โครงการดีๆ BETTER แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที


แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที

 

โครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” หรือ Building Employability Through Technology and Entrepreneurship Resources (BETTER) เกิดขึ้นจากการประสานและผนึกกำลังระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย โดยเริ่มตั้งแต่วันแรงงาน 1 พ.ค. 2552 ถึง 30 เม.ย. 2555 รวมระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 3 ปี เพื่อช่วยสร้างความมั่นคงและเพิ่มศักยภาพให้ประชากรมีโอกาสที่ดีขึ้นในการทำงานด้วยการเข้ารับการอบรมทักษะด้านไอที

วัตถุประสงค์โครงการ

โครงการความร่วมมือแรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานทำให้กับประชาชนจากการเข้าอบรมทักษะด้าน ICT ทั้งสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานและผู้ที่มีงานทำอยู่แล้ว ทั้งช่วยเตรียมความพร้อมในการสร้างธุรกิจของตนเองจากการอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยี ICT และการอบรมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งช่วยประชาสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือด้านการตลาดร่วมกับภาคีและผู้เกี่ยวข้องให้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (Department of Skills Development หรือ DSD) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดแรงงานเสรีอาเซียน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน

กิจกรรมของโครงการ

 

1. อบรมบุคลากรฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด 76 แห่งทั่วประเทศโดยใช้หลักสูตร Microsoft Unlimited Potential Community Learning Curriculum และหลักสูตร Microsoft Digital Literacy เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของคนไทยในที่ห่างไกลความเจริญ ด้วยการมอบการศึกษาในด้าน ICT เพื่อให้เกิดโอกาสในการได้งานทำเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งจัดฝึกอบรมบุคลากรฝึกโดยใช้หลักสูตรฉันจะเป็นเถ้าแก่ยุคไอที เพื่อสร้างแนวคิดในการเป็นผู้ประกอบการและต่อยอดการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงานธุรกิจ

2. ลงพื้นที่ประสานงานในจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ ยานยนต์ ซึ่งเสี่ยงต่อการปิดกิจการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถูกเลิกจ้างมีโอกาสได้งานใหม่เร็วขึ้น ซึ่งในการนี้จะนำกลุ่มผู้นำท้องถิ่น เช่น ผู้บริหารส่วนการปกครองท้องถิ่น หอการค้าจังหวัด สมาคมธุรกิจการค้า สหภาพแรงงาน และโรงงานต่างๆ เข้าร่วมในกิจกรรมของโครงการด้วยตลอดจนมีการจัดกิจกรรม Road show เพื่อส่งเสริมการอบรมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม

3. พัฒนาหลักสูตรที่ออกแบบมาเฉพาะกลุ่ม เช่น หลักสูตรสำหรับเจ้าของธุรกิจประเภทช่างเครื่องยนต์ อาหาร การค้าปลีก สปาและการท่องเที่ยว โดยจะมีต้นแบบทางธุรกิจสำเร็จรูปพร้อมใช้ออนไลน์

IT skills training จะช่วยกลุ่มเป้าหมายเอาชนะอุปสรรคต่าง ได้อย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ ประชาชนที่ด้อยโอกาสและขาดสิทธิพิเศษในสังคม ทั้งที่มีงานทำและว่างงาน รวมถึงผู้ที่มีโอกาสอันจำกัดในการเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะงาน โครงการนี้จึงมุ่งที่จะช่วยสร้างทักษะที่จำเป็นในการหางานหรือมีรายได้ที่สูงขึ้น รวมทั้งช่วยเติมเต็มโอกาสให้กับผู้ถูกเลิกจ้าง หลังจากที่จำเป็นต้องออกจากงานเพราะเจ้าของกิจการต้องลดกำลังการผลิตลงเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับการอบรมทักษะ ICT เพื่อใช้ในการจัดการและสร้างธุรกิจให้เติบโต ผลที่ตามมาก็คือเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ขาดเครื่องมือ ICT ที่สามารถปรับปรุงในเรื่องการเงินและการบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลัง และการทำตลาดให้แก่สินค้าและบริการของตนเอง อีกทั้งผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นหลายรายไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งและไม่ สามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดได้ การใช้ทักษะ ICT สำหรับเจ้าของกิจการจะช่วยให้ธุรกิจท้องถิ่นเหล่านี้เติบโตได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถใช้แอพพลิเคชั่นด้าน ICT เป็นเครื่องมือในการจัดการด้านการเงิน การผลิต รวมถึงการตลาดได้เป็นอย่างดี และในยุคดิจิทัลเอง ICT ก็ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความได้เปรียบขององค์กรต่างๆ เครื่องมือด้าน ICT นี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจเอาชนะความท้าทาย เพื่อให้เข้าถึงตลาดใหม่ๆ และได้รับข้อมูลของตลาดอย่างทันท่วงที ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด รวมทั้งช่วยในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์และการวิเคราะห์ทางการเงินอีกด้วย

เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นที่มีความรู้ด้าน ICT จำกัดเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีหลักสูตรการอบรมที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี และมีวิทยากรที่มีประสบการณ์ เพื่อช่วยให้กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถดังต่อไปนี้:

  • พัฒนาทักษะความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
  • ประยุกต์ใช้ทักษะ ICT เพื่อสร้างเครื่องมือช่วยเหลือในการประกอบธุรกิจ
  • ยกระดับความสามารถของทักษะงานทั่วไปโดยใช้เทคโนโลยี ICT
  • พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อมุ่งสู่การเรียนรู้แบบตลอดชีพ (life-long-learning)
  • เข้าถึงข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

หลักสูตร ฉันจะเป็นเถ้าแก่ยุคไอที

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเบื้องต้นและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจได้ โครงการแรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที จึงได้พัฒนาหลักสูตรฉันจะเป็นเถ้าแก่ยุคไอทีขึ้น ซึ่งผู้ที่สนใจสามารเข้ารับการอบรมได้ที่สถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน และศึกษาจากแบบเรียนรู้ออนไลน์

 ที่มา:http://www.thebetter-project.com/

หมายเลขบันทึก: 495112เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท