การอบรมการคัดกรองเด็กลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้าน,นพ.นิธิพัฒน์ บุษบารติ


คัดกรองเด็กลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้าน

การอบรมการคัดกรองเด็กลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้าน

โดย นพ.นิธิพัฒน์ บุษบารติ  : รพ.พุทธชินราช

๑๘ ก.ค.๕๕ รพ.พุทธชินราช

       ข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบัน  สมองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต  วัยรุ่นเป็นช่วงที่สมองมีการทำงานเร็วที่สุด  เป็นช่วงสำคัญที่สุดสำหรับการปลูกฝังลักษณะต่างๆที่จะกลายเป็นบุคลิกภาพของบุคคล  เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงความคิดได้ยากมาก

       ปัญหาเรื่องพัฒนาการในประเทศไทย  มักส่งผลกระทบเรื่องการเรียนในเด็กประถม

       ตัวอย่างภาพยนตร์ออทิสติก  Rain Man (ทอม  ครูซ)

Autistic Savant : ออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ พบบ่อยมากขึ้น 

วามสามารถโดดเด่น 5 กลุ่ม

1.Memorization ความจำเป็นเลิศ เช่น Kim Peek มีสมองซีกซ้ายเด่น  มีความจำเป็นเลิศตั้งแต่อายุ 1 ปีครึ่ง  ใครอ่านหนังสือให้ฟังจำได้หมด  อายุ 3 ปีอ่านหนังสืออกด้วยตนเอง  เรียนรู้คำศัพท์จากพจนานุกรม

2.Lightening Calculation  คำณวนเลขเร็ว

3.Calendar Calculating  ปฏิทิน 

ตัวอย่างภาพยนตร์  Memory rising คนอึดมหากาฬ  ผ่ารหัสนรก

4.Musical  ability เช่น Tony DeBLOIS เล่นดนตรีได้ 20 ชนิด  เข้าใจทฤษฎีดนตรี  จำโน้ตเพลงได้  ที่โดดเด่นคือ แจ๊ส

5.Artistic ability : AlonZo  Clemous พูดไม่ค่อยได้  มือปั้น  ชอบปั้นรูปสัตว์ตลอดเวลา  ดูรูปแล้วปั้นได้เลย

                             : Stephen  Wiltshire : The Amazing Human Camera สื่อสารกับคนไม่ค่อยดี  แต่วาดรูปเก่ง

พบ Savant autistic เพียง 10 % เท่านั้น  อีก 25-70 % เป็น MR (Mental Retardation:ปัญญาอ่อน) มักเกิดตอนเป็นทารก

ปัจจุบัน  คนที่ Bright เหลือเพียง 2 คนในโลก  ที่เหลือเสียชีวิตแล้ว(ใครนะ  อยากรู้จัง)

ปัจจุบันพบ ออทิสติกมากขึ้น ปี 2000 พบ 1:2000 ›→ 1:1000 ›→ 1:150›→1:88 (ปี 2008)  สาเหตุ มีคนเกิดมากขึ้น  ค้นพบมากขึ้น

 ปัจจัยเสี่ยง

-         แฝดเหมือน เป็น ASD อีกคนมีโอกาสเป็น 36-95%

-         แฝดไข่คนละใบ  เป็น ASD อีกคนมีโอกาสเป็น 0-31%

-         พ่อแม่ที่มีลูกคนที่หนึ่งเป็น ASD ลูกคนที่สองมีโอกาสเป็น 2-18 %

-         ASD มีแนวโน้มจะพบบ่อยในคนที่มีความผิดปกติทาง genetic หรือ chromosome

-         10% ของ ASD พบว่ามีโรคอื่นร่วม เช่น Down syndrome, Fragile X syndrome, Tuberous  sclerosis, other genetic และ chromosomal disorders

 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ออทิสติก

-         วัคซีนบางอย่างทำให้เกิดโรคนี้ (ผิด)

-         ออทิสติกเลียนแบบได้ดีแต่สร้างสรรค์ไม่ได้ (ผิด)

-         เด็กมีพรสวรรค์ไม่ต้องสอน  เรียนรู้ได้เอง (ผิด  ถ้าเจอ  มอบโอกาส  การสอนสำคัญที่สุด  สอนด้วยตนเองดีกว่าเปิดเทปให้ฟัง  ทั้งเด็กปกติและผิดปกติ)

 

ลักษณะออทิสติก

-         หัวเราะไม่มีเหตุผล

-         ไม่กลัวอันตราย

-         ไม่รู้สึกเจ็บ

-         ไม่อยากอยู่กับใคร

-         ไม่อยากให้พ่อแม่กอด

-         ไม่มองหน้า

-         ชอบอะไรอย่างผิดปกติ  เช่น นั่งมองพัดลม  หมกมุ่นจนลืมเรื่องสำคัญบางอย่าง  กรณีนี้ช่วยได้ แต่ต้องใช้เวลาและความอดทน

-         ชอบอยู่คนเดียว

-         พูดคนเดียว

-         เดินคนเดียว

-         เล่นคนเดียว

เป็นพฤติกรรมปกป้องตนเอง

ถ้าสามารถช่วยได้ก่อนอายุ 7 ปีจะช่วยได้

 

ตัวบ่งชี้ระยะต้น

-         ไม่เล่นเสียง  ไม่ชี้นิ้วเมื่ออายุ 1 ปี

-         ไม่มีคำที่มีความหมายเมื่ออายุ 16 เดือน  หรือ  ไม่มีวลีที่ประกอบด้วยสองคำเมื่ออายุ 2 ปี

-         ไม่มีการตอบสนองต่อชื่อเมื่ออายุ 1 ปี  เรียกไม่หัน

-         สูญเสียทักษะทางภาษาหรือทักษะสังคม เช่น พูดแสดงความต้องการไม่ได้  พูดเลียนแบบตามที่เราพูด เช่น เราถามว่า หิวข้าวไหม  เด็กจะตอบว่า  หิวข้าวไหม

-         ไม่สบตา  สบตาน้อย เมื่ออายุ 0-4 ปี

-         ชอบเอาของเล่นหรือวัตถุมาต่อเนื่องมากเกินไป  ถ้าเราทำให้พังจะอาละวาด

-         ไม่ยิ้มหรือไม่ตอบสนองทางสังคมกับคนอื่น

*ทักษะการสื่อสารกับคนอื่น  ดีที่สุดในการใช้ชีวิต*

IQ ปกติ 90-110

 

ตัวบ่งชี้ระยะท้าย : พบเมื่อโต

-         บกพร่องความสามารถในการเป็นเพื่อนกับเด็กวัยเดียวกัน  คบหาเจอกันกับวัยเดียวกันยาก

-         บกพร่องในการเริ่มต้นบทสนทนาหรือพูดคุยเพื่อคงการสนทนา  เช่น  คุยแต่เรื่องของตนเอง  เรื่องเดิมๆซ้ำๆ  พอคู่สนทนาเปลี่ยนเรื่องจะไม่ยอมหรือโกรธและหนีไปคุยกับคนอื่น

-         ขาดหรือบกพร่องการเล่นแบบจินตนาการ  ความน่าจะเป็นไม่มี  ต้องแทรกแซงการเล่นนั้น  เช่น เล่นรถ  วิ่งวนๆกลับมาที่เดิม  ถ้าแกล้งชนจะเฉยๆแล้วกลับมาเล่นใหม่

-         ใช้ภาษาเดิมๆซ้ำๆ

-         สนใจเรื่องบางเรื่องอย่างจำกัด  หมกมุ่นกับเรื่องบางเรื่องอย่างผิดปกติ

-         หมกมุ่นกับวัตถุหรือเรื่องบางเรื่อง

-         ไม่ยืดหยุ่นกับกิจวัตรประจำวันหรือพฤติกรรมบางงอย่างที่ทำจนเป็นนิสัย

 

Social skill problems

-         ปากดี

-         ระวังทุกเรื่อง  ให้ออกห่างทุกคน  ปรับตัวไม่เป็น

-         Communication skills ทักษการสื่อสาร

-         Team building skills การทำงานเป็นทีม

-         Conflict Resolution  แก้ปัญหาความขัดแย้ง

-         Basic interaction ปฏิสัมพันธ์ขั้นพื้นฐาน

 

Childhood disintegrative disorder  พัฒนาการทุกอย่างเป็นปกติตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  จากนั้นเริ่มสูญเสียความสามารถบางอย่างอย่างน้อย 2 ด้านก่อนอายุ10 ปี

1.การรับรู้และการใช้ภาษา

2.ความสามารถในการปรับตัวและทักษะทางสังคม

3.ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

4.การเล่น

5.ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ

 

  1. มีความบกพร่องในการสื่อสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่น  (เช่น ความบกพร่องในทักษะที่เกี่ยวกับการอ่านภาษาท่าทาง , ล้มเหลวในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนในวัยเดียวกัน , ขาดการตอบกลับทางสังคมและอารมณ์
  2. มีความบกพร่องทางการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ(เช่น ความล่าช้าของภาษาพูดหรือพูดไม่ได้, ไม่สามารถเริ่มต้นหรือรักษาการสนทนาไว้ได้, ใช้ภาษาพูดซ้ำๆ, ขาดการเล่นสมมติ)        
  3. มีความสนใจในเรื่องที่ซ้ำและจำกัด , มีพฤติกรรมที่เป็นรูปแบบในเรื่องที่สนใจและกิจวัตรที่ทำ รวมไปถึงการมีกิริยาท่าทางที่เป็นรูปแบบ

 

-         อาการจะเกิดขึ้นเร็วภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์  และอาจเกิดแบบช้าๆค่อยเป็นค่อยไป

-         เฉลี่ยเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 36 เดือน

-         สุดท้ายความสามารถจะเริ่มหายไปและมีอาการทุกอย่างเหมือนเด็กออทิสติก

-         IQ จะลดลง  มักพูดไม่ได้

 

       ในการอบรมครั้งนี้ได้ประโยชน์มากมาย  ต้องขอขอบคุณพี่มด  หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ  โรงพยาบาลชาติตระการ  ที่ได้ส่งไปอบรม  ขอขอบคุณทีมผู้จัดการอบรมที่ได้จัดงานนี้ขึ้นมา  และที่สำคัญ  ท่านวิทยากรบรรยายได้สนุกสนาน  น่าสนใจ  และได้ความรู้  ถ้ามีอบรมอีก  ขอโอกาสได้ไปอีกนะคะ ^_^

 

 

หมายเลขบันทึก: 496398เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • น่าสนใจมากเลยครับ
  • กำลังทำเรื่อง social skills อยู่ครับ
  • เป็นสารสนเทศที่น่าสนใจมากค่ะ ขอนำไปให้นักศึกษาที่เรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู เรียนรู้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอขอบคุณอ.ขจิต ฝอยทองมากค่ะ ^_^

ยินดีค่ะ ผศ.วิไล แพงศรี  ^_^

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ดอกไม้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท