ทำไมพระผงสุพรรณ "ดินดิบ" จึงไม่ผุกร่อน


แร่ดินเหนียวที่ไม่มีน้ำ ย่อมไม่ยึด พอง หรือบวม รวมทั้งโครงสร้างที่ถูกปกป้องด้วยน้ำมันของน้ำว่าน จึงไม่แตกสลาย ทำให้ทนต่อการผุกร่อนจากกระบวนการของธรรมชาติ และน่าจะอยู่ได้เป็นหมื่นๆปี

หลังจากผมได้หาเกณฑ์แบ่งแยกพระผงสุพรรณแท้ ออกจากพระโรงงาน

ผมได้พบประเด็นสำคัญว่า

ผิวพระผงสุพรรณ จะต้องเหมือนกับเนื้อพระผงสุพรรณ

ที่ต้องมีเม็ดมวลสารต่างๆ และก้อนน้ำว่านปรากฏอยู่ที่ผิว

ไม่ใช่ฝังอยู่ในเนื้อเพียงอย่างเดียว (ที่จะเป็นลักษณะของพระเก๊)

และมวลสารเหล่านั้น ต้องมีความมนอย่างกลมกลืนกับผิวพระที่เป็นเนื้อดิน

ที่ค่อนข้างแตกต่างจากผิวพระเนื้อดินเผา

กล่าวคือ

ถ้าเนื้อดินเผาที่มีเม็ดมวลสารอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพระซุ้มกอ นางพญา รอบๆ เม็ดทรายต้องกร่อน เป็น "ร่องทราย"

เพราะเนื้อดินเผาเหล่านั้น "ผุกร่อนไป" จึงมีช่องว่างระหว่างดินกับเม็ดมวลสาร และกับเม็ดทราย

แต่....

จะไม่พบลักษณะเหล่านี้ ในพระผงสุพรรณ

ทำให้ผมมาคิดว่า ทำไม ทำไม และ ทำไม จึงเป็นเช่นนั้น

จึงหันมาคิดว่า

ดินเผา ทำไมจึงกร่อน กร่อนด้วยเหตุใด

ดินดิบ ทำไมจึงไม่มีการกร่อน อยู่ได้ด้วยเหตุใด

ที่ทำให้ผมหันกลับไปเปิดตำรา

ศึกษาการผุกร่อนของหินแร่ โดยเฉพาะ แร่ดินเหนียว

ที่พบว่า

แร่ดินเหนียวเป็นแร่ที่ค่อนข้างทนทาน เสถียรในสภาพแวดล้อมทั่วไป และจะสลายได้ ก็ด้วยการทำลายโครงสร้างของแร่ดินเหนียวเสียก่อน เท่านั้น

ผมเลยมาถึงบางอ้อ ในเชิงบทกลับ ว่า

ถ้าโครงสร้างยังคงเดิม แร่ดินเหนียวย่อมคงทนชั่วกาลนาน

แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้แร่ดินเหนียวมีโครงสร้างคงเดิม ก็คือ

  • อย่าให้ถูกน้ำ เพราะน้ำจะทำให้แร่ดินเหนียวยืดหดได้ บวมได้ แตกได้เร็ว ในที่สุดจะกลายเป็นแร่เหล็กในพวกสนิมเหล็ก และลูกรัง ที่เป็นเหล็กไร้โครงสร้าง (Amorphous iron)

และ

  • อย่าให้ถูกความร้อน เช่น การเผาดินเหนียวจนกลายเป็น ดินเผาสีแดง ก็คือการทำลายโครงสร้างดินเหนียว "บางส่วน" จนเหล็ก ในโครงสร้างดินเหนียว มากลายเป็นเหล็ก ที่ไม่มีโครงสร้าง เกาะเกี่ยวกันในเนื้ออิฐ

เมื่อไม่โดนน้ำ (มีน้ำว่าน ที่เป็นน้ำมันห่อหุ้ม) และไม่โดนความร้อน ดินเหนียวก็ย่อมไม่ผุพัง ไปอีกนานนนนนนนนนนนน

แล้วจะมีร่องทรายได้อย่างไร

คำตอบก็น่าจะอยู่ประมาณนี้

คือ สรุปว่า

แร่ดินเหนียวที่ไม่มีน้ำอยู่ด้วย

  • ย่อมไม่ยึด พอง หรือบวม
  • รวมทั้งโครงสร้างที่ถูกปกป้องด้วยน้ำมันของน้ำว่าน จึงไม่แตกสลาย
  • ทำให้ทนต่อการผุกร่อนจากกระบวนการของธรรมชาติ และ
  • น่าจะอยู่ได้เป็นหมื่นๆปี
  • ถ้าไม่ถูกกระทำ โดยการใช้ไม่ถูกวิธีของคนที่ไม่รู้คุณค่า

ที่อาจจะทนกว่า

  • พระรอดมหาวัน
    • ที่แม้จะเผาด้วยความร้อนสูง
    • จนโครงสร้างดินเหนียว และแร่เดิมถูกทำลาย
    • จนถึงระดับเปลี่ยนไปเป็นแร่ใหม่ ที่แข็งเทียบเท่า ระดับ หินอัคนี
    • ก็ยังผุกร่อนได้เร็วกว่าดินดิบ
    • แม้จะแกร่งสูงสุด แบบพระรอดเขียว ก็ยังเห็นร่องรอยการผุกร่อน
    • ไม่ต้องกล่าวถึงพระรอดแดง และพระรอดดำ ที่เริ่มผุไปไกลแล้ว

หรือ

  • พระกำแพง พิมพ์ต่างๆ เช่นพระกำแพงซุ้มกอ เป็นต้น
    • ที่เผาด้วยความร้อนระดับกลางๆ ถึงสูงบ้าง จนถึงระดับเนื้อดำ
    • มีการผุกร่อนของเนื้อ
      • แบบเหล็กเป็นสนิม ที่เรียกว่า "คราบผุ"
      • จากเหล็กที่ถูกเผาทำลายโครงสร้างเดิม
      • แต่ส่วนใหญ่ ยังไม่ร้อนพอที่จะทำให้เกิดโครงสร้างใหม่แบบพระรอด
    • จึงผุได้เร็ว และมีร่องทรายเป็นปกติ
    • ทั้งรอบแร่ดอกมะขาม และรอบเม็ดกรวด หรือทรายเล็กๆ ในเนื้อพระ 

หรือ

  • พระนางพญา พิษณุโลก
    • ที่ใช้ความร้อนระดับใกล้เคียงกับพระกำแพงซุ้มกอ
    • ทำให้แร่เหล็กหลุดออกมามาก ทำปฏิกิริยาได้เร็ว
    • ที่จะทำให้พระนางพญาส่วนใหญ่ มีเนื้อผุ กร่อนโดยธรรมชาติได้ง่าย
    • และเมื่อมีการผสมกรวด ทรายไปที่ผิวมาก ยิ่งทำให้ร่องทรายชัดเจนขึ้นมากกว่าพระอื่นๆ

ดังนั้น

พระผงสุพรรณ จึงเป็นพระที่มีเนื้ออ่อน แค่คงทนจากการผุกร่อนโดยธรรมชาติ มากที่สุด พอๆกับพระสมเด็จเนื้อปูนดิบ ที่ใช้ระบบการงอกของผิวหินปูน

นวัตกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าทึ่งสำหรับผมมาก

แต่ผมไม่แน่ใจนะครับว่า ผลงานต่างๆที่นับว่าเป็นภูมิปัญญาอันล้ำเลิศนี้ เป้นความตั้งใจ หรือความบังเอิญ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทราบผลได้ชัด ก็ต้องว่ากันเป็น ร้อยๆปีขึ้นไปครับ

ถ้าไม่ใช่ผู้วิเศษทางความคิดล่วงหน้าแล้ว ก็อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญก็ได้ครับ

แต่ก็น่าจะเข้าใจ เทิดทูน และนำมาเป็นตัวอย่างที่ดีต่อไปครับ

หมายเลขบันทึก: 495396เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมได้ส่งอีเมล์สอบถามท่านดร.เรื่องพระผงสุพรรณ ก่อนที่จะเห็นบทความนี้ ช่างเป็นเรื่องบังเอิญจริงๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท