การลดต้นทุนด้วยการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพปราบโรคและแมลงศัตรูพืชร่วมกันในคราวเดียว


) เมื่อสปอร์หรือเซลล์ถูกฉีดพ่นลงในแปลงนาหรือแปลงพืชไร่ไม้ผลก็จะไปเจริญเติบโตเมื่อได้แหล่งน้ำ แหล่งอาหารจากธรรมชาติที่เขาชอบ

มีคำถามในเชิงสงสัยเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษที่เกี่ยวกับจุลินทรีย์ปราบโรคและแมลงผ่านทางเว็บบอร์ดถาม-ตอบในเรื่องที่จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อรากินราและเชื้อบัคเตรีกินราเมื่อนำมาผสมกลมกลืนอยู่ในน้ำที่อยู่ในถังเดียวกันนั้นสามารถที่จะทำได้หรือไม่? เพราะเกรงว่าจะทำลายไล่ล่าซึ่งกันและกันจนขาดประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานจึงทำให้การใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารพิษ หรือผลิตภัณฑ์แนวชีวภาพต่างๆนั้นมีความยุ่งยาก สับสน ท้อแท้ แพ้ใจตนเองจนต้องหันกลับไปหายากฆ่าแมลงเช่นเดิมเพราะสะดวก รวดเร็ว ทันใจ โดยอาจลืมไปว่าในอนาคตอีกห้าหรือสิบปีข้างหน้านั้น ความชำนาญในด้านการทำเกษตรแบบใช้สารพิษนั้นจะไม่ได้รับความนิยมชมชอบหรือการยอมรับจากผู้บริโภค เพราะทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย ส่งผลให้ความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญอันยาวนานที่ผ่านมาสูญเปล่า

เพราะฉะนั้นการทำเกษตรโดยเริ่มต้นจากการค่อยๆ ลด ละ เลี่ยง เลิก การใช้สารพิษ มุ่งสู่การทำเกษตรแบบอินทรีย์จึงน่าจะเป็นหนทางที่น่าจะมีอนาคตสดใสกว่าการทำเกษตรแบบเดิมๆ ที่เริ่มมีผู้ให้ความสนใจลดน้อยถอยลงเรื่อยๆ ใครที่ยังดื้อดึงการทำเกษตรแบบใช้สารพิษอยู่ต่อไปก็จะประสบความล้มเหลวเพราะหาผู้บริโภคมารับซื้อไม่ได้ ยิ่งเยิ่นเย้โยเยระยะเวลาผ่านพ้นไปโดยเปล่าประโยชน์จะหันหลังกลับไปเริ่มต้นการทำแบบปลอดสารพิษหรืออินทรีย์ก็อาจจะช้าล้าหลังพวกเพื่อนๆที่ทำไปก่อนล่วงหน้าเป็นห้าหรือสิบปีไปเสียแล้ว  ทำให้หนทางที่จะเป็นผู้นำหรือประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพน้อยลงไปเรื่อยๆ อันนี้ก็ฝากเป็นข้อคิดสำหรับผู้ที่กำลังสับสนไม่รู้จะเอาอย่างไรดีกับอาชีพเกษตรว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง แต่ยืนยันได้ว่าการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษไม่ใช้ยาฆ่าแมลงนั้นสามารถทำได้แบบมืออาชีพโดยที่ต้นทุนต่ำกว่าและได้ผลผลิตเทียบเท่าหรือมากกว่าในระยะยาวอย่างแน่นอน

การที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์แนวชีวภาพพร้อมกันในเครั้งเดียวนั้นก็เพื่อให้เกิดความง่ายและรวดเร็วในการใช้งานและจากการทดสอบมาตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีมานี้มิได้ทำให้ประสิทธิผลของการปราบโรคและศัตรูพืชลดน้อยถอยลงไปเลย หนำซ้ำช่วยลดค่าแรงและต้นทุนในการฉีดพ่นให้แก่พี่น้องเกษตรกรได้มาก มิฉะนั้นจะต้องฉีดพ่นสารชีวพันธุ์ต่างๆของชมรมฯ หลายรอบหลายครา ทั้ง ไตรโคเดอร์ม่า, บีทีชีวภาพ, บีเอสพลายแก้ว และทริปโตฝาจ  สี่ชนิดก็ต้องฉีดพ่นสี่รอบ ถ้าค่าจ้างฉีดพ่นไร่ละ 50 บาททำเกษตรพื้นที่ 10 ไร่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อผลิตภัณฑ์ชนิดละ 500 ร้อยบาทต่อครั้ง ฉีดพ่น 4 ชนิดก็ 2,000 บาท ถ้านำมารวมฉีดพ่นพร้อมในครั้งเดียว โดยยอมให้เขาทะเลาะกันบ้างเล็กน้อย เมื่ออยู่ในถังเดียวกันไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถที่จะช่วยลดต้นทุนค่าฉีดพ่นได้ถึง 1,500 บาทต่อครั้ง โดยที่ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์แต่ละชนิดไม่ลดลงต่ำกว่ามาตรฐาน (โรคและแมลงศัตรูพืชไม่ตาย) เมื่อสปอร์หรือเซลล์ถูกฉีดพ่นลงในแปลงนาหรือแปลงพืชไร่ไม้ผลก็จะไปเจริญเติบโตเมื่อได้แหล่งน้ำ แหล่งอาหารจากธรรมชาติที่เขาชอบ วิธีการนี้อาจจะขัดใจนักทฤษฎีและวิชาการที่จับจุลินทรีย์ที่เป็นปฏิปักษ์สองชนิดมาเลี้ยงไว้ในเพลทเดียวกันเพื่อทดลองโดยไม่มีสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยอื่นๆที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อยจนจุลินทรีย์อีกฝ่ายหนึ่งทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่งจนตายไปเกือบหมดซึ่งก็ยังต้องใช้ระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ วิธีการนี้ให้เขาอยู่ในถังเดียวกันไม่กี่ชั่วโมงจึงไม่ถูกทำลายล้างจนหมดอย่างแน่นอน

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 496524เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 06:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมทำนาตอนปีนี้เข้าปีที่สองแล้ว

ปีที่แล้วถูกน้ำท่วมเสียหาย 90 %

ผมใช้ปุยอินทรีย์ ผลผลิตที่ได้เมือเทียบกับการใช้เคมี

ใช้ปุ๋ยเคมีจะได้มากกว่าการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์(เมือเทียบกับนาข้างๆ/จำนวนเมล็ดต่อรวง)

แต่ก็ยังยืนยันใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป

ให้ข้อคิดที่ดี กับเกษตรกรหน้าใหม่

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท