พายุสุริยะ มหันตภัยใกล้กว่าที่คิด


เก็บข้อมูล อันตรายจากพายุสุริยะต่อมนุษย์โลก เพื่อการเรียนรู้
 


 
 
ดูหนังที่เกี่ยวกับพายุสุริยะมาก็หลายเรื่อง
รอดูข่าวทีวีมาก็หลายรอบ แต่ไม่เห็นเกิดอะไรขึ้นเลย คิดว่าหลายคนคงมีความรู้สึก “เฉยๆ” กับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่อาจไม่มีอะไรมากนอกเสียจากภาพท้องฟ้าสวยๆ ที่ส่องประกายออร่าแสงเขียว ที่เรียกกันว่า “แสงเหนือใต้” โบกสะบัด หรือภาพพระอาทิตย์พิโรธเหมือนลูกบอลโดนราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาลุกกลางอวกาศ

เราเปิดนิตยสาร National Geographic ฉบับเดือนกรกฏาคม ได้ พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการจนอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง อาจจะเพราะหน้าปกที่โคลสอัพดวงอาทิตย์ที่เกิดพายุสุริยะ กับ ตัวหนังสือตัวโตพาด “มหาพายุสุริยะ มหันตภัยใกล้ตัวกว่าที่คุณคาดคิด” ที่ทำให้เราสะดุดตาก็เป็นได้

พายุสุริยะ คือ กระแสของอนุภาคพลังงาน สูงที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณและความเร็วสูงกว่าระดับปกติ อนุภาคนี้มีทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอน เป็นตัวการทำให้เกิดแสงเหนือใต้ และพายุแม่เหล็ก ซึ่งส่งผลต่อดาวเทียม ยานอวกาศ

และระบบสายส่งบนโลกปกติพายุสุริยะจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่อง จากโลกมีบรรยากาศและสนามแม่เหล็กคุ้มกัน มีเพียงนักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอวกาศเท่านั้นที่อาจได้รับ อันตรายทั้งจากพายุสุริยะและรังสีจากดวงอาทิตย์
ในอดีตพายุสุริยะเคยสำแดงฤทธิ์เดชให้เห็นแล้วหลายครั้ง เช่น ใน ปี 1859 พายุสุริยะทำให้สายโทรเลขลัดวงจรจนทำให้เกิดเพลิงไหม้หลายแห่งในยุโรปและอเมริกา และ ปี 1989 พายุสุริยะก็เคยทำให้หม้อแปลงของไฟฟ้าระเบิดจนทำให้ไฟดับทั่วทั้งควิเบกของแคนาดามาแล้ว

นอกจากนี้ ดาวเทียมและยานอวกาศที่อยู่ในอวกาศก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะได้ ในอดีตเคยมีดาวเทียมหลายดวงเสียหายจากเหตุการณ์นี้มาแล้ว

เนื่องจากปัจจุบัน ชีวิตประจำวันของผู้คนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอวกาศมาก ทั้งโทรศัพท์ โทรทัศน์ การกระจายเสียงวิทยุ ระบบบอกพิกัด ฯลฯ ดังนั้นหากมีพายุสุริยะมาทำให้ดาวเทียมเหล่านี้เสียหายไป ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างแน่น

คาร์ล ไชรเวอร์ นักดาราศาสตร์ในแคลิฟอร์เนีย ยอม รับว่า เราสามารถพยากรณ์ว่าดวงอาทิตย์จะทำอะไรล่วงหน้าได้เพียงไม่กี่วัน ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยพลาสมา เมื่ออะตอมแตกตัวกลายเป็นโปรตอนกับอิเล็กตรอนอิสระ อนุภาคมีประจุเหล่านี้ทำให้พลาสมากลายเป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นเยี่ยม

นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์ยังเต็มไปด้วยสนามแม่เหล็กที่ซ่อนอยู่ใต้พื้นผิว แต่บางครั้งก็เผยตัวออกมาเป็นท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าความกว้างของโลก และเป็นต้นเหตุของพลังลมสุริยะที่พ่นพลาสมาวินาทีละหนึ่งล้านตันออกมาด้วยความเร็ว 700 กิโลเมตรต่อวินาที
ดัง นั้น ดวงอาทิตย์จึงเป็นเสมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดมหึมา เส้นสนามแม่เหล็กที่โอบรอบจากขั้วสู่ขั้ว เส้นสนามแม่เหล็กย่อยที่พัวพันกับพลาสมาในเขตความร้อนมักบิดและงอจนทะลุพื้น ผิวขึ้นมาให้เห็นเป็นบ่วงพลาสมาอันร้อนแรงเจิดจ้า เมื่อสองบ่วงชนกันอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรและนำไปสู่ระเบิดครั้งใหญ่รุนแรงเท่าระเบิด TNT หลายร้อยล้านเมกะตัน

ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่คาร์ริงตันเมื่อปี 1859 เกิดอนุภาคที่มีประจุพุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลกชั้นบน ก่อให้เกิดแสงเหนือใต้เข้มข้นที่เห็นได้เกือบทั้งโลก

บางคนถึงกับคิดว่ากำลังเกิดอัคคีภัยลุกใหม้ทั่วทั้งเมือง! เหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นการระเบิดที่รุนแรงครั้งหนึ่งในรอบหลายศตวรรษ เมื่อมนุษย์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่ติดตั้งไว้ในอวกาศมากขึ้นเรื่อยๆ พายุสุริยะจึงสร้างความเสียหายได้อย่างใหญ่หลวง

1) เมื่อภูมิอากาศขัดข้อง มีผลให้นักบินเที่ยวพาณิชย์ที่ในแต่ละปีต้องบินผ่านขั้วโลกเหนือกว่า 11,000 เที่ยวเกิดขัดข้องเนื่องจากวิทยุคลื่นสั้นที่ใช้ในการสื่อสารถูกรบกวน นักบินต้องเปลี่ยนเส้นทางบิน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงถึงเที่ยวละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ

2) ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ที่ปั่นป่วนจะ รบกวนสัญญาณจีพีเอส ส่งผลให้การกำหนดพิกัดอาจผิดพลาดได้มาถึง 50 เมตร แท่นขุดเจาะน้ำมันลอยน้ำจะปรับตำแหน่งให้อยู่กับที่ได้ยากและนักบินยังไม่ สามารถพึ่งพาระบบจีพีเอสที่ใช้ตามสนามบินต่างๆ ที่ใช้ในการลงจอดได้

3) การ ลุกจ้าของดวงอาทิตย์ยังรบกวนการวงโคจรดาวเทียมด้วยการทำให้บรรยากาศร้อนขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงดัน นาซาบอกว่าสถานีอวกาศนานาชาติลดระดับลงวันละ 300 เมตร นอกจากนี้พายุสุริยะยังอาจทำลายระบบอิเล็กทรอนิกส์ในดาวเทียมสื่อสารที่ลอย คว้างไปในวงโคจรจนใช้การไม่ได้

4) หม้อแปลงขนาดใหญ่มักต่อ สายดินลงพื้นโลกโดยตรง พายุสุริยะจึงอาจเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าแปลงร้อนจัดจนลุกเป็นไฟหรือ ระเบิดได้ ความเสียหายรุนแรงถึงขั้นหายนะ จากพายุสุริยะที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1921

หากเกิดขึ้นวันนี้ จะทำให้ไฟฟ้าในทวีปอเมริกาเหนือดับไปกว่าครึ่ง คนหลายร้อยล้านต้องกลับไปใช้ชีวิตเหมือนสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นเวลา หลายสัปดาห์หรืออาจจะหลายเดือน
ดังนั้น นักวิจัยจึงมุ่งพยากรณ์ความรุนแรงของพายุสุริยะและเวลาที่น่าจะมาถึง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ระบบต่างๆ ที่อาจได้รับความเสียหาย ล่าสุดได้เริ่มใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ชื่อ “เอ็นลิล” ที่สามารถทำนายเวลาได้ช้าเร็วไม่เกิน 6 ชั่วโมง

ซึ่งเมื่อ 8 มีนาคมที่ผ่านมา เอ็นลิลพยากรณ์ว่าพายุอาจมีขนาดใหญ่เกิดขึ้น ปรากฏว่าคลาดเคลื่อนไปเพียง 45 นาทีเท่านั้น พายุคราวนั้นเป็นแค่สายลมแผ่วๆ แต่คราวหน้าเราอาจไม่โชคดีอย่างนั้นอีก.

 


http://manager.co.th/Taste/ViewNews.aspx?NewsID=9550000087771

หมายเลขบันทึก: 495279เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่ได้พบกันนานนะครับ และผมก็ไม่ได้นำเสนอบทความมานาน ผมเพิ่งจะจบและจะกลับมานำเสนอบทความอย่างต่อเนื่องอีกครั้งครับ หวังว่าคงจะมีโอกาสพบกันอีกครับ ธนพล ก่อฐานะ หมายเหตุ ผมส่งบทคัดย่อหัวข้อของผมมาฝากครับ Student’s Name: Mr. Tanapol Kortana Thesis Title: The Effectiveness of Electronic Logistics Management:

        Antecedents and Outcome

Thesis Advisors: Assoc. Prof. Dr. Chuangchote Bhuntuvech

        Asst. Prof. Dr. Bundit  Pungnirund

Degree: Doctor of Philosophy (Innovative Management) Keywords The Effectiveness / Electronic Logistics Management /

Antecedents and Outcome

There were two objectives for this research on the antecedents and outcomes to the effectiveness of electronic logistics management: 1) study current conditions of efficiency in logistics electronic management, cost-effectiveness of users, satisfaction of users, and system of logistics electronic management; and 2) study the relationship and influence of antecedent and outcome of electronic logistics management. The research was made from 412 examples by purposive method and used the Structural Equation Model (SEM) in quantitative research, and in – depth interview in qualitative research to confirm the model. The research found that the current condition concerning the efficiency of logistics electronic management, cost - effectiveness of users, satisfaction of users, and system of logistics electronic management was at a high level. The system of logistics electronic management had direct positive effects on the efficiency of logistics electronic management, cost-effectiveness of users, satisfaction of users. In addition, satisfaction of users and cost-effectiveness of users affected directly and positively on efficiency of logistics electronic management.

ผมได้อ่านหลายบทความของอาจารย์ Dr. Ammy ได้ความรู้มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท