ป้าหนิท
นาง วรรณวิรัตน์ เกื้อพัฒนกุล

เด็กปฐมวัยของสพป.พล.3


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครบทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์-จิตใจ  สังคม และสติปัญญานั้นในหนึ่งวันควรครบทั้ง  6  กิจกรรม คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้งกิจกรรมสร้างสรรค์(ศิลปะ)  กิจกรรมเสรี(เล่นอิสระตามมุมการเรียนรู้)  และเกมการศึกษา  

            การจัดบรรยากาศในห้องเรียนนั้นควรมีมุมการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจไม่น้อยกว่า  5  มุม(ข้อตกลงของเพื่อนครูปฐมวัยสพป.พล. 3)  เช่น  มุมบ้าน  มุมหนังสือ  มุมน้ำ   มุมวิทยาศาสตร์  มุมหมอ  มุมศิลปะฯ   พร้อมทั้งมีสนามเด็กเล่นเพื่อพัฒนาด้านร่างกายทั้งกล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กและพัฒนาสมองน้อย(บริเวณท้ายทอย)  ซึ่งหากสมองน้อยไม่ได้รับการพัฒนา  การเรียนรู้อื่น ๆ จะได้ยากเป็นไปได้ยาก

             ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง  ซึ่งครูควรวางแผนก่อนจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย  โดยการใช้สื่อ/เหตุการณ์/คำถามกระตุ้นให้เด็กสงสัย   คาดคะเนอย่างมีเหตุมีผล  ลงมือค้นหาคำตอบด้วยตนเอง/กลุ่ม    สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยการวาดภาพ/บอก/เล่า/อธิบายและครูจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้ในชิ้นงาน  สำหรับสื่อสารให้ผู้ปกครองทราบถึงพัฒนาการของบุตรหลานตนเอง/เก็บไว้เป็นร่องรอยที่แสดงถึงพัฒนาการของเด็ก   (ฝึกอบรมทำบล็อกจ๊ะ)

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาปฐมวัย
หมายเลขบันทึก: 496753เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • รออ่านเรื่องการสอนปฐมวัยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท