แนวปฏิบัติที่ดีการจัดทำ SAR / CAR


 

คุณนันทนา  พูลเขตนคร : เจ้าของเรื่อง

เรื่อง ประสบการณ์การทำ SAR/CAR

    คุณนันทนา (น้องนัน) เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดกองการบริหารงานบุคคล ได้บันทึกเรื่องการทำงานเกี่ยวกับการทำ SAR และ CAR ที่น่าสนใจ จึงได้ขอนำมาแบ่งปันผ่าน gotoknow ครับ 

ช่วงที่ 1 ช่วงก่อนการประเมิน

ขั้นวางแผน (ทำเป็นลำดับแรก)

- ขอนโยบายจากผู้อำนวยการกองการบริหารงานบุคคลในการดำเนิน

  (ทำช่วงหลังประเมินเสร็จ โดยการประเมินไม่ควรเกินเดือนธันวาคมของทุกปี

  จัดวาระการประชุม วาระการประชุมให้เน้น

  1. ขอนโยบายการดำเนินงานจากผู้อำนวยการ 
  2. ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการนำมาปรับปรุงในปีถัดไป
  3. สิ่งที่ต้องปรับปรุงในเล่ม SAR เพื่อการพัฒนาต่อไป)

- ศึกษาเกณฑ์การประเมิน (ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การประเมินใหม่)
- คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการประกันคุณการศึกษา กองการบริหารงานบุคคลในรอบปีงบประมาณถัดไป

   (ทำทุกปีให้เข้าในวาระการประชุมเตรียมเอกสารให้คณะกรรมการตัดสินใจเลือกแล้วดำเนินการ)

- คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ประเมินตรวจสอบคุณภาพ (Check Assessment) ของกองการบริหารงานบุคคล ในรอบปีงบประมาณใหม่

  (สอบถามหัวหน้างานว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่แล้วดำเนินการ)        

ขั้นดำเนินการ (ทำเป็นประจำทุกวัน ค่อยๆทำ)

- ประชุมคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษา ระหว่างดำเนินการ         เก็บข้อมูลการดำเนินงาน (ช่วงเวลาทำวาระการประชุมดำเนินตามนโยบายของท่านผู้อำนวยการ  หรือเป็นไตรมาสก็ได้เพื่อไม่ให้ติดกันหรือนานเกินไป วาระการประชุมให้จับประเด็นสำคัญและ ให้เข้าในวาระให้คณะกรรมการเป็นผู้ตัดสินใจโดยเราหาข้อมูลหรือทำตัวอย่างเพื่อการเข้าใจที่ตรงกัน)

ขั้นติดตาม/ตรวจสอบความถูกต้อง (ทำทุกครั้งก่อนการประชุม และการจัดทำเล่ม SAR ว่ายังขาดข้อมูลอะไร เติมเต็มให้สมบูรณ์ )

- เตรียมทำเล่ม SAR ในปีถัดไป (ทำเป็นประจำเรื่อยๆตรวจสอบความถูกต้องเพราะอาจจะมีงานที่ได้รับมอบหมายอื่น มิฉะนั้นอาจทำไม่ทัน)

- จัดระเบียบวาระการประชุม (จัดทำเล่มสมุดน้อยโดยจดเฉพาะเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา

  เพื่อจดสิ่งที่ยังขาด สิ่งที่ต้องการเพิ่มเพื่อไม่ให้พลาดตอนที่ประชุมคณะกรรมการฯ )

เทคนิค การเตรียมการจัดทำวาระการประชุมแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่คือ

1. ส่วนที่เตรียมไว้ก่อนหน้าได้

1.1 การตัดวาระที่ใช้ประจำและติดเยื่อกาว 2 หน้าเตรียมไว้
1.2 เตรียมเอกสารที่มีอยู่แล้วพวกคำสั่ง ประกาศ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
1.3 กระดาษสี่จะใช้ ทั้งกระดาษการ์ดและกระดาษแบงค์
1.4 แฟ้มที่จะใช้พร้อมไส้แฟ้ม ด้านหน้าพิมพ์เรื่อง ครั้งที่จัด วันเวลา สถานที่ให้เรียบร้อย

2. ส่วนที่ดำเนินการตอนจะประชุม

2.1 วาระภายในแฟ้มทำเผื่อ 1 อาทิตย์เผื่อเวลาให้ผู้อำนวยการดู ข้อความภายในพิมพ์ให้ถูกต้อง ตรงประเด็น รอบคอบเรียบร้อย
2.2 ทำแฟ้มแบบสมบูรณ์ให้ หัวหน้างาน และ ผู้อำนวยการตรวจ

 ขยายความ ขั้นตอน/หลักการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากประสบการณ์ตรง

ช่วงที่ 2 ช่วงระหว่างการประเมิน

ขั้นสรุปประเมินผล/นำผลมาปรับปรุง

- ส่งเล่ม SAR ที่สมบูรณ์ของกองการบริหารงานบุคคล (เล่ม SAR ฉบับสมบูรณ์ควรถึงมือ

  คณะกรรมการผู้ประเมิน ก่อนวันประเมินจริง อย่างน้อย 1 อาทิตย์)

- รับการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ของปีงบประมาณนั้น

  (ช่วงนี้สำคัญมาก กับ 1 วันในการประเมินสำหรับการเตรียมการมาทั้งงบประมาณ เริ่มโดย เตรียมบุคลากรสำหรับการประสานงาน จองห้องที่ใช้ในการประเมิน ถ่ายภาพ  อาหารการกิน เอกสารสำหรับใช้ประเมิน เอกสารในการทำเบิกหลังประเมินเสร็จ   บริการอำนวยความสะดวกให้ท่านคณะกรรมการผู้ประเมินประทับใจ พิมพ์ผลการประเมิน)

เทคนิค ผู้คอยต้อนรับการให้บริการอำนวยความสะดวกแก่ท่านคณะกรรมการผู้ประเมินประทับใจ

            1. ใช้ถ้อยคำที่ดีเป็นเหมือนญาติมิตรจะได้ความรักใคร่เอ็นดู
            2. คอยบริการน้ำดื่มอย่างได้ขาด
            3. หูตารวดเร็วคอยสังเกตสิ่งที่ท่านต้องการ

ขยายความ ขั้นตอน/หลักการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากประสบการณ์ตรง

ช่วงที่ 3 ช่วงหลังการประเมิน

- ดำเนินการจัดทำเล่ม SAR/CAR ฉบับสมบูรณ์และเผยแพร่แก่หน่วยงานต่างๆภายในมหาวิทยาลัยนเรศวรและที่สำคัญส่งกองประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อรายงานผลให้ผู้บริหารทราบในภาพรวมต่อไป

  (จัดทำเล่ม SAR/CAR ช่วงนี้ไม่ควรเกิน 2 อาทิตย์หลังประเมินเสร็จสิ้นเพื่อไม่ให้นานเกินไป)

- รายงานผลการประเมินจากคณะกรรมการผู้ประเมินตรวจสอบฯ ในการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของกองการบริหารงานบุคคลแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร

  (ผู้บริหารในที่นี้คือรองอธิการบดีที่กำกับดูแลกองการบริหารงานบุคคลนั้นเอง)

เทคนิค การจัดทำเล่ม SAR

  1. ทำเป็นประจำวันละนิดวันละหน่อย
  2. เช็คว่าขาดสิ่งใด หาจากที่ไหน คอยเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเล่ม SAR เติมให้สมบูรณ์
  3. สิ่งที่เตรียมได้ดำเนินการเลย สิ่งที่ต้องประสานจากฝ่ายอื่นจดและจัดเข้าไว้ในวาระการประชุม

 จากนั้น ก็จะวนเป็นช่วงที่ 1 ขั้นวางแผน ... เป็นแบบวงจร PDCA อย่างนี้ตลอดโดยขั้นตอน/หลักการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายจากประสบการณ์ตรง

หมายเลขบันทึก: 495117เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

หู... ตา ==> ว่องไว เตรียมช่วยเหลือ

บริการดี + วจี ไพเราะ

ขอบคุณ บริการ SHA & CAR มากค่ะ

ขอบคุณ คุณ Somsri ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ขอบคุณ วอญ่า ที่ส่งกำลังใจให้ต่อเนื่อง

จำคุณบอยไม่ได้ ในภาพงาน UKM ที่อาจารย์หมอ JJ เอามาให้ดูครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท