การศึกษาเพื่อสังคมที่ผู้คนมีความเป็นตัวของตัวเองเชื่อมั่นตนเองสร้างด้วยการเรียนรู้แบบสมัยใหม่


 

          วันที่๑๘มิ.ย. ๕๕ผมไปฟัง Special Module การเรียนรู้ของคศน. เรื่อง Modern Management มีศ. ดร. เรวัตร์ชาตรีวิศิษฐ์คณบดีคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นวิทยากรเรื่องการบริหารเวลา

 

          ท่านกล่าวถึงสภาพสังคมไทยที่ผู้คนมักเหยียดคนจากประเทศเพื่อนบ้าน

 

          ผมคิดต่อว่าคนที่ดูถูกคนอื่นเกิดจากความไม่เชื่อมั่นตนเองความไม่เชื่อมั่นตนเองสั่งสมมาจากการหล่อหลอมในสังคมและจากการศึกษาดังนั้นการศึกษาสมัยใหม่ต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นตนเองรู้จักตนเองหรือกล่าวว่าการศึกษาสมัยใหม่ต้องมีเป้าหมายสำคัญที่การหล่อหลอมนักเรียนให้รู้จักตนเองและเชื่อมั่นตนเองโดยคุณสมบัติที่จะได้ตามมาคือความเคารพผู้อื่นเห็นคุณค่าของผู้อื่น

 

          คุณสมบัติเชื่อมั่นตนเองรู้จักตนเองกับคุณสมบัติเคารพคนอื่นเคารพความแตกต่างเป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต (life skills) ที่สอนไม่ได้เจ้าตัวต้องเรียนรู้เองโดยการฝึกปฏิบัติฝึกจนเกิดเป็นทักษะหรือพฤติกรรมและเป็นนิสัยคือทำเป็นอัตโนมัติการฝึกปฏิบัตินี้ต้องมีการออกแบบกิจกรรมให้ปฏิบัติคือต้องLearning by Doing ครูทำหน้าที่ออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนเรียนเป็นทีมเรียนโดยทำกิจกรรมหรือโครงงานตามด้วยการทบทวนผล(reflection หรือAAR) ว่าได้เรียนรู้อะไรยังไม่ได้อะไรอยากเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีก

 

          ต้องเรียนผ่านการปฏิบัติที่ทำเป็นทีมทำเชื่อมโยงกับชีวิตจริงและการทบทวนผลการเรียนรู้ในหลากหลายบริบทซ้ำๆด้วยเป้าหมายการเรียนรู้หลายทักษะในเวลาเดียวกันตัวทักษะด้านเป็นตัวของตัวเองเชื่อมั่นตนเองจะงอกงามขึ้นโดยอัตโนมัติไม่ต้องสอน (จริงๆแล้วผมเชื่อว่าสอนไม่ได้)

 

 

วิจารณ์ พานิช

๓ก.ค. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 495427เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท