูนมาร์ล ปูนเปลือกหอย ปูนแคลเซียม ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ และฟอสเฟต เหมาะต่อการนำไปใช้ในในเลือกสวนไร่นา ในอดีตนั้นจะได้รับการจำแนกแจกจ่ายจากภาครัฐกันค่อนข้างมาก เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินโดยที่ไม่ทราบว่าถ้านำไปใช้กับดินที่มีค่าพีเอชเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่แล้วนั้นจะทำให้เกิดการสะสมด่างในดิน ทำให้ดินเสียกลายเป็นดินด่างขาดความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการปลูกพืชหรือเร่งการเจริญเติบโต เพราะดินด่างจะจับตรึงปุ๋ยและธาตุอาหารบางตัว ปลดปล่อยไนโตรเจนสูญสลายหายไปในอากาศได้ง่าย อีกทั้งจะช่วยทำให้โมลิบดินั่ม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์ละลายออกมามากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืชทำให้ใบไหม้ อีกทั้งการใช้ปูนจนเกินความจำเป็นหรือเกินความพอดีทำให้ต้องเสียต้นทุนในการแก้ไขปรับปรุงดินด่างให้กลับมาอยู่ในสภาพที่เป็นกรดอ่อนอีก ซึ่งเป็นการเสียโอกาสในการเพาะปลูกเนื่องด้วยต้องใช้ระยะเวลานาน

หินฟอสเฟตหรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า ร๊อคฟอสเฟตนั้น ควรจะนำมาใช้ให้ตรงกับช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่นใช้รองก้นหลุมปลูกเพื่อสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดรากหาอาหารได้มากขึ้น แต่ต้องใช้เพียงเล็กน้อยพอประมาณเพียง  2- 3 ช้อนแกง ในดินที่มีสภาพเป็นด่างควรใช้อย่างระมัดระวังหรือไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้เลยเพราะแทนที่จะได้ประโยชน์จากธาตุฟอสฟอรัสแต่กลับได้ความเป็นด่างสะสมในดินเข้ามาแทนอาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ในดินที่เป็นด่างนั้นกลุ่มวัสดุปูนต่างๆ แทบไม่จำเป็นเลย ในปัจจุบันก็สามารถที่จะใช้หินแร่ภูเขาไฟในรูปแบบต่างๆ (ซีโอ-พูมิช, ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์)เข้ามาทดแทนได้โดยที่ไม่สร้างปัญหาเรื่องดินเป็นด่าง หรือจะใช้ขี้เถ้าจากต้นงาหรือถั่วเหลืองก็มีแร่ธาตุแคลเซียมฟอสเฟตสูงเช่นกันอันนี้ก็ต้องค่อยๆคิด ค่อยๆทำกันดูนะครับ

หินฟอสเฟตนั้นพืชมีความต้องการใช้มากในช่วงที่มีการออกดอก ผสมเกสร และในระยะที่เป็นผลแล้ว ถ้าในดินมีการสะสมธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียมน้อยพืชจะแสดงอาการขาดได้ทันทีและมีความชัดเจนค่อนข้างมาก  ภาพรวมของการที่พืชต้องการใช้แคลเซียมและฟอสฟอรัสก็คือในช่วงที่มีมีการเปลี่ยนผ่าน เปลี่ยนถ่าย เปลี่ยนสถานการณ์การเจริญเติบโตไปในแต่ละช่วง ในไม้ผลต่างๆ สามารถใส่ฟอสเฟตหรือนำไปผสมน้ำฉีดพ่นก่อนออกดอก 1 – 2 สัปดาห์  ในผักกินใบใส่หรือฉีดพ่นหลังจากผักมีใบจริง 2 -3 ใบ ส่วนผักข้อถี่ ผักในตระกูลกะหล่ำให้ใส่หรือฉีดพ่นเริ่มห่อหรือสร้างหัว และผักที่กินผลชนิดต่างๆควรใช้ฟอสเฟตในช่วงระยะที่มีการออกดอกจะทำให้ขั้วดอกเหนียวและแข็งแรงดียิ่งขึ้น

 

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com 

หมายเลขบันทึก: 496771เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีประโยชน์มากเลยครับ

ขอเก็บเป็นความรู้ ขอบคุณครับ.

ต้องการขาย ร็อคฟอสเฟต จากอียิป ส่งถึงไทยที่ที่ท่าเรือชลบุรี ราคาไม่รวมค่าโหลดจากทา่เรือ 4000/ตัน ขั้นต่ำ 25, 000 ตัน ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถาม นน 0884159468 id line 0884159468non

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท